งูอนาคอนดา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูอนาคอนดา (Anaconda) เป็นชื่อของงู 4 สปีชีส์ในกลุ่มงูหลามที่อาศัยอยู่ในหนอง บึง และแม่น้ำในป่าดบชื้นในทวีปอเมริกาใต้และเกาะตรินิแดด อนาคอนดาเหลืองยังสามารถพบได้ที่อาร์เจนตินาอีกด้วย
ชื่อ 'อนาคอนดา' นั้นมีที่มาที่อาจเป็นไปได้อยู่ 2 แหล่ง โดยอาจแปลงมาจากคำภาษาสิงหลคำว่า 'henakanday' ที่แปลว่า 'งูหางแส้' หรืออาจมาจากคำภาษาทมิฬว่า 'anaikondran' แปลว่า 'นักฆ่าช้าง' ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชื่อของมันมีที่มาห่างไกลจากแหล่งที่อยู่มากได้อย่างไร แต่ก็เป็นไปได้ว่าเพราะมันมีลักษณะคล้ายกับงูหลามเอเชีย
[แก้] อนุกรมวิธานและลักษณะทั่วไป
ในงูกลุ่มนี้ มีอยู่ 2 สปีชีส์ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่
- อนาคอนดาเขียว (Eunectes murinus) ซึ่งมีรายงานว่ามีความยาวถึง 10 เมตร (แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดเล็กกว่านี้) ถึงแม้สปีชีส์ชนิดนี้จะมีความยาวน้อยกว่างูเหลือม ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่มีบันทึกว่ายาวที่สุด แต่ก็ยังมีน้ำหนักมากกว่า จัดว่าเป็นงูที่หนักที่สุดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ อาจมีน้ำหนักถึง 250 กิโลกรัม และมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวมากกว่า 30 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวเมียจะมีความยาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6-7.8 เมตร ขณะที่ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3.6-4.8 เมตร สปีชีส์นี้มักจะพบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อย่างเช่นในเวเนซุเอลา โคลัมเบีย บราซิล เอกวาดอร์ ทางตอนเหนือของโบลิเวีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเปรู กายอานา และตรินิแดด แม้ว่าจะเป็นที่สนใจมาก แต่ก็ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับงูชนิดนี้อยู่น้อยมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการศึกษาสปีชีส์นี้ในทางชีววิทยาเป็นครั้งแรกในเวเนซุเอลา โดย Dr. Jesus Rivas
- อนาคอนดาเหลือง (Eunectes notaeus) มีขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มวัยค่อนข้างเล็กกว่าอนาคอนดาเขียว โดยมีความยาวเพียง 3 เมตร สปีชีส์นี้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของโปลิเวีย ปารากวัย อุรุกวัย ทางตะวันตกของบราซิล และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา
ส่วนอีก 2 สปีชีส์นั้นจะเป็นที่รู้จักน้อยกว่า ได้แก่
- อนาคอนดาจุดดำ (Eunectes deschauenseei) พบทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล
- อนาคอนดาโบลิเวีย (Eunectes beniensis) พบเป็นครั้งแรกในโบลิเวีย ได้รับการตั้งชื่อเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดย Lutz Dirksen และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา
อนาคอนดามีหัวขนาดใหญ่และลำคอหนา ตาและรูจมูกอยู่ที่ส่วนบนของหัว ทำให้สามารถหายใจและมองเห็นเหยื่อในขณะที่อยู่ใต้น้ำได้ ฆ่าเหยื่อโดยใช้ลำตัวบีบรัด เป็นงูที่ไม่มีพิษ แต่ยังมีฟันและขากรรไกรที่แข็งแรงที่ใช้กัดเหยื่อ มันจะคาบเหยื่อแล้วลากลงไปในน้ำเพื่อให้เหยื่อจมน้ำตาย
โดยปกติแล้ว อนาคอนดาจะกินสัตว์จำพวกหนูขนาดใหญ่ สมเสร็จ กวาง หมูป่า ปลา เต่า นก แกะ สุนัข และสัตว์เลื้อยคลานในน้ำอย่างจระเข้ไคแมน ส่วนอนาคอนดาที่ยังไม่โตเต็มที่จะกินหนูขนาดเล็ก ลูกไก่ กบ และปลา โดยสัญชาตญาณแล้ว เมื่ออนาคอนดารู้สึกว่ามีมนุษย์อยู่ใกล้ มันจะหนีไปในทิศทางอื่น การตายของมนุษย์ที่เกิดจากอนาคอนดาจึงพบได้ยาก ขณะที่พวกมันเองก็จะถูกล่าโดยเสือจากัวร์ จระเข้ไคแมนขนาดใหญ่ และอนาคอนดาตัวอื่น และเมื่อมันบาดเจ็บก็จะตกเป็นเหยื่อของปลาปิรันย่าได้เช่นกัน
งูในประเทศไทย | |
---|---|
งูไม่มีพิษ : | งูดินลายขีด งูดินหัวเหลือง งูดินหัวขาว งูดินธรรมดา งูดินโคราช งูดินเมืองตรัง งูดินใหญ่ งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูหลาม งูเหลือม งูหลามปากเป็ด งูงวงช้าง งูผ้าขี้ริ้ว งูพงอ้อเล็ก งูพงอ้อหัวขาว งูพงอ้อหลากหลาย งูพงอ้อท้องเหลือง งูขอนไม้ งูกินทากลายขวั้น งูกินทากเกล็ดสัน งูกินทากสีน้ำตาล งูกินทากมลายู งูกินทากจุดดำ งูกินทากจุดขาว งูกินทากหัวโหนก งูลายสาบตาโต งูรังแหหลังศร งูรังแหหัวแดง งูหัวศร งูคอขวั้นปลายหัวดำ งูคอขวั้นหัวลายสามเหลี่ยม งูคอขวั้นหัวดำ งูปล้องฉนวนบ้าน งูปล้องฉนวนลายเหลือง งูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล งูปล้องฉนวนภูเขา งูสายทองลายแถบ งูสายทองคอแหวน งูสายทองมลายู งูปล้องฉนวนบอร์เนียว งูปล้องฉนวนธรรมดา งูปล้องฉนวนมลายู งูปี่แก้วลายกระ งูปี่แก้วสีจาง งูปี่แก้วหลังจุดวงแหวน งูปี่แก้วธรรมดา งูคุด งูงอดเขมร งูปี่แก้วหัวลายหัวใจ งูงอด งูปี่แก้วใหญ่ งูปี่แก้วภูหลวง |
งูมีพิษอ่อน : | งูเขียวกาบหมาก งูกาบหมากหางนิล งูทางมะพร้าวธรรมดา งูทางมะพร้าวแดง งูทางมะพร้าวดำ งูสิงธรรมดา งูสิงหางลาย งูสิงหางดำ งูสิงทอง งูสายม่านแดงหลังลาย งูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ งูสายม่านหลังทอง งูสายม่านคอขีด งูสายม่านพระอินทร์ งูสายม่านลายเฉียง งูควนขนุน งูดงคาทอง งูแม่ตะงาวรังนก งูเขียวดง งูเขียวดงลาย งูปล้องทอง งูต้องไฟ งูแส้หางม้า งูแส้หางม้าเทา งูกระ งูเขียวหัวจิ้งจก งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู งูเขียวปากแหนบ งูสายน้ำผึ้ง งูหมอก งูม่านทอง งูเขียวดอกหมาก งูเขียวพระอินทร์ งูดอกหมาก งูลายสอเกล็ดใต้ตาสอง งูลายสอลายสามเหลี่ยม งูลายสาบท้องสามขีด งูลายสาบท่าสาร งูลายสาบมลายู งูลายสาบดอกหญ้า งูลายสอใหญ่ งูลายสอธรรมดา งูลายสาบคอแดง งูลายสาบจุดดำขาว งูลายสาบเขียวขวั้นดำ งูลายสอลาวเหนือ งูลายสอสองสี งูลายสอหมอบุญส่ง งูปลิง งูไซ งูสายรุ้ง งูสายรุ้งดำ งูสายรุ้งลาย งูหัวกะโหลก งูปากกว้างน้ำเค็ม งูเปี้ยว งูปลาตาแมว งูกระด้าง งูปลาหลังม่วง งูปลาหลังเทา |
งูมีพิษร้ายแรง : | งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง งูเห่า งูเห่าพ่นพิษสยาม งูเห่าพ่นพิษสีทอง งูจงอาง งูพริกท้องแดง งูพริกสีน้ำตาล งูปล้องหวายหัวดำ งูปล้องหวายหัวเทา งูปล้องหวายลายขวั้นดำ งูสมิงทะเลปากเหลือง งูสมิงทะเล งูชายธงลายข้าวหลามตัด งูทากลาย งูกระรังหัวโต งูชายธงท้องขาว งูคออ่อนหัวโต งูทากลายท้องขาว งูเสมียนรังหัวสั้น งูคออ่อนหัวเข็ม งูชายธงหลังดำ งูอ้ายงั่ว งูแสมรังเหลืองลายคราม งูแสมรังหางขาว งูแสมรังลายเยื้อง งูฝักมะรุม งูแสมรังเทา งูแสมรังปล้องหัวเล็ก งูแสมรังท้องเหลือง งูแสมรังหัวเข็ม งูแสมรังลายวงแหวน งูทะเลอ่าวเปอร์เซีย งูทะเลจุดขาว งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง งูเขียวหางไหม้ตาโต งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูเขียวไผ่ งูเขียวหางไหม้ลายเสือ งูหางแฮ่มกาญจน์ งูแก้วหางแดง งูเขียวหางไหม้สุมาตรา งูปาล์ม งูเขียวตุ๊กแก งูหางแฮ่มภูเขา |
งูต่างประเทศ | |
งูไม่มีพิษ : | งูอนาคอนดา |