กองทัพเรือไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ)เสด็จทิวงคต ทหารฝ่ายพระราชวังบวรทั้งทหารบกและทหารเรือได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กรมเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพลขึ้นตรงกับสมุหพระกลาโหม
- พ.ศ. 2430 จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ โดยให้กองทหารบก กองทหารเรือทั้งหมดขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- 1 เมษายน พ.ศ. 2433 ยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ กรมทหารเรือยังคงอยู่ในสังกัดกรมยุทธนาธิการเช่นเดิม
- พ.ศ. 2435 โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ยกฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
- พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นกรมทหารเรือ กรมต่างๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือ
- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบก ว่า "กองทัพบก" ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ, กองเรือรบ, สถานีทหารเรือกรุงเทพ, กรมอู่ทหารเรือ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์
- พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้แบ่ง ส่วนราชการ กองทัพเรือ ออกเป็น 25 หน่วย เพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ, ส่วนกำลังรบ, ส่วนยุทธบริการ, ส่วนศึกษา และ ส่วนกิจการพิเศษ
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เพิ่ม กรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
- 15 เมษายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเพิ่มเติม
- พ.ศ. 2538 จัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน
[แก้] ส่วนราชการในสังกัดกองทัพเรือ
[แก้] ส่วนบัญชาการ
- สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
- กรมสารบรรณทหารเรือ
- กรมกำลังพลทหารเรือ
- กรมข่าวทหารเรือ
- กรมยุทธการทหารเรือ
- กรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
- กรมสื่อสารทหารเรือ
- กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
- สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
- กรมการเงินทหารเรือ
- กรมจเรทหารเรือ
- สำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือ
[แก้] ส่วนกำลังรบ
- กองเรือยุทธการ
- กองเรือป้องกันฝั่ง
- หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
- ฐานทัพเรือสัตหีบ
- ฐานทัพเรือกรุงเทพ
- ฐานทัพเรือสงขลา
- ฐานทัพเรือพังงา
- กรมสารวัตรทหารเรือ
[แก้] ส่วนยุทธบริการ
- กรมอู่ทหารเรือ
- กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
- กรมช่างโยธาทหารเรือ
- กรมสรรพาวุธทหารเรือ
- กรมพลาธิการทหารเรือ
- กรมแพทย์ทหารเรือ
- กรมการขนส่งทหารเรือ
- กรมสวัสดิการทหารเรือ
- กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
- สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
[แก้] ส่วนการศึกษา
- สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
- กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- โรงเรียนนายเรือ
[แก้] ศักย์สงครามกองทัพเรือในปัจจุบัน
- เรือบรรทุกเครื่องบิน (เรือ บ.) 1 ลำ
- เรือฟริเกต (เรือ ฟก.) 10 ลำ
- เรือคอร์แวต (เรือ คว.) 7 ลำ
- เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2 ลำ
- เรือตรวจการณ์ (เรือ ตก.) 26 ลำ
- เรือเร็วติดจรวด 6 ลำ
- เรือโจมตีลำเลียงพล 9 ลำ
- เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำโขง (เรือ รตล.) 77 ลำ
- เรือช่วยรบ 15 ลำ
- เรือวางทุ่นระเบิด 7 ลำ
- กองบินทหารเรือ : กำลังพล 1,700 นาย, เครื่องบินรบ 44 ลำ, เฮลิคอปเตอร์จู่โจม 8 ลำ
- นาวิกโยธิน 18,000 นาย
[แก้] หน่วยซีล (SEALs)
กองทัพเรือไทยมีทหารประจำการในหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม (SEALs) รวม 144 นาย
[แก้] คำนำหน้าเรือ
กองทัพเรือไทยใช้คำว่า "เรือหลวง" และคำย่อว่า "ร.ล." เป็นคำนำหน้าเรือ ซึ่งแสดงถึงการเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ ในภาษาอังใช้คำว่า "His Thai Majesty Ship" และใช้คำย่อว่า "HTMS" น้ำหน้าเรือ โดยคำว่าเรือหลวงนั้นจะใช้นำหน้าเรือรบที่มีระวางขับน้ำมากกว่า 200 ตันขึ้นไป ส่วนเรือที่มีระวางขับน้ำต่ำกว่า 200 ตัน จะใช้ตัวอักษรอื่นนำหน้า
- ตัวอย่าง
- เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ร.ล. นเรศวร
- HTMS Pattani
- ต. 91
[แก้] หลักการตั้งชื่อเรือของกองทัพเรือไทย
- เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า
- เรือฟริเกต ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล. ตาปี
- เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่นร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
- เรือเร็วโจมตี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งชื่อตามเรือรบในสมัยโบราณ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช
- เรือเร็วโจมตี (ปืน)และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อวังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี
- เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจจานุ
- เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิสำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย
- เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล. อ่างทอง เรือหลวงสิมิลัน
- เรือตรวจการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.หัวหิน ร.ล.แกลง
- เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.พาลี ร.ล.คำรณสินธุ
- เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.จันทร ร.ล.ศุกร์
- เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เหมือนกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชื่อเรือนั้นให้ขอพระราชทาน และให้ใช้ว่าเรือหลวงนำหน้า
- เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ให้ตั้งชื่อด้วย อักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้ายอักษร กองทำเรือเป็นผู้ตั้งให้ เช่น เรือ ต. 91 เรือต. 991 เป็นต้น
[แก้] ยุทโธปกรณ์ที่ประจำการ
เรือรบส่วนใหญ่ที่ประการในกองทัพเรือไทยเกือบครึ่งหนึ่งสั่งซี้อจากสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามยังมีเรือที่สั่งต่อมาจากอังกฤษ อิตาลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ จีน ออสเตรเลีย และสเปนด้วยเช่นกัน อนึ่ง กองทัพเรือสามารถต่อเรือรบขนาดเล็กหรือขนาดประมาณ 1000 ตันใช้เองได้ด้วย เช่น เรือตรวจการณ์ชุด ต. 91 - ด. 99 เป็นต้น
[แก้] เรือบรรทุกเครื่องบิน (เรือ บ.)
- ชั้นจักรีนฤเบศร
- 911 ร.ล จักรีนฤเบศร
[แก้] เรือฟริเกต (เรือ ฟก.)
- ชั้นพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (Knox Class Frigate)
- 461 ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- 462 ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ Mk. 42 ขนาด 127 ม.ม. 1 กระบอก
- แท่นยิง Mk. 16 1 แท่น สามารถใช้ยิงจรวดปราบเรือดําน้ำ ASROC และ อาวุธปล่อยนำวิถี HARPOON
- ระบบป้องตัวระยะประชิด Mk.15 Phalanx 1 ระบบ
- ตอร์ปิโดว์ Mk. 46
- ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
- ระบบอาวุธ:
- ชั้นเจ้าพระยา (Jianhu Class Frigate)
- 455 ร.ล.เจ้าพระยา
- 456 ร.ล. บางปะกง
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ Mk. 42 ขนาด 100 ม.ม. แท่นคู่ 2 กระบอก
- อาวุธปล่อยนำวิถี C-801 จำนวน 8 ท่อยิง
- แท่นยิงระเบิดน้ำลึก RBU-1200 1 แท่น
- ปืนกล 37 ม.ม. แท่นคู่ 4 แท่น
- ระบบอาวุธ:
-
- 457 ร.ล. กระบุรี
- 458 ร.ล. สายบุรี
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ Mk. 42 ขนาด 100 ม.ม. แท่นคู่ 1 กระบอก
- อาวุธปล่อยนำวิถี C-801 จำนวน 8 ท่อยิง
- แท่นยิงระเบิดน้ำลึก RBU-1200 1 แท่น
- ปืนกล 37 ม.ม. แท่นคู่ 4 แท่น
- ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
- ระบบอาวุธ:
- ชั้นนเรศวร (Type-025T)
- 421 ร.ล. นเรศวร(ปืนใหญ่ 1 กระบอก จรวดต่อต้านเรือรบ HARPOON 8 ท่อยิง ปืนกลข้างเรือ 2 กระบอก
- 422 ร.ล. ตากสิน โรงเก็บ ฮ.1เครื่อง ฮ.ประจําเรือ SUPER LUYX 300 สามารถค้นหา,ทําลายเรือดํานํา )
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ Mk. 45 ขนาด 127 ม.ม. 1 กระบอก
- อาวุธปล่อย Harpoon 8 ท่อยิง
- แท่นยิง Mk.32 แฝด 3 ยิงตอร์ปิโดว์ Mk. 46 2 แท่น
- ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
- คาดว่าเรือจะถอดปืนกลขนาด 37 มม. จำนวน 2 แท่นออกและติดตั้งแท่นยิง Sadral พร้อมยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Mistral จำนวน 2 แท่น
- ระบบอาวุธ:
- ชั้นตาปี
- 431 ร.ล. ตาปี
- 432 ร.ล. คีรีรัฐ
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ 76/62 OTO Merala 1 กระบอก
- ปืนกล 40/70 Bofors แท่นเดี่ยว 1 กระบอก
- แท่นยิง Mk.32 แฝด 3 1 แท่น
- รางปล่อยระเบิดน้ำลึก 2 ราง
- ระบบอาวุธ:
- ชั้นมกุฎราชกุมาร
- 433 ร.ล. มกุฎราชกุมาร
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ 4.5 นิ้ว 1 กระบอก
- ปืนกล 40/70 แท่นคู่ 2 กระบอก
- แท่นยิง PMW-49A แฝด 3 ยิงตอร์ปิโดว์ Mk.44 และ Stingray 2 แท่น
- อาวุธปราบเรือดำน้ำ Mortar 1 แท่น
- รางปล่อยระเบิดน้ำลึก 2 ราง
- ระบบอาวุธ:
- ชั้นปิ่นเกล้า
- 413 ร.ล. ปิ่นเกล้า
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ 76/50 3 กระบอก
- ปืนกล 40/60 แท่นคู่ 2 กระบอก
- แท่นยิง PMW-49A แฝด 3 ยิงตอร์ปิโดว์ Mk.44 และ Stingray 2 แท่น
- อาวุธปราบเรือดำน้ำ Mortar 1 แท่น
- รางปล่อยระเบิดน้ำลึก 2 ราง
- ระบบอาวุธ:
[แก้] เรือคอร์เวต (เรือ คว.)
- ชั้นรัตนโกสินทร์
- 441 ร.ล. รัตนโกสินทร์
- 442 ร.ล. สุโขทัย
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่เรือ 76/62 1 กระบอก
- ปืนกล 40/70 แท่นคู่ 1 กระบอก
- อาวุธปล่อยนำวิถี HARPOON 8 ท่อยิง
- อาวุธปล่อยน้ำวิถีพื้นสู่อากาศ Aspide 1 แท่น
- แท่นยิง Mk.32 ยิงตอร์ปิโดว์ Mk. 46 2 แท่น
- ระบบอาวุธ:
[แก้] เรือเร็วโจมตีปืน (เรือ รจป.)
- ชั้นชลบุรี
- 331 ร.ล.ชลบุรี
- 332 ร.ล.สงขลา
- 333 ร.ล.ภูเก็ต
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืน 76/62 ออโตเมลารา 2 กระบอก
- ปืน 40/70 แท่นคู่ 1 แท่น
- ปืน 0.5 นิ้ว 2 กระบอก
- ระบบอาวุธ:
[แก้] เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (เรือ ตกก.)
- ชั้นปัตตานี
- 511 ร.ล. ปัตตานี
- 512 ร.ล. นราธิวาส
[แก้] เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี (เรือ รจอ.)
- ชั้นราชฤทธิ์
- 321 ร.ล.ราชฤทธิ์
- 322 ร.ล.วิทยาคม
- 323 ร.ล.อุดมเดช
- ชั้นปราบปรปักษ์
- 311 ร.ล.ปราบปรปักษ์
- 312 ร.ล.หาญหักศัตรู
- 313 ร.ล.สู้ไพรินทร์
-
- ระบบอาวุธ:
- ปืนใหญ่ขนาด 57/70 มม. โบฟอร์ส 1 กระบอก
- ปืนขนาด 40/70 มม.โบฟอร์ส 1 กระบอก
- ปืน 0.5 นิ้ว 2 กระบอก
- อาวุธปล่อย พื้น-สู่-พื้น เกเบรียล 5 ท่อ
- จรวดส่องแสง ขนาด 2 นิ้ว 2 แท่น
- ระบบอาวุธ:
หมายเหตุ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีชั้นปราบปรปักษ์ได้ถอดอาวุธปล่อยกาเบรียลออกแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทเรือ
[แก้] เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ(เรือ ตกด.)
- ชั้นคำรนสินธุ์
- 531 ร.ล. คำรณสินธุ์
- 532 ร.ล. ทะยานชล
- 533 ร.ล. ล่องลม
[แก้] เรือยกพลขึ้นบก (เรือ ยพ.)
- ชั้นสีชัง
- 721 ร.ล. สีชัง
- 722 ร.ล. สุรินทร์
- ชั้นอ่างทอง
- 711 ร.ล. อ่างทอง
- 712 ร.ล. ช้าง
- 714 ร.ล. ลันตา
- 715 ร.ล. พระทอง
- 733 ร.ล. พะงัน
[แก้] เรือกวาดทุ่นระเบิด (เรือ กท.)
- ชั้นบางแก้ว
- 612 ร.ล. บางแก้ว
- 613 ร.ล. ดอนเจดีย์
- ชั้นบางระจัน
- 614 ร.ล. บางระจัน
- 615 ร.ล. หนองสาหร่าย
- ชั้นลาดหญ้า
- 616 ร.ล. ลาดหญ้า
- 617 ร.ล. ท่าดินแดง
- ชั้นถลาง
- 618 ร.ล. ถลาง
- ชั้น ท. 6
- ท. 6 - ท. 10
[แก้] เรือตรวจการณ์ปืน (เรือ ตกป.)
- ชั้นหัวหิน
- 541 ร.ล.หัวหิน
- 542 ร.ล.แกลง
- 543 ร.ล.ศรีราชา
- ชั้นสัตหีบ
- 521 ร.ล.สัตหีบ
- 522 ร.ล.คลองใหญ่
- 523 ร.ล.ตากใบ
- 524 ร.ล.กันตัง
- 525 ร.ล.เทพา
- 526 ร.ล.ท้ายเหมือง
[แก้] เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ (เรือ สกญ.)
- ชั้นสิมิลัน
- 871 ร.ล.สิมิลัน
[แก้] เรือลำเลียงเสบียง (เรือ ลลส.)
- ชั้นเกล็ดแก้ว
- 861 ร.ล.เกล็ดแก้ว
[แก้] เรือลำเลียงน้ำมัน (เรือ นม.)
- ชั้นจุฬา
- 831 ร.ล. จุฬ่า
- 832 ร.ล. สมุย
- 833 ร.ล. ปรง
- 834 ร.ล.เปริด
- ชั้นเสม็ด
- 835 ร.ล.เสม็ด
[แก้] เรือน้ำ (เรือ น.)
- ชั้นจวง
- 841 ร.ล.จวง
- 842 ร.ล.จิก
[แก้] เรือลากจูงขนาดกลาง (เรือ ลจก.)
- ชั้นริ้น
- 853 ร.ล.ริ้น
- 854 ร.ล.รัง
- ชั้นแสมสาร
- 855 ร.ล.แสมสาร
- 856 ร.ล.แรด
[แก้] เรือลากจูงขนาดเล็ก (เรือ ลจล.)
- ชั้นกลึงบาดาล
- 851 ร.ล.กลึงบาดาล
- 852 ร.ล. มารวิชัย
[แก้] เรือสำรวจขนาดใหญ่ (เรือ สรญ.)
- ชั้นจันทร
- ร.ล. จันทร
- ชั้นศุกร์
- ร.ล. ศุกร์
- ชั้นพฤหัส
- ร.ล. พฤหัส (อยู่ในระหว่างดำเนินการต่อ)
[แก้] เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ (เรือ งคร.)
- ชั้นสุริยะ
- 821 ร.ล.สุริยะ
[แก้] เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (เรือ ตกฝ.)
- ชั้นต. 81
- ต. 81 - ต. 83
- ชั้นต. 91
- ต. 91 - ต. 99
- ชั้นต. 110
- ต. 11 - ต. 110
- ชั้นต. 991
- ต. 991 - ต. 993 (อยู่ในระหว่างดำเนินการต่อ)
[แก้] เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (เรือ ตกช.)
- ชั้นต. 21
- ต. 21 - ต. 25
- ต. 28 - ต. 212
- ชั้นต. 213
- ต. 213 - ต. 226
- ชั้นต. 231
- ต. 231
[แก้] เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (เรือ รตล.)
- ชั้นล. 11
- ล.11 - ล.155
[แก้] เรือยนต์ตรวจการณ์ลำน้ำ (เรือ ยตล.)
- ชั้นล. 21
- ล.21 - ล.26
[แก้] เรือจู่โจมลำน้ำ (เครื่องติดท้าย)(เรือ จลต.)
- ชั้นล.31
- ล.31 - ล.3135
[แก้] เรือจู่โจมลำน้ำ (แบบพ่นน้ำ) (เรือ จลพ.)
- ชั้นล. 3130
- ล.3130 - ล.3132
[แก้] อากาศยานของกองการบินทหารเรือ
- กองบิน 1
- ฝูงบิน 101 ประกอบด้วย DO-228 (7 ลำ)
- ฝูงบิน 102 ประกอบด้วย F-27 MK200 (4 ลำ) และ P-3T/UP-3T (3 ลำ)
- ฝูงบิน 103 ประกอบด้วย T-337 (14 ลำ)
- ฝูงบิน 104 ประกอบด้วย A-7E/TA-7C(White Shark) (18 ลำ)
- กองบิน 2
- ฝูงบิน 201 ประกอบด้วย CL-215 (2 ลำ), N-24A (5 ลำ) และ F-27 MK400 (2 ลำ)
- ฝูงบิน 202 ประกอบด้วย Bell-212 (8 ลำ), Bell-214ST (4 ลำ)
- ฝูงบิน 203 ประกอบด้วย S-76B (6 ลำ) และ Super Lynx (2 ลำ)
- หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ฝูงบิน 1 ประกอบด้วย AV-8S/TAV-8S(Phoenix) (9 ลำ)
- ฝูงบิน 2 ประกอบด้วย S-70BSea Hawk (6 ลำ)