การตรวจอัลตร้าซาวด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตรวจอัลตร้าซาวด์ หมายถึง การตวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เกินระดับที่หูของคนเราจะได้ยิน คลื่นเสียงนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้นในระดับความถี่และปริมาณที่ใช้อยู่ในทางการแพทย์ จึงเป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการตรวจเบื้องต้น และการตรวจวินิจฉัยทั่วไป โดยเฉพาะในเด็กและทารกในครรภ์ เพราะนอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ยังทำการตรวจได้โดยผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บป่วยบริเวณที่ตรวจ นอกเหนือไปจากแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน เพื่อดูลักษณะทั่วๆไป ของตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และไต เช่น มีก้อนเนื้อที่ผิดปกติ มีนิ่วที่ไตหรือถุงน้ำดี
- การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องท้องส่วนบน กรณีที่มีการนัดมาทำการตรวจ หมอจะแนะนำให้งดอาหารประมาณ 4 ชั่วโมง ก่อนมาทำการตรวจ เพื่อให้เวลาถุงน้ำดีเก็บกักน้ำดี และเพื่อลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
- การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง เพื่อตรวจดูขนาด และความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง อันประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก หรือกรณีที่สงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
- การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องท้องส่วนล่าง การตรวจช่องท้องส่วนล่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีน้ำปัสสาวะมากๆในกระเพาะปัสสาวะ เพราะน้ำในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นๆ ได้ดีขึ้น ปริมาณปัสสาวะในกระเพาะที่จะช่วยให้การตรวจสมบูรณ์นั้น มักจะมากกว่าปริมาณที่ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะในภาวะปกติ จึงต้องดื่มน้ำขณะรอตรวจ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาทีหลังดื่มน้ำ
- การตรวจอัลตร้าซาวด์ในอวัยวะอื่นๆ
- การตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ สามารถดูเพศและความผิดปกติต่างๆได้
- การตรวจแยกระหว่างก้อนเนื้อและถุงน้ำที่เต้านม และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- การตรวจเส้นเลือดและต่อมธัยรอยด์
![]() |
การตรวจอัลตร้าซาวด์ เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ การตรวจอัลตร้าซาวด์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |