สมุดหน้าเหลือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมุดหน้าเหลือง หรือ เยลโล่เพจเจส (Yellow Pages) เป็นคำสามัญที่หลายประเทศทั่วโลกใช้เรียกสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่ส์ที่รวบรวมรายชื่อธุรกิจ สินค้า และบริการ ที่เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ แจกจ่ายไปตามบ้านเรือน ที่พักอาศัย บริษัท ห้างร้าน และแหล่งธุรกิจต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ถือว่าเป็นสื่อโฆษณาแบบรายปี
แรกเริ่มเดิมที สมุดหน้าเหลืองถูกพิมพ์ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา บนกระดาษสีเหลืองคุณภาพต่ำด้วยความจำเป็นด้านต้นทุน เนื่องจากต้องพิมพ์เป็นจำนวนมาก แม้ปัจจุบันสมุดหน้าเหลืองจะใช้กระดาษคุณภาพมาตรฐานที่มีสีขาวย้อมเหลืองแล้วก็ตาม คนทั่วไปก็ยังคงจำภาพลักษณ์ของสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่ส์ว่า เยลโล่เพจเจส
ต่อมา รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเยลโล่เพจเจส เป็นที่นิยมและเริ่มมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำรูปแบบนี้ไปทำธุรกิจทุกประเทศ หลากหลายภาษาทั่วโลก จวบจนธุรกิจสมุดหน้าเหลืองเข้าประเทศไทย โดยบริษัท จีทีอี ที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า "หน้าเหลือง" จากนั้นโอนย้ายไปอยู่ในการดูแลของ เอที แอนด์ ที ภายใต้สัมปทานที่ได้มาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT)และต่อมากับบริษัทชินวัตร ไดเร็คทอรี่ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งหมายถึงไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส ในขณะที่บ้านเราก็มีสมุดหน้าขาว หรือ ไวท์เพจเจส ก็พิมพ์บนกระดาษสีขาว โดยตัวสมุดจะเป็นการรวบรวมรายชื่อบุคคล (หรือธุรกิจ)ที่เรียงตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ
ปัจจุบันหลังจากมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมแล้ว ผนวกกับการเข้ามาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามาท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสื่อประเภทไดเร็คทอรี่ส์ จนสมุดหน้าเหลืองต้องปรับตัวเป็นสื่อไดเร็คทอรี่ส์ออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้ก้าวต่อไปของสมุดหน้าเหลืองกลายเป็นเรื่องของธุรกิจฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถกระจายเนื้อหาไปยังสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สมุดหน้าเหลือง เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สมุดหน้าเหลือง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |