อารีรัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารีรัง (เกาหลี: 아리랑) เป็นเพลงพื้นบ้านเกาหลีที่รู้จักกันดีที่สุด ทั้งภายในและภายนอกประเทศเกาหลี โดยเนื้อหาของเพลงนั้น จะเกี่ยวกับการเดินทางผ่านช่องเขา และมักจะเกี่ยวกับการจากลาจากคนรัก หรือสงคราม
หากจะเทียบอารีรังกับร้อยแก้วแบบไทยแล้ว อาจเทียบได้กับ นิราศ
สารบัญ |
[แก้] อารีรังแบบต่าง ๆ
ในความเป็นจริงแล้ว มีเพลงอารีรังแบบต่าง ๆ อยู่ถึงกว่า 100 แบบ และทุกแบบสามารถแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้อีก ขึ้นอยู่กับเนื้อร้อง สร้อย ทำนองโดยรวม ฯลฯ ชื่อเพลงของอารีรังแบบต่าง ๆ จะมีชื่อสถานที่หรือเป็นชื่ออื่น ๆ แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า อารีรัง
เพลงอารีรังมาตรฐานนั้นมักเรียกกันว่า "อารีรัง" เฉย ๆ และมีต้นกำเนิดที่ค่อนข้างใหม่อยู่ เพลงนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตั้งแต่ได้ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องอารีรัง (1926) บางครั้งเพลงนี้ถูกเรียกว่า บอนโจอารีรัง (อารีรังมาตรฐาน), ซินอารีรัง (อารีรังใหม่), อารีรัง หรือ กยองกีอารีรัง (เนื่องจากมีต้นกำเนิดจากกรุงโซล ซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดกยองกี)
เพลงพื้นบ้าน"อารีรัง" แบบอื่น ๆ ที่มีประวัติยาวนาน ได้แก่
- จองซอนอารีรัง จากอำเภอจองซอน จังหวัดกังวอน
- จินโดอารีรัง จากอำเภอจินโด ในจังหวัดจอลลาใต้
- มีเรียงอารีรัง จากมีเรียง ในจังหวัดกยองซังใต้
ปัลโดอารีรัง เป็นเพลงอารีรังที่รวมลักษณะต่าง ๆ ของเพลงอารีรังจากทุกท้องถิ่นเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่าปัลโดอารีรัง ซึ่งปัลโดนั้นแปลว่า 8 จังหวัด (เกาหลีโบราณทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 8 จังหวัด)
[แก้] ที่มาของชื่อเพลง
เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชั่นนั้น เริ่มต้นด้วนการพรรณนาการเดินทาง โดยเนื้อหาของเพลงนั้นเกี่ยวกับตอนที่เดินทางผ่านช่องเขา อารีรังนั้นเป็นชื่อของช่องเขาแห่งหนึ่ง จึงถูกใช้เป็นชื่อเพลงด้วย อารีรังบางเวอร์ชั่นได้กล่าวถึงช่องเขามุงยอง แซแจ ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่สำคัญสมัยราชวงศ์โจซอน อยู่ระหว่างถนนจากกรุงโซลไปยังจังหวัดกยองซังทางตะวันออกเฉียงใต้
ช่องเขาหลายแห่งในเกาหลีนั้นมีชื่อว่าช่องเขาอารีรัง ช่องเขาอารีรังแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาทางภาคกลางของเกาหลี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโซล เดิมมีชื่อว่าช่องเขาจองนึง และถูกเปลี่ยนชื่อในปี 1926 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการฉายภาพยนตร์อารีรัง ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบที่ดีที่สุดของเกาหลี แต่เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชั่นนั้นมีอายุเก่าแก่กว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อีก
[แก้] สร้อยเพลง
ในเพลงอารีรังทุกเวอร์ชั่น สร้อยเพลงและแต่ละท่อนของเพลงจะมีความยาวเท่ากัน
ในบางเวอร์ชั่น เช่น อารีรังฉบับมาตรฐาน และจินโดอารีรัง สร้อยท่อนแรกจะเริ่มต้นก่อนเนื้อเพลงท่อนแรก แต่ในเวอร์ชั่นอื่น ๆ เช่น มีเรียงอารีรัง สร้อยท่อนแรกจะเริ่มต้นทีหลังเนื้อเพลงท่อนแรก. แต่บางที วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดอันดับเพลงอารีรังเวอร์ชั่นต่าง ๆ นั้น นอกจากทำนองที่มีความหลากหลายมาก ๆ แล้ว ก็คือโดยเนื้อร้องของสร้อย ในเพลงอารีรังเวอร์ชั่นมาตรฐานและเวอร์ชั่นอื่น ๆ บางเพลง สร้อยจะขึ้นต้นว่า "อารีรัง, อารีรัง, อารารีโย..." แต่ในเพลงจินโดอารีรังและมีเรียงอารีรัง (2 เวอร์ชั่นนี้ก็ต่างกันเองมากพอสมควร) จะมีสร้อยเพลงที่ขึ้นต้นว่า "อารี อารีรัง, ซือรี อารีรัง..." (ทั้งคำว่า "อารารีโย" และ "ซือรี อารีรัง" นั้นต่างเป็นคำที่ไม่มีความหมาย ที่ใส่เข้ามาเพื่อให้เข้ากับคำว่าอารีรังเท่านั้น)
[แก้] เนื้อเพลง
ตารางข้างล่างนั้นได้แสดงสร้อยเพลงอารีรัง (2 บรรทัดแรก) และเนื้อเพลงท่อนแรก (บรรทัดที่ 3-4) ในเพลงอารีรังเวอร์ชั่นมาตรฐาน ในตัวอักษรฮันกึล ในตัวอักษรละตินและคำแปลเป็นภาษาไทย
ตัวอักษรฮันกึล | |
아리랑, 아리랑, 아라리요... 아리랑 고개로 넘어간다. 나를 버리고 가시는 님은 십리도 못가서 발병난다. |
|
ตัวอักษรละติน | |
Arirang, Arirang, Arariyo... Arirang gogaero neomeoganda. Nareul beorigo gasineun nimeun Simnido motgaseo balbyeongnanda. |
|
คำแปลภาษาไทย | |
อารีรัง, อารีรัง, อารารีโย... ฉันกำลังข้ามผ่านช่องเขาอารีรัง เขาคนนั้น ที่ทิ้งฉันไว้(ที่นี่) จะไม่เดินแม้ระยะทางเพียง 10 ลี้ ก่อนที่เท้าของเขาจะเจ็บ |
ดูหมายเหตุ 3 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 4 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 5 ข้างล่าง ดูหมายเหตุ 6 และ 7 ข้างล่าง |
[แก้] หมายเหตุ
- ดูเนื้อหาข่าวของสำนักข่าวยอนฮัป ([1]) เป็นการถกเถียงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเพลงและความเกี่ยวข้องของเพลงที่มีต่อภาพยนตร์ สำหรับเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์ ชมได้ที่ [2]
- อ้างอิงจากเนื้อหาเกี่ยวกับช่องเขา ในเว็บไซต์ของฝ่ายบริหารกรุงโซล ([3]; เนื้อหาเป็นภาษาเกาหลีทั้งหมด)
- "อารารีโย" ("아라리요") ไม่มีความหมายและมีหน้าที่เพียงช่วยให้เพลงมีความลื่นไหล
- สรรพนามในภาษาเกาหลี มักถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ ดังนั้นคำว่า ฉัน ในบรรทัดที่สองจึงอาจมีความหมายว่า พวกเรา ก็ได้ แต่การใช้คำว่าฉัน แทน พวกเรา นั้นจะไปสอดคล้องกับคำว่าฉัน ในบรรทัดที่สามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
- คำนามและสรรพนามในภาษาเกาหลีนั้นไม่ระบุเพศ ดังนั้นสรรพนามบุรุษที่ 3 ในเนื้อเพลงจึงอาจอ้างอิงถึงผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้
- ระยะทาง 10 ลี้ (리 ; 里) เท่ากับระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรหรือ 2.5 ไมล์
- เท้าของเขาเจ็บ ("balbyeong nanda"; "발병 난다") สามารถแปลตรงตัวได้ว่า เขามีโรคที่เท้า แต่ว่าใช้สามัญสำนึกแปลได้ความหมายในทางที่ว่า เท้าของเขาเจ็บหลังจากที่เดินทางอย่างลำบากผ่านช่องเขา
[แก้] เนื้อร้องเพิ่มเติม
เวอร์ชั่นมาตรฐานของเพลงอารีรังมีเนื้อร้อง 3 ท่อน แต่ท่อนที่ 2 และสามนั้นไม่ถูกร้องบ่อยเท่าท่อนที่ 1 ท่อนที่ 2-3 นั้นถูกแสดงอยู่ข้างล่างนี้ (ไม