ค่ายบางกุ้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายบางกุ้ง เป็นค่ายที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่ที่ทัพสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อสู้กับ ทัพพม่าครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 ผลของสงครามคือไทยสามารถรบชนะพม่าและขับพม่าออกไปได้
[แก้] ที่ตั้ง
ค่ายบางกุ้งตั้งอยู่ ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่บริเวณวัดบางกุ้ง มีเนื้อที่ประมาณ 100ไร่เศษ (ปัจจุบันวัดบางกุ้งมีเนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ 42 ตารางวา)
- ทิศเหนือ ติดคลองบ้านค่าย
- ทิศใต้ ติดคลองแควอ้อม
- ทิศตะวันตก ติดกับสวนมะพร้าว
- ทิศทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำแม่กลอง
[แก้] ประวัติความเป็นมาของค่ายบางกุ้ง
ในอดีตแต่เดิมค่ายบางกุ้งเป็นค่ายทหารเรือในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พม่ายกกองทัพมารุกรานบ้านเมืองไทย สมัยนั้น พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า ให้เกณฑ์กองทัพ 25,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ให้มังมหานรทาเป็นแม่ทัพยกเข้าตีทางทิศใต้ ให้เนเมียวสีหบดียกเข้ามาตีทางทิศเหนือให้มาตีบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนาบกันสองข้างกองทัพของเนเมียสีหบดีเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เมืองกำแพงเพชรจนแตก แล้วตั้งค่ายมั่นต่อเรือสะสมสะเบียบอาหารอยู่ ฝ่ายกองทัพมังมหานรธายกเข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นของไทยแตกทั้งทั้งสองเมืองหุยตองจา เจ้าเมืองหนีไปอยู่ที่เมืองชุมพร พม่าก็ยกทัพตามมาตีเมืองชุมพรแตกแล้วเผาเมืองเสีย แล้วยกเข้าตีกองทัพของ พระพิเรนทรเทพ ที่ตั้งค่ายอยู่เหนือเมืองกาญจนบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าตี เมืองราชบุรี เพชรบุรีแตกทั้ง 2เมือง แล้งยกกลับไปตั้งกองทัพต่อเรือสะสมสะเบียงอาหารอยู่ที่ ดงรังหนองขาว เมืองกาญจนบุรี พระเจ้าเอกทัศน์ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงโปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ ให้กองทัพบกไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ตำบลตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงครามแห่งหนึ่ง ให้พระยารัตนาธิเบศยกทัพเมืองนครราชสีมามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่ง
ใน พ.ศ. 2308 ทัพมังมหานรธาก็ยกทัพเรือเข้ามาตีค่ายทหารเรือบางกุ้งแตก แล้วยกไปตีเมืองธนบุรี พระยารัตนาธิเบศก็ยกทัพหนี พม่าก็ยกไปตีค่ายเมืองนนทบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ด้านหนึ่ง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 แล้วตั้งให้นายทองอินทร์ คนไทยที่จงรักภัคดีต่อพม่ารักษาเมืองธนบุรี และสุกี้ นายกองคุมกองทัพพม่ารักษากรุงศรีอยุธยา ณ ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วยกทัพหลวงกลับไป
ใน พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการ(พระเจ้าตากสินมหาราช)ได้ถูกเรียกให้เข้ามาช่วยราชการในกรุงศรีอยุธยา แต่เมืองเห็นแม่ทัพไทยมีผีมือไม่เข้มแข็ง ทหารไทยแตกความสามัคคีกันเห็นจะสู้พม่าไม่ได้ จึงพาทหารประมาณ 500 นาย ตีฝ่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ จากปราจีนบุรี สู่ระยอง และจันทบุรี พระยาจันทบุรีไม่อ่อนน้อม จึงยกทัพเข้าตีเมืองจันทบุรีแตก แล้วตั้งกองสะสมสะเบียงอาหาร ต่อเรือรบเห็นว่าได้มากเพียงพอแล้วจึงยกทัพมาตีค่ายเมืองธนบุรีและทัพสุกี้นายกองที่รักษาอยู่กรุงเก่าแตกพ่ายไป กู้กรุงศรีอยุธยาคืนมาได้ และ ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่ แล้วในปี พ.ศ. 2310 นั่นเอง พระเจ้าตากสินหมาราช ได้โปรดให้คนจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมพลพรรค มาตั้งเป็นกองทหารรักษา ค่ายบางกุ้ง ซึ่งยังไม่มีทหารรักษาหลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ค่ายนี้จึงเรียกว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"
