พิธีไหว้ครู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง และนับเป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธ์ประสาทวิชาเรามา ทั้งจรรยามารยาทและศิลปวิทยา
การไหว้ครู ยังเป็นการแสดงตน ว่าตนเองขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง เป็นการเคารพครูให้ถูกต้อง แสดงความนอบน้อมอย่างถูกวิธี ปวารณาตนให้ครูได้รับรู้ ว่าเราเป็นศิษย์ของท่านแล้ว พร้อมที่จะน้อมรับคำสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าวจากท่านทุกประการ
สารบัญ |
[แก้] พิธีไหว้ครูในโรงเรียน
โดยทั่วไปตามโรงเรียนต่างๆ จะจัดกันในวันพฤหัสบดี ในเดือนพฤษภาคม
[แก้] ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ืั้ ความหมายในการระรึกคุณครู ได้แก่
- หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
- ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
- ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้ิองรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
[แก้] วิธีจัดงาน
การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
[แก้] สถานที่
- โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อว่างพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
- หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
- ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้างๆ ที่บูชา
- ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน
[แก้] สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
- พานดอกไม้ มีดอกไม้ หญ้าแพรก(หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม(หมายถึง เฉลียวฉลาด) จัดให้สวยงาม
- ธูปเทียน
[แก้] พิธีการ
- เมื่อประธานมาถึง นักเรียนทั้งหมดยืนขึ้น และ ทำความเคารพ
- จุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
- เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์
- หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
- เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
- ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
- ประธานเจิมหนังสือ เพื่อความเป็นสิริมงคล
[แก้] คำไหว้ครู
(หัวหน้ากล่าวคาถาไหว้ครู) ปาเจราจะริยาโหนติ
(นักเรียนทุกคนรับพร้อมกัน) คุณุตตะรา นุสาสะกา
ข้าขอประณตน้อมสักการ | บูรพคณาจารย์ | |
ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา | ||
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา | อบรมจริยา | |
แก่ข้าฯ ในกาลปัจจุบัน | ||
ข้าฯ ขอเคารพอภิวันท์ | ระลึกคุณอนันต์ | |
ด้วยใจนิยมบูชา | ||
ขอเดช กตเวทิตา | อีกวิริยะพา | |
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน | ||
ศึกษาสำเร็จทุกประการ | อายุยืนนาน | |
อยู่ในศีลธรรมอันดี | ||
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี | ประโยชน์ทวี | |
แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ |
(หัวหน้ากล่าวคาถาไหว้ครูตอนจบ) ปัญญาวุฑฒิ กะเรเต เต ทินโนวาเท นะมามิหังฯ
[แก้] คำปฏิญาณตน
เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เรานักเรียนจักต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
[แก้] วันครู
สำหรับในวันครู (วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี) เป็นวันที่มีการจัดพิธีไหว้ครูอีกอย่างหนึ่ง ผู้ร่วมงานคือบรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนนักเรียนในปัจจุบัน มาร่วมไหว้ครูเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการให้ และมีการท่องบทไหว้ครูเป็นภาษาบาลี อาจมีครูอาวุโส เป็นประธานในงานด้วย
[แก้] การไหว้ครูในปริบทอื่น
การไหว้ครูยังมีปรากฏในกิจกรรมอื่น เช่น
- การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง
- การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง
- การไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- พิธีไหว้ครู จากเว็บไซต์ เทวาลัย
- ประเพณีการไหว้ครู