จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga fruticosa Hook.f.&Thomson var.
- ชื่อสามัญ: กระดังงาสงขลา (อังกฤษ: Dwarf Ylang-Ylang)
- ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กระดังงาสาขา (กรุงเทพฯ) กระดังงาเบา (ภาคใต้) กระดังงางอ (มลายู-ยะลา)
- นิเวศวิทยา:ถิ่นกำเนิด สงขลา
- ลักษณะ:ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 12-14 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ดอก สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้นๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก
- ใบ: ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย
- ดอก: สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้นๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ออกดอกเกือบตลอดปี
- การดูแล:
- การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง
- ประโยชน์:ปลูกเป็นไม้ประดับ มีดอกดกสวยงาม เนื้อไม้และใบ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอก ปรุงเป็นยาหอม สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน ทำบุหงา อบรํ่า ทำนํ้าหอม บำรุงหัวใจ
[แก้] หัวข้องที่เกี่ยวข้อง
|
กระดังงาสงขลา เป็นบทความเกี่ยวกับ พืช ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ กระดังงาสงขลา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ กลุ่มคนรักไม้ดอกไม้ประดับ |