เหตุที่เกิดสงครามค่ายบางกุ้งนั้นปรากฏในประชุมพงศาวดารกล่าวว่า"พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต"เมืองเวียงจันทร์วซึ่งฝักใฝ่อยู่กับพม่าในสมัยนั้นไปทูลพระเจ้าอังวะว่า ได้ทราบว่าในเมืองไทยพระยาตากตั้งตัวเป็นใหญ่ กลับตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ฝ่ายพระเจ้าอังวะเวลานั้นกำลังกังวลด้วยเกิดสงครามกับจีน ไม่เชื่อว่าเหตุการทางเมืองไทยจะเป็นการใหญ่โตมากมาย ด้วยเห็นว่าเมืองไทย ยับเยิน ผู้คนก็หลืออยู่น้อย จึง เป็นแต่ให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่าเจ้าเมืองทวายให้คุมกำลังให้มาตรวจตราดูในเมืองไทยว่ายังเรียบร้อยดีหรือไม่ ถ้ามีใครกำเริบตั้งตัวขึ้นก็ให้มีการปราบปรามเสียใหเรียบร้อย พระยาทวายจึงส่งโปมังเป็นกองทัพหน้าคุมพล 3,000 นาย เข้ามาทางเมืองไทรโยค เมื่อฤดูแล้งปลายปี พ.ศ. 2310 ขณะนั้นเมืองกาญจนบุรีและเมืองราชบุรี อันเป็นที่อยู่ในทางพม่าเดินทัพยังร้างอยู่ทั้ง 2 เมือง เรือรบของพม่ายังอยู่ที่เมืองไทรโยคและค่ายคูของพม่าไม่มีใครไปรื้อถอน พระยาทวายจึงยกทัพมาตามสบาย ครั้นถึงบางกุ้งเห็นค่ายทหารจีนของพระยากรุงธนบุรีตั้งอยู่ พระยาทวายก็ให้กองทัพล้อมไว้ กรมการเมืองสมุทรสงครามบอกเข้ามายังกรุงธนบุรี
ตามพงศาวดารกรุงธนบุรี กล่าวว่า พระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวข้าศึก ด้วยความยินดียิ่ง ได้โปรดให้พระยามหามนตรี(บุญมา)จัดกองทัพเรือ 100 ลำเศษ แล้วพระองค์ก็ทรงเรือพระที่นั่งสุวรรณพิชัยนาวา ขนาดเรือ ยาว 18 วา ปากเรือกว้าง 3 ศอกเศษ พลกรรเชียง 28น าย พร้อมด้วยศาสตราวุธมายังค่ายบางกุ้ง โดยลัดมาทางคลองบางบอน ผ่านคลองสุนัขหอน และมาออกแม่น้ำแม่กลอง พระยามหามนตรีคาดการณ์ว่าค่ายบางกุ้งล่อแหลมกำลังจะแตกอยู่แล้ว จึงรีบเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่ล้อมค่ายไทย-จีนบางกุ้งโดยฉับพลัน ในตอนเรียกประชุมนายทัพนายกองเพื่อปลุกใจและบงการเข้าตีนั้นได้เน้นว่า "ถ้าช้าไปอีกวันเดียวค่ายบางกุ้งจะแตกและขวัญทหารไทยจะไม่มีวันฟื้นคืนได้ การรบทุกครั้งการแพ้อยู่ที่ขวัญและกำลังใจ ถ้าไทยแพ้อีกในครั้งนี้ พม่าจะฮึกเหิม พวกไทยจะครั้นคร้ามและกู้ชาติไม่สำเร็จ กรารักษาค่ายบางกุ้งไว้ให้ได้ในครั้งนี้ ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ช่วยขวัญของไทยในการรบครั้งต่อไป"
การรบครั้งนี้ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธสั้น ออกพระมหามนตรีควงดาบสิงห์สุวรรณาวุธ ซึ่งทำด้ามและฝักกนกหัวสิงห์ใหม่ไล่ฆ่าฟันพม่า ข้าศึกแตกกระจาย แมงกี้มารหญ่าแม่ทัพพม่า ครั่นคร้า มพระมหามนตรีจึงเลี่ยงเชิงดูศึกได้ยินเสียงในค่ายที่ล้อมไว้จุดประทัด ตีม้าล่อเปิดประตูค่าย ส่งกำลำดีกระทุ้งออกมา ทำให้พม่าอยู่ในศึกกระหนาบ ซ้ำยังเห็นผงคลีมืดครึ้มได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวทัพหนุนเนื่องของไทยอีก แน่ใจว่าทัพหลวงของไทยติดตามมายิ่งเสียขวัญ ฝ่ายไทยกลับฮึกเหิมไล่ฟันแทงข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือก็พากันแตกหนี พระยาทวายเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงสั่งทัพถอยรวบรวมไพร่พลกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว(เป็นด่านเมืองราชบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำพาชี) กองทัพไทยได้เรือรบศัตรูทั้งหมด และได้เครื่องศาสตราวุธตลอดจนเสบียงอาหารเป็นอันมาก
ชัยชนะในการรบที่ค่ายบางกุ้งนี้มีผลต่อชาวไทยหลายประการ อามิ ไทยยังคงเป็นชาติเอกราชต่อไป ไม่ถูกย่ำยทำลายล้าง เช่นสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 อีก ถ้าหากคนไทยแพ้จะต้องถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ทรัพย์สินเงินทองจะต้องถูกกวาดเก็บไปอีกเป็นจำนวนมาก เพราะคนไทยสมัยนั้นนิยมสร้างวัด จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เป็นที่ตั้งของค่ายบางกุ้งก็เช่นเดียวกัน มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ประเมินค่ามิได้อยู่มากมายและที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ขวัญและกำลังใจของคนไทยทั้งชาติที่พลอยฮึกเหิมขึ้นด้วย คนไทยทั้งชาตต่างมีความเลื่อมใส่กองทัพกู้ชาติ อันมีพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นผู้นำ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้าศึกล่วงล้ำมาถึงเมืองสมุทรสงครามอีก จึงสงบ ร่มเย็นเป็นสุขมาจนถึงปัจจุบัน