งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ มีการจัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ณ สนามศุภชลาศัย หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทาน "ถ้วยมหิดล" แก่ผู้ชนะ พร้อมทั้งทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันด้วยพระองค์เอง ดังนั้น ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยจึงถือว่าการแข่งขันในปี 2503 เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1 ตั้งแต่นั้นมา
หลังจากจัดการแข่งขันต่อเนื่องกันมา 22 ครั้ง ผลปรากฏว่า ทีมรักบี้ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเอาชนะ ทีมรักบี้ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาโดยตลอด เนื่องจากธรรมศาสตร์ไม่มีนักกีฬามากนัก ดังนั้น ธรรมศาสตร์จึงยุติการจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น จึงได้รื้อฟื้นการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 23 โดยมีเป้าหมายให้งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ฟื้นกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งภายใน 3 ปี
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ กีฬา นักกีฬา หรือ ทีมกีฬา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่โครงการทุกอย่างเกี่ยวกับกีฬา |