New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วิทยุสมัครเล่น - วิกิพีเดีย

วิทยุสมัครเล่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:วิทยุสมัครเล่น

วิทยุสมัครเล่น (Amateur radio หรือ Ham Radio) คือ งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความสนใจในการติดต่อสื่อสารด้วยการส่งคลื่นวิทยุติดต่อกัน เพื่อการศึกษา เพื่อการให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน หรือเพื่อพักผ่อนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า ham[1]

สารบัญ

[แก้] ประวัติกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST)

ก่อนหน้านั้น กิจการวิทยุสมัครเล่น มีขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว จากการบอกกล่าวของนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นแรกๆเล่าว่าได้มากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากทั้งประชาชนทั่วไปและจากรัฐบาลเท่าใดนัก

นับจากก่อตั้งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ [2]

โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้

ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกลธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง

"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย โดยกำหนดสัญญาณเรียกขานที่เป็นสากลตามข้อกำหนดของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

ซึ่งกำหนดให้ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย " HS" และในเวลาต่อมาได้กำหนดสัญญาณเรียกขาน "E2" เพิ่มให้กับประเทศไทย [3]

[แก้] กิจกรรมต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น

เครื่องส่งที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัครเล่น
เครื่องส่งที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัครเล่น

นักวิทยุสมัครเล่นติดต่อสื่อสารกันในหลายรูปแบบ โดยทั่วไปนิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงพูด ซึ่งถ้าใช้การผสมคลื่นความถี่แบบ FM จะได้คุณภาพของเสียงที่ดีมาก แต่หากต้องการติดต่อสื่อสารเป็นระยะทางไกลๆ โดยใช้แถบความถี่น้อยหรือมีแถบความถี่ค่อนข้างจำกัดก็จะใช้การผสมคลื่นแบบ single sideband (SSB) ได้ การติดต่อสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านความถี่ต่ำ (HF) ซึ่งจากการทดลองก็พบว่าเป็นการติดต่อสื่อสารที่ดีมากหากเทียบอัตราส่วนระหว่างสัญญาณรบกวนและสัญญาณข้อมูล[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

การติดต่อด้วยรหัสมอร์สนั้นเป็นส่วนช่วยให้นักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่คนละประเทศ พูดคนละภาษา แต่สามารถใช้รหัสมอร์สพูดคุยหรือสื่อสารกันได้ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล และที่สำคัญเครื่องรับ-ส่ง CW นั้นสามารถสร้างได้ง่ายอีกด้วย สำหรับการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัคเล่นโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนเสริมให้การติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนจะต้องใช้เครื่องมือมากมายในการติดต่อสื่อสารที่เป็นดิจิตอล ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Packet Radio เข้ามาใช้งาน ซึ่งต่อมาได้มีหลายๆ องค์กรนำไปพัฒนาและใช้งานให้เกิดประโยชน์มากมาย อีกทั้งนักวิทยุสมัครเล่นยังได้พัฒนาการติดต่อสื่อสารดิจิตอลอีกหลายรูปแบบ เช่น PSK31 ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบทันทีและใช้กำลังส่งที่น้อยในความถี่คลื่นสั้น (HF) WSJT ซึ่งนิยมใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารที่สัญญาณอ่อนมากๆ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดต่อสื่อสารด้วยภาพคล้ายการส่งสัญญาณโทรทัศน์นักวิทยุสมัครเล่นก็สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้งานได้เช่นกัน[4]

[แก้] การจับกลุ่มคุยกัน

นักวิทยุสมัครเล่นจำนวนไม่น้อยชอบที่จะพูดคุยกับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ บนความถี่วิทยุเป็นประจำ โดยการคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน เรียกการจับกลุ่มคุยแบบนี้ว่า "Rag Chew" การคุยกันแบบนี้นับได้ว่ามีมาตั้งแต่เริ่มแรกของวิทยุสมัครเล่นเลยก็ว่าได้[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

เรื่องที่พูดคุยกันนั้นก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไป หรือเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น เช่น ความรู้สายอากาศ การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น

[แก้] บัตรยืนยันการติดต่อ

ตัวอย่างบัตรยืนยันการติดต่อ (QSL card)
ตัวอย่างบัตรยืนยันการติดต่อ (QSL card)

อ่านเพิ่มเติมหัวข้อ : บัตรยืนยันการติดต่อ

โดยทั่วไปนักวิทยุสมัครเล่นมักนิยมแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ หรือ QSL card ระหว่างกัน เพื่อที่จดบันทึกการติดต่อสื่อสารครั้งนั้นไว้ ซึ่งรางวัลต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น หลายรางวัลจำเป็นต้องใช้บัตรยืนยันการติดต่อนี้เพื่อรับรางวัล นักวิทยุสมัครเล่นบางคนก็นิยมเก็บสะสม เพราะมีความสวยงาม

[แก้] การติดต่อทางไกล (DX)

นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนก็นิยมติดต่อกับสถานีที่อยู่ไกลออกไปจากที่อยู่ของตนเอง เช่น ติดต่อกันผ่านความถี่ย่าน HF ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างประเทศ ระหว่างทวีปได้ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งพยายามใช้ความถี่ย่าน VHF สามารถติดต่อได้ไกลๆ โดยเทคนิคด้านการสื่อสารแบบต่าง เช่น การติดต่อสื่อสารโดยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวพื้นดวงจันทร์ เป็นต้น

[แก้] การเดินทางไปติดต่อตามสถานที่ต่างๆ (DX-peditions)

มีหลายประเทศหรือหลายสถานที่ ที่มีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักวิทยุสมัครเล่นจากส่วนต่างๆ ของโลกที่ต้องการติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในสถานที่เหล่านี้ ซึ่งอาจมีการวมตัวกันเดินทางไปตั้งสถานีชั่วคราว เพื่อทำการติดต่อออกมาจากสถานที่เหล่านี้ ซึ่งการเดินทางไปเช่นนี้เรียกว่า DX-peditions ซึ่งถ้าเป็นการเดินทางไปยังสถานที่ที่ยากลำบากหรือมีความต้องการติดต่อกับสถานที่นั้นมาก จะสามารถติดต่อได้เป็นแสนสถานีจากทั่วทุกประเทศ ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์

[แก้] รางวัล

มีรางวัลสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่สามารถติดต่อ (มักนิยมเรียกว่า "Work") กับสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนต่างๆ ของโลก มากมายหลายรางวัล รางวัลที่เป็นที่นิยมได้แก่ รางวัล DX Century Club (DXCC) คือรางวัลที่ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อและยืนยันด้วยบัตรยืนยันการติดต่อได้ 100 ประเทศขึ้นไป จากทั้งหมด 335 ประเทศ ซึ่งเป็นรางวัลที่นิยมมากที่สุด ถ้าใครได้รับรางวัลนี้ก็เป็นการพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีทักษะและความพยายาม ในการใช้ความสามารถในการติดต่อได้หลายประเทศ นอกจากนี้ยังมี รางวัล Work All States สำหรับผู้ที่สามารถติดต่อครบทุกรัฐของสหรัฐอเมริกา รางวัล Work All Continents ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อได้ครบ 6 ทวีปของโลก รางวัล Work All Zones มอบให้ผู้ที่ติดต่อได้ครบ Zone[5]

[แก้] การแข่งขัน

การแข่งขัน หรือ Contesting หรือ Radiosport คือ กิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่นที่จัดและดำเนินการโดยนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งในการแข่งขันนั้น สถานีวิทยุสมัครเล่น อาจออกอากาศด้วยนักวิทยุสมัครเล่นเพียงคนเดียวหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อจะพยายามติดต่อสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในการติดต่อกันนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย ซึ่งกติกาการแข่งขันนั้นก็จะกำหนดความถี่ที่ใช้ในการติดต่อและข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนกันในแต่ละครั้ง ซึ่งการติดต่อแต่ละสถานีจะถูกคำนวณออกมาเป็นคะแนน ซึ่งจะนำมาจัดลำดับหลังจากจบการแข่งขัน การแข่งขันแต่ละรายการจะมีผู้สนับสนุนและกติกาแตกต่างกันออกไป ส่วนมากผลการแข่งขันจะประกาศในนิตยสารวิทยุสมัครเล่นที่เป็นที่รู้จักหรือตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่น นับวันจะมีจำนวนการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งนักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วมแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิทยุสมัครเล่นหลายๆ คน มักเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกรายการ เหมือนกับว่าเป็นกิจกรรมหลักของนักวิทยุสมัครเล่นนั้น ๆ ก็ว่าได้[6]

[แก้] สถานีพิเศษ

สัญญาณเรียกขานพิเศษ
สัญญาณเรียกขานพิเศษ

ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

[แก้] การตั้งสถานีติดต่อชั่วคราว (Portable)

นักวิทยุสมัครเล่นมักจะนำอุปกรณ์วิทยุสื่อสารของตนเองติดตัวไปด้วยเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง และจะออกอากาศหรือทำการติดต่อจากสถานที่เหล่านั้น (ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการออกอากาศในสถานที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต) ด้วยกำลังส่งต่ำ และสายอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ซึ่งก็มีบ่อยครั้งที่ตั้งใจเดินทางไปยังสถานที่ที่ห่างไกลและไม่มีนักวิทยุสมัครเล่นไปออกอากาศ เพื่อเปิดโอกาศให้นักวิทยุสมัครเล่นจากที่ต่าง ๆ ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อแลกบัตรยืนยันการติดต่อ แม้กระทั้ง นักวิทยุที่ชอบเดินทางด้วยเรือหรือเครื่องบินก็สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน

[แก้] การติดต่อด้วยกำลังส่งต่ำ (QRP)

มีนักวิทยุสมัครเล่นบางคนที่ชอบสร้างเครื่องรับ-ส่ง ด้วยตนเอง และนำมาใช้ด้วยกำลังส่งที่ต่ำ เรียกว่า QRP ซึ่งมาจาก Q code ที่มีความหมายว่า "ลดกำลังส่ง" การออกอากาศด้วย QRP ใช้กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับรหัสมอร์ส และไม่เกิน 10 วัตต์สำหรับการส่งด้วยเสียง

[แก้] วิทยุสมัครเล่นกับอวกาศ

ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นได้ส่งดาวเทียมสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือการทดลองของนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่า 70 ดวงแล้ว ในโครงการที่ชื่อว่า Orbiting Satellite Carrying Amateur Radio หรือ OSCAR ซึ่งบางดวงก็สามารถใช้งานด้วยการใช้เครื่องวิทยุรับ-ส่งชนิดมือถือ และสายอากาศชนิดติดกับตัวเครื่อง หรือ "rubber duck" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AO-51 หรือ AMSAT Echo นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถใช้ "ดาวเทียมธรรมชาติ" ได้แก่ ดวงจันทร์ และ ดาวตก สำหรับการสะท้อนคลื่นเพื่อการติดต่อสื่อสาร นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ซึ่งนักบินอวกาศเกือบทุกคนที่ประจำอยู่จะได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นเช่นกัน [7]โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงการให้นักเรียนได้ติดต่อพูดคุยกับนักบินอวกาศผ่านความถี่วิทยุสมัครเล่น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นความถี่สำรองสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติอีกด้วย

[แก้] การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาต

สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น จะต้องได้สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
  2. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
  3. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง

ซึ่งในแต่ระดับขั้นนั้นมีสิทธิที่จะใช้งานความถี่วิทยุสมัครเล่นและกำลังส่งที่แตกต่างกัน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงนั้น ยังไม่เคยเปิดสอบสำหรับประชาชนทั่วไป แต่มีการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

หมายเหตุ : ขณะนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น จึงยังไม่มีการเปิดให้บุคคลทั่วไปได้สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่น [8]

[แก้] สิทธิต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย

เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยสิทธิต่างๆ เป็นดังตาราง

ใบอนุญาต ความถี่ กำลังส่งสูงสุด
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 144.000 - 146.000 MHz ไม่เกิน 10 วัตต์
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง 144.000 - 146.000 MHz ไม่เกิน 10 วัตต์
7.000 - 7.100 MHz

14.000 - 14.350 MHz

21.000 - 21.450 MHz

28.000 - 29.700 MHz

ไม่เกิน 200 วัตต์

[แก้] วันสำคัญ

  • วันที่ 18 เมษายน - วันนักวิทยุสมัครเล่นโลก

[แก้] อ้างอิง

  1. http://life.itu.int/radioclub/ars.htm
  2. เสงี่ยม เผ่าทองศุข VR222 หรือ HS1PJ,หนังสือ 73 ความรู้ทั่วไป ใน "กิจการวิทยุสมัครเล่น",สำนักพิมพ์นิตยสาร "ซีคิว",พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ 2532,หน้า 17
  3. ตารางกำหนดคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
  4. การติดต่อสื่อสารด้วย Slow-scan TV ของนักวิทยุสมัครเล่น
  5. รางวัลต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น โดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นประเทศสหรัฐอเมรกา (ARRL)
  6. รายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่น ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ARRL)
  7. วิทยุสมัครเล่นบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  8. ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu