หินบะซอลต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด มีเนื้อละเอียด สีเข้ม หรือเทาแก่ถึงดำ น้ำตาลแก่ และหนัก ส่วนมากมีรูพรุน อายุของหินที่พบในประเทศไทยนับว่ามีอายุใหม่มาก ประมาณ 2 – 10 ล้านปี อยู่ในยุค Quaternary – Late Tertiary เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว
[แก้] บริเวณที่พบ
จังหวัดจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี แพร่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เชียงราย และลำปาง เป็นหินที่พบว่าเกิดพลอยพวก คอรันดัม เช่น ทับทิม ไพลิน
[แก้] ประโยชน์
ใช้ในการก่อสร้าง แต่ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าจำเป็นก็ใช้เป็นวัสดุสร้างทางได้ หินบะซอลต์ถ้าผุจะกลายเป็นดินที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก และยังเป็นหินประดับได้
หินบะซอลต์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ธรณีวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ หินบะซอลต์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |