มูลนิธิธรรมกาย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูลนิธิธรรมกาย จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เดิมใช้ชื่อว่า "มูลนิธิธรรมประสิทธิ์" โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก มูลนิธิพระธรรมกาย เป็น "มูลนิธิธรรมกาย" โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528
มูลนิธิธรรมกายจัดเป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NPO) และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆด้านสันติภาพ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมสงเคราะห์ การปฏิบัติธรรม โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆควบคู่กับวัดพระธรรมกายมาตลอด
[แก้] เกียรติคุณ
3 มีนาคม 2550 : มติรัฐสภา ให้เพื่อเป็นเกียรติ แก่การทำงานเพื่อสังคมของมูลนิธิธรรมกาย มอบโดยนายดันแคน ฮันเตอร์ สมาชิกรัฐสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา
25 พฤศจิกายน 2537 : มูลนิธิธรรมกาย ได้รับรางวัลดีเด่น ในฐานะองค์กรที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและสาธารณชน จาก The United Foundation Society of Thailand
10 กันยายน 2537 : วัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย (D.I.S.C.) ได้รับรางวัลดีเด่น ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนสวัสดิการแก่สาธารณชน
13 กุมภาพันธ์ 2537 : มูลนิธิธรรมกาย ได้รับเกียรติคุณจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในฐานะองค์กรที่ร่วมบริจาคโลหิตแด่สภากาชาดไทยเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน 3 ปี
พ.ศ. 2538 : วารกัลยาณมิตร ได้รับรางวัลในฐานะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเยาวชนดีเด่น จากคณะกรรมการสนับสนุนและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักองค์กรที่ร่วมบริจาคโลหิตแด่สภากาชาดไทยเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน 3 ปี[1]