พระราชพิธีสิบสองเดือน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีสิบสองเดือน | |
---|---|
กวี : | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประเภท : | สารคดี |
คำประพันธ์ : | ความเรียง ร้อยแก้ว |
ความยาว : | 700 หน้า |
สมัย : | รัตนโกสินทร์ |
ปีที่แต่ง : | พ.ศ. 2431 |
ชื่ออื่น : | |
ลิขสิทธิ์ : | |
พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อพิมพ์แจกสมาชิกหนังสือวชิรญาณ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2431 ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกประจำปี พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไทย
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นความเรียง อธิบายถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ทำเป็นประจำในแต่ละเดือน โดยทรงค้นคว้าและแต่งขึ้นทีละเรื่อง จนได้พระราชพิธีทั้งหมด 11 เดือน ขาดแต่เดือน 11 (ทรงเริ่มต้นที่เดือน 12 ก่อน) เนื่องจากติดพระราชธุระจนไม่ได้แต่งต่อจวบสิ้นรัชสมัย
[แก้] เนื้อหา
เนื้อหาในพระราชนิพนธ์เล่มนี้ว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในสมัยโบราณ และในสมัยที่ทรงแต่ง รวมหลายสิบพระราชพิธีด้วยกัน ทรงเล่าถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยสำนวนภาษาที่ไม่เคร่งครัดอย่างตำรา ในสมัยใหม่อาจเรียกได้ว่าสารคดี
พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยาก มีรายละเอียดของพระราชพิธีในส่วนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นอกจากทรงเล่าถึงพระราชพิธีตามตำรับโบราณแล้ว ยังทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างแยบยล
[แก้] คุณค่าทางวรรณศิลป์
พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นแบบอย่างทั้งการเขียนความเรียง และตำราอ้างอิงที่สำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธีของไทย ครั้นเมื่อ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น พระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ได้รับการยกย่อง ว่าเป็น "ยอดของความเรียงอธิบาย" นอกจากนี้ยังได้รับการจัดเป็นหนึ่งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ด้วย
[แก้] รายชื่อพระราชพิธีในเรื่อง
- เดือน 12
- พระราชพิธีจองเปรียง
- พระราชพิธีกะติเกยา
- พระราชพิธีลอยพระประทีป
- พระราชพิธีฉัตรมงคล
- เดือน 1
- พระราชพิธีไล่เรือ
- เดือน 2
- พระราชพิธีบุษยาภิเษก
- พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย
- เดือน 3
- พิธีธานยเทาะห์
- พิธีศิวาราตรี
- เดือน 4
- พิธีรดเจตร
- พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
- เดือน 5
- พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำ)
- พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
- พิธีทอดเชือก
- พิธีสงกรานต์
- เดือน 6
- พระราชพิธีพืชมงคล
- พระราชพิธีจรดพระนังคัล
- พระราชพิธีวิศาขบูชา
- เดือน 7
- พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง
- พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
- เดือน 8
- พระราชพิธีเข้าพรรษา
- เดือน 9
- พิธีตุลาภาร
- พระราชพิธีพรุณศาสตร์
- เดือน 10
- พระราชพิธีสารท
- พิธีกวนข้าวทิพย์
- พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา