พลังงานกระตุ้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลังงานกระตุ้น (อังกฤษ:activation energy) ในทาง เคมี และ ชีววิทยา เป็น พลังงานกระตุ้น หรือพลังงานที่ต้องใช้ในการเริ่ม ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) ให้เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นพลังงานกระตุ้นอาจจะแสดงได้ว่าเป็นพลังงานน้อยที่สุดที่จำเป็นสำหรับใช้กระตุ้น ปฏิกิริยาเคมี ให้เกิดขึ้น พลังงานกระตุ้นอาจแสดงโดยตัวย่อได้ดังนี้ 'Ea
ในทฤษฎีคอลลิชันนัลโมเดล มันต้องการสิ่งที่จำเป็น 3 อย่างในการทำให้เกิดปฏิกิริยา คือ
- โมเลกุลจะต้องชนกัน (collide) แรงๆเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา ถ้า 2 โมเลกุลชนกันธรรมดาจะไม่เกิดปฏิกิริยาเสมอไป เพราะการชนกันไม่แรงพอ
- ต้องมีพลังงานที่เพียงพอ (energy of activation) สำหรับสองโมเลกุลที่จะเกิดปฏิกิริยากัน (transition state)
- ตำแหน่ง ทิศทางและมุมการชนจะต้องถูกจัดรียงอย่างถูกต้องเหมาะสม (correct orientation) เพื่อการใช้พลังงานกระตุ้นน้อยที่สุด
ขณะเกิดปฏิกิริยาพอจะสรุปเหตุการณ์ได้ดังนี้
- ขณะที่สองโมเลกุลเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันกลุ่มอิเล็กตรอนของทั้งโมเลกุลจะผลักซึ่งกันและกัน
- เพื่อเอาชนะแรงผลักปฏิกิริยาจึงต้องใช้พลังงานกระตุ้น (activation energy) ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเป็นพลังงานความร้อน (heat)ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลทั้งสองดังนี้
- ถ้ามีพลังงานกระตุ้นมากพอและสามารถเอาชนะแรงผลักได้โมเลกุลทั้งสองก็จะเข้าใกล้ชิดกันและเกิดการดูดกัน และมีการจัดเรียงพันธะใหม่จึงเกิดปฏิกิริยาขึ้น
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- "Activation energy" (from the IUPAC "Gold Book")
![]() |
พลังงานกระตุ้น เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พลังงานกระตุ้น ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |