สายอากาศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายอากาศคือ อุปกรณ์สำหรับรับและส่งคลื่น ความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และในทางกลับกัน ก็เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน สายอากาศส่วนมากมักจะทำด้วยอลูมิเนียม เพราะน้ำหนักเบา และทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าโลหะทั่วไป
สายอากาศแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งคลื่นได้ดังนี้ 1. สายอากาศแบบรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทุกทิศทางเฉลี่ยกันไปโดยรอบ 2. สายอากาศแบบกึ่งรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีเกือบรอบตัวแต่มีอัตราขยายสูงกว่าแบบรอบตัว 3. สายอากาศแบบทิศทาง สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทิศทางที่กำหนดและจะมีอัตราขยายสูงกว่าประเภทอื่น
อัตราขยาย (Gain) เป็นความสามารถของสายอากาศแต่ละต้นที่ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกัน เพื่อลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป สายอากาศที่มีอัตราขยายสูง จะบอกถึงความสามารถในการรับ-ส่งคลื่นวิทยุ ได้ดีมากตามตัวเลข ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น dBi และ dBd