วัดเขียนบางแก้ว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารบัญ |
[แก้] วัดเขียนบางแก้ว
วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
พุทธศตวรรษที่ 13 พ.ศ. 1482 สมัยศรีวิชัย เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างวัดเขียนบางแก้ว ประกอบด้วย กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูป พระมหาเจดีย์ สร้างเสร็จปี พ.ศ. 1493
พ.ศ. 1493 เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์
พ.ศ. 1486 วัดเขียนบางแก้วได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากหลักฐานทางเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัดเขียนบางแก้วน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษ 15-18 แต่นักโบราณคดีกำหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เข้าใจว่า
วัดเขียนบางแก้ว สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้พบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ ศิวลึงค์และฐานโยนิ เป็นอารยธรรมอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ
สมัยอยุธยาตอนต้น วัดเขียนบางแก้วเป็นวัดที่มีความเจริญมาก สมัยอยุธยาตอนกลาง เมืองพัทลุงเกิดสงครามกับพวกโจรสลัดมลายู จนพวกโจรสลัดได้เผาผลาญบ้านเรือนราษฎร และวัดเสียหายมาก
วัดเขียนบางแก้วเคยเป็นวัดร้าง
ชาวพัทลุงได้บูรณะวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ. 2109 - พ.ศ. 2111 สมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เจ้าอินบุตรปะขาวสน กับ นางเป้า ชาวบ้านสะทัง ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน
พ.ศ. 2242 สมัยพระเพทราชา พระครูอินทเมาลีศรีญาญสาครบวรนนทราชจุฬามุนีศรีอุปดิษเถร คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ได้บูรณะ
พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 วัดเขียนบางแก้วกลายเป็นวัดร้าง จนมีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
[แก้] พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว
เป็นเจดีย์ก่ออิฐฐานแปดเหลี่ยม วัดโดยรอบยาว 16.50 เมตร สูงถึงยอด 22 เมตร รอบพระมหาธาตุบริเวณฐานซุ้มพระพุทธรูปโค้งมน 3 ซุ้ม กว้าง 1.28 เมตร สูง 2.63 เมตร
พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ รอบพระเศียรมีประภารัศมีรูปโค้ง ขนาดหน้าตักกว้าง 0.94 เมตร สูง 1.25 เมตร
เศียรช้างปูนปั้นโผล่ออกมา
เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ศิลปจีน
พระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง ปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิเพชร ฐานทักษิณและฐานรองรับองค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม มีลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ แต่เดิมเป็นรูปมารแบก เหนือฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่มุม องค์ระฆังเป็นแบบโอคว่ำถัดจากองค์ระฆังเป็นบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประดับด้วยถ้วยชาม ทั้งสี่มุมของบัลลังก์มีรูปกาปูนปั้นมุมละ 1 ตัว
กรมศิลปกรประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480 และประกาศเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 65 วันที่ 22 เมษายน 2529 เนื้อที่ 22 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา
[แก้] ความสำคัญ
มวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ ๙ ได้นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา
[แก้] อ้างอิง
- ว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร หนังสือพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ 6
- http://www.freewebtown.com/communit/dotvdi1.htm
- http://www.muanglung.com/watkianbangkaew.htm