จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โมเดิร์นไนน์ทีวี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เดิม) เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้ความแนะนำ หรือรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน
เมื่อผู้ชมเปิดชมรายการโทรทัศน์ของ 6 สถานีดังกล่าว จะมีการแสดงสัญลักษณ์ความเหมาะสมก่อนออกรายการ และ ระหว่างรายการโดยปรากฏตรงด้านล่างซ้ายของจอโทรทัศน์ โดยการจัดระเบียบความเหมาะสมของรายการนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549
อนึ่ง รายการที่ไม่ต้องแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรายการข่าว หรือรายการสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 5 ถึง 10 นาที
[แก้] สัญลักษณ์แสดงระดับความเหมาะสมต่าง ๆ
รายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศในแต่ละช่องนั้น จะแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ ดังต่อไปนี้
|
สัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์สีฟ้า ตามด้วยตัวอักษร ด.เด็ก
เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 12 ปี และผู้ชมทั่วไป, รายการนี้ จะจัดเน้นเนื้อหาสาระให้กับเด็ก ๆ การใช้สัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์สีฟ้า นั้น สื่อถึงการพัฒนาของเด็ก ๆ ที่จะต้องได้รับสาระจากรายการนี้ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่สามารถให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ ในด้านของสาระความรู้จากายการประเภทนี้
|
|
สัีญลักษณ์รูปหน้ายิ้มสีชมพู ตามด้วยตัวอักษร ก.ไก่
เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2 ถึง 6 ปี, รายการนี้มีลักษณะคล้ายกับ สัญลักษณ์ ด. แต่จะเน้นเจาะจงไปหาเด็กเล็ก ซึ่งรายการประเภทนี้ จะให้ความบันเทิงและสาระที่ดูสนุกสนาน สำหรับเด็ก ๆ ที่ควรจะได้รับชมตามความเหมาะสม
|
|
สัีญลักษณ์รูปบ้านสีเขียว ตามด้วยตัวอักษร ท.ทหาร
เป็นรายการทั่วไปที่เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัย, รายการประเภทนี้ เป็นรายการที่ให้สาระและความบันเทิงอย่างไม่มีพิษภัยต่อเด็กและเยาวชน และมีแง่คิดดี ๆ จากสาระให้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งการใช้สัีญลักษณ์รูปบ้านสีเขียวนั้น สื่อถึงครอบครัว ที่หมายถึงทุกคนสามารถรับชมรายการประเภทนี้ได้
|
|
สัีญลักษณ์รูปเครื่องหมายถูกและผิดสีส้มอ่อน ตามด้วยตัวอักษร น.หนู
เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ, รายการเหล่านี้ เป็นรายการที่มีเนื้อหาบางส่วนที่ผู้ปกครองของเด็กควรใช้วิจรณยาญในการชม และควรแนะนำให้กับเด็ก ๆ ว่า เนื้อหาส่วนไหนที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร และไม่ควรให้เด็กดูรายการประเภทนี้ตามลำพัง ซึ่งจะต้องมีผู้ใหญ่มาแนะนำระหว่างชม, สัญลักษณ์นี้จะมี 2 ประเืภทย่อยออกไปอีก คือ
- ตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 13 ไทย (๑๓) เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี, ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
- ตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 18 ไทย (๑๘) เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี, ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
|
|
สัีญลักษณ์รูปสายฟ้าสีแดง ตามด้วยตัวอักษร ฉ.ฉิ่ง
เป็นรายการเฉพาะ(ผู้ใหญ่) ซึ่งไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน, รายการแหล่านี้จะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพที่มักจะเกี่ยวกับบางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ เพื่อป้องการการเลียบแบบของเด็ก ๆ รายการดังกล่าว จึงใช้สัญลักษณ์แบบนี้ เมื่อเปิดเจอรายการที่เป็นลักษณะนี้แล้ว จึงไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชม!!
|
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ดนตรี หรือการบันเทิง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |