จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความแนะนำ
|
หน้านี้เป็นหน้ากรุหรือข้อมูลเก่าจากหน้าหลัก ซึ่งเก็บไว้เพื่อเป็นการอ้างอิง กรุณาอย่าแก้ไขหน้านี้ ถ้าต้องการแสดงความคิดเห็น ให้พูดคุยในหน้าพูดคุยปัจจุบันของบทความนี้ |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ในราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน ทำให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ เป็นเวลายาวนานที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ พระองค์ได้รับถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระภัทรมหาราช มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง ต่อมา มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ประชาชนทั่วไป นิยมเรียกพระองค์ว่า “ในหลวง” โดยย่อมาจาก “ใน(พระบรมมหาราชวัง)หลวง” บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “นายหลวง” ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่ อ่านต่อ...
บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ยังไม่มี
ที่เก็บถาวร – วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ ของ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ บ้านพัก พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์ สท้าน สนิทวงศ์) และ ท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดา ของ หม่อมหลวงบัว ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามที่ ๖ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร” อ่านต่อ...
บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ที่เก็บถาวร – วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อการจัดงานว่า "งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา" และใช้ชื่อพระราชพิธีว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา" จัดขึ้นเนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่ง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ และสมพระเกียรติ นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ออกแบบโดย นายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ ๗ กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมศิลปประยุกต์และลายรดน้ำ กรมศิลปากร อ่านต่อ...
บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ที่เก็บถาวร – วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร