เสือดาว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสือดาว | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสือดาว (Leopard) |
||||||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
ชื่อทวินาม | ||||||||||||||
Panthera pardus Linnaeus, 1758 |
เสือดาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felieae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฎเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฎอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม
เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากคนโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะทั่วไป
[แก้] สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพตามกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง VU มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ สถานภาพในธรรมชาติ IUCN (1996) LR/lcCITES (1996) Appendix I และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ของประเทศไทยด้วย
[แก้] รูปร่างลักษณะ
เสือดาว กับ เสือดำ เป็นเสือชนิดเดียวกัน ในลูกเสือครอกเดียวกันมีได้ทั้งเสือดำและเสือดาว
- เสือดาว จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลือง และมีลายจุดสีดำเป็นจำนวนมาก ลักษณะลายเป็นจุดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มดอก ปรากฏเฉพาะบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัว ส่วนที่หัว ขา เท้า และใต้ท้อง เป็นจุดสีดำโดด ๆ ส่วนขนใต้ท้องเป็นสีขาวหรือสีเทา
- เสือดำ จะมีสีพื้นตามลำตัวเป็นสีดำ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเสือดำก็มีลายเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่มองเห็นไม่ชัดนัก
เสือดำพบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากในประเทศมาเลเซีย ส่วนในพื้นที่อื่นพบเสือดาวได้ง่ายกว่า พื้นบ้านบางแห่งเรียกว่า "เสือลายตลับ" ภาษาลาว เรียกว่า "เสือลายจ้ำหลอด"
[แก้] ขนาด
หัวถึงลำตัว ยาวประมาณ 107 - 129 เซนติเมตร หาง 80 - 100 เซนติเมตร ขนาดใบหู 6.4 - 7.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 45 - 65 กิโลกรัม
[แก้] การกระจายประชากร
พบในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เรื่อยมาถึงทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะชวา ไม่เคยพบที่เกาะบาหลี แต่ที่เกาะสุมาตรายังไม่มีรายงาน
[แก้] นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือดาวอาศัยได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นป่าหรือพื้นที่โล่ง ซึ่งมีหินและพุ่มไม้แห้งๆ แต่มันชอบสภาพป่ามากกว่า เสือดาวทนแล้งทนร้อนและอาศัยในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำได้ดีกว่าเสือโคร่ง ถ้าจำเป็นจริงๆเสือดาวก็ว่ายน้ำได้ แต่โดยปกติมันจะพยายามหลีกเลี่ยง เสือดาวชอบใช้ชีวิตบนต้นไม้และเคลื่อนที่ว่องไวไปตามกิ่งไม้ เสือดาวกินเหยื่อทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง และหมา มันจะดักคอยเหยื่ออยู่บนต้นไม้และหลังจากฆ่าเหยื่อแล้ว จะลากเหยื่อกลับขึ้นไปกินบนต้นไม้ เพื่อป้องกันสัตว์กินซากมาแย่งอาหาร เสือดาวเริ่มกินเหยื่อที่บริเวณท้องก่อน ในขณะที่เสือโคร่งเริ่มกินที่สะโพกก่อน
เสือดาวมีวิธีอันชาญฉลาดในการจับค่างและลิงกิน โดยเสือดาวจะวิ่งเหยาะๆไปมาอยู่ใต้ต้นไม้ พวกลิงค่างบนต้นไม้ก็จะเริ่มตื่นกลัวและเตรียมตัวหนี โดยพากันกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จากนั้น เสือดาวจะแสร้งทำท่าปีนต้นไม้ ลิงที่มีประสบการณ์น้อยจะหลงกลกระโดดลงพื้นเพื่อหาทางหลบหนีไปตามพุ่มไม้ แต่นั่นคือจุดจบของมัน เพราะเสือดาวจะหันมาไล่จับมันอย่างง่ายดาย
อาหารของเสือดาวนอกจากสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวาง แล้วมันยังล่าเหยื่ออื่นๆอีกเช่น กระต่าย นกยุง ชะมด หรือแม้แต่สัตว์เล็ก ๆ มันก็กิน เช่น งู กิ้งก่า เป็นต้น เรียกได้ว่า เสือดาวกินสัตว์ทุกชนิดที่ล่าได้
การล่าของเสือดาวจะคล้ายกับเสือโคร่ง คือ การไล่ล่าโดยตรง การซุ่มดักเหลื่อ แต่จะแตกต่างไปบ้างก็ตรงที่มันอาจจะขึ้นไปพรางตัวสงบนิ่งอยู่บนต้นไม้ เพื่อรอคอยตะครุบเหลื่อที่ผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อล่าเหยื่อได้มันจะกินบริเวณท้องและซี่โคร่งก่อน ต่างจากเสือโคร่งที่จะเริ่มกินเหยื่อบริเวณสะโพกก่อน
คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนในบทนำของนิยายเรื่อง “เดชเสือดาว” ว่าเสือดาวมีความฉลาดและนิสัยระแวดระวังภัยมากกว่าเสือโคร่ง เวลาที่มันจะเข้าไปกินซากที่มันกินเหลือไว้จากคืนก่อน มันมักจะแอบดูเหตุการณ์อยู่นาน จนแน่ใจว่าไม่มีใครแอบซุ่มนั่งห้างคอยดักยิงมันอยู่ มันจึงจะค่อย ๆแอบเข้าไปกินซาก ไม่เหมือนกับเสือโคร่งที่มักเดินเข้าไปอย่างสง่าฝ่าเผย ศัตรูของเสือดาวก็คือเสือโคร่งนั่นเองที่มักมาแย่งอาหารของมันบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีพวกหมาจิ้งจอกและหมาในที่มักเข้ามาแย่งซากสัตว์ของมันเช่นกัน
เสือดาวจะมีพื้นที่ในการหากินประมาณ 27 – 37 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน ปัจจุบันสถานภาพของเสือดาวในประเทศไทยมีจำนวนลดลง เหลืออยู่ตามป่าอนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก ประมาณ 500 ตัวเท่านั้น
เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งครรภ์ประมาณ 90-100 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว และมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี
[แก้] อ้างอิง
เสือดาว เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เสือดาว ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |