อักษรสิทธัม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรสิทธัม (ภาษาสันสกฤต सिद्धम् หมายถึง ทำให้สำเร็จหรือสมบูรณ์แล้ว) เป็นชื่ออักษรแบบหนึ่งของอินเดียตอนเหนือ ที่นิยมใช้เขียนภาษาสันสกฤต มีที่มาจากอักษรพราหมี โดยผ่านการพัฒนาจากอักษรคุปตะ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นอักษรเทวนาครีในเวลาต่อมา และเกิดเป็นอักษรอื่นๆ จำนวนมากในเอเชีย เช่น อักษรทิเบต เป็นต้น อักษรสิทธัมเผยแพร่พร้อมคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าไปสู่จีนและญี่ปุ่นตามลำดับ ปัจจุบันอักษรสิทธัมยังคงใช้ในการประกอบพิธีกรรมของนิกายชินงอน (มนตรยาน) ในประเทศญี่ปุ่น
[แก้] ดูเพิ่ม
- ระบบการเขียน
- อักษร
- Mojikyo
[แก้] แหล่งข้อมูล
- John Stevens. Sacred Calligraphy of the East. (Boston: Shambala, 1995)
- Taikō Yamasaki. Shingon: Japanese Esoteric Buddhism. (Fresno: Shingon Buddhist International Institute, 1988)
![]() |
อักษรสิทธัม เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อักษรสิทธัม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |