ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Court of Justice) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เพื่อเป็นองค์การสำคัญทางศาลของสหประชาชาติในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ
เมื่อปี พ.ศ. 2502 ประเทศไทยเคยเกี่ยวข้องกับศาลโลกในคดีเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา โดยผลสรุปคือศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สหประชาชาติ | |
ระบบสหประชาชาติ |
|
องค์กร กองทุน หน่วยงาน |
|
แก้ |