พระพุทธรูปแห่งบามิยัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวทัศน์และแหล่งโบราณคดีแห่งหุบเขาบามิยัน (ประเทศอัฟกานิสถาน) |
|
---|---|
หลวงพ่อโตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่หน้าผาบามิยัน ก่อนถูกระเบิด | |
อังกฤษ | Cultural Landscape and Archaeological Remains of the Bamiyan Valley |
ฝรั่งเศส | Paysage culturel et vestiges archéologiques de la vallée de Bamiyan |
จีน | 巴米揚大佛 |
ญี่ปุ่น | バーミヤン渓谷の文化的景観と古代遺跡群 |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์การพิจารณา | (i) (ii) (iii) (iv) (vi) |
ลงทะเบียนเมื่อปี | พ.ศ. 2546 |
ลิงก์ | องค์การยูเนสโก |
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน (พาชตู: د بودا بتان په باميانو کې De Buda butan pe bamiyano ke, เปอร์เซีย: تندیسهای بودا در باميان tandis-ha-ye buda dar bamiyaan) เป็นกลุ่มพระพุทธรูปหลายองค์(โดยเฉพาะองค์ใหญ่ 3 องค์) ที่ตั้งอยู่ตามหนาผาและถ้ำของหุบเขาบามิยัน ทางตอนกลางประเทศอัฟกานิสถาน ห่างจากกรุงคาบูลประมาณ 230 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บนความสูงกว่า 2,500 เมตร ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหลายนี้สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10(คริสต์ศตวรรษที่ 6) ศิลปะเกรโก ศิลปะพระพุทธรูปยุคแรกที่เผยแพร่มาจากอารายธรรมกรีกโบราณ ใน
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 พระพุทธรูปแห่งบามิยนได้ถูกรัฐบาลตาลีบันระเบิดทำลายลง ด้วยอ้างเหตุผลว่าการเคารพรูปเคารพนั้นผิดหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งการระเบิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจคนทั่วโลกอย่างมาก
[แก้] ประวัติ
หุบเขาบามิยันนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมระหว่างจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และ ยุโรป มีการค้นพบศาสนสถานทางศาสนาพุทธ และฮินดูเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 แห่ง เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในบริเวณนั้นมาก่อนที่จะมีการมาของศาสนาอิสลามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13
ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 3 องค์ 2 องค์แรกสร้างในช่วงปี พ.ศ. 1050 (ค.ศ. 507) มีความสูง 37 เมตร และองค์ที่ 3 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1097(ค.ศ. 554) สูง 55 เมตร เป็น "พระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ซึ่งทั้งหมดนี้คาดกันว่าสร้างโดยพระเถระและราชวงศ์แห่งราชวงศ์คุปตะแห่งอินเดีย ตามฝาถ้ำที่ได้ขุดเจาะกันไว้นั้น มีการวาดภาพ ซึ่งบ่งบอกถึงการผสมผสานของศิลปะคุปตะ ศิลปะคันธาระ และศิลปะเปอร์เซียได้อย่างชัดเจน และเมื่อพระถังซำจั๋งได้เดินทางไปชมพูทวีปในปี พ.ศ. 1173 (ค.ศ. 650) ท่านได้เล่าว่าพระพุทธรูปได้เหลืองอร่ามไปด้วยทองคำ และมีพระกว่า 1,000 รูปจำวัดอยู่
ที่นี่มีอารามมากกว่า 10 แห่ง มีพระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรยาน (โลกุตตรวาทิน) สังกัด นิกายหินยาน พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ คือ พระอารยทูต (Aryaduta) และพระอารยเสน (Aryasena) มีความรู้ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ที่เนินเขาของนครหลวง มีพระพุทธรูปยืนซึ่งจำหลักด้วยศิลา สูง 150 เฉี๊ยะ (มาตราวัดจีน) ถัดจากนี้ไปเป็นอาราม และพระปฏิมาจำหลักด้วนแก้วกาจ สูง 100 เฉี๊ยะ อารามนี้ มีพระพุทธไสยาสน์ความยาว 1,000 เฉี๊ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีต สวยงาม นอกจากนี้ยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุของพระปัจเจกพุทธะในอดีต
ระหว่างช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปี ของพระพุทธรูปแห่งนี้ ได้พบเจอกับสงครามและการจู่โจมมาโดยตลอด ถึงแม้จะมีชนพื้นเมืองชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งคือชาวฮาซารัส ได้ปกป้องศาสนาสถานแห่งนี้มาก็ตาม เริ่มต้นด้วยการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในบริเวณนี้และการมาของศาสนาอิสลาม การทำลายและการบุกรุกโจรกรรมวัตถุต่างๆจากถ้ำภายในตั้งแต่ 900 ปีที่แล้ว จนมาถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เมื่อสหภาพโซเวียต นำหารเข้าบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถาน ตามมาด้วยสงครามอัฟกัน และสิ้นสุดลงด้วยการระเบิดของกลุ่มตาลีบันในปี พ.ศ. 2544 จากการสำรวจ ได้มีรายงานว่ากว่า 80% ของภาพตามฝาผนังถ้ำได้ถูกทำลายลงไปแล้ว
คำให้การของนายชีค มีร์ซา ฮุสเซน มือระเบิดทำลายพระพุทธรูปบามิยัน ตามคำสั่งของอำนาจของตาลีบัน กล่าวว่าถ้าเขาไม่ระเบิดพระพุทธรูป ตาลีบันจะฆ่าเขาทิ้ง เพราะก่อนหน้านั้นตาลีบันฆ่าลูกชายสองคนของเขาเหมือนสุนัขข้างถนน เขาจึงต้องทำเพื่อการอยู่รอด เขามีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพระพักตร์อมยิ้ม ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษสืบขานกันต่อหลายชั่วอายุคนสอดคลึงกับ คำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้เช่นกัน ซึ่งนักโบราณคดีได้ขุดพบ ส่วนพระบาทของของพระนอน เมื่อ ค.ศ. 2005
[แก้] ดูเพิ่ม
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน เป็นบทความเกี่ยวกับ พระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระพุทธรูปแห่งบามิยัน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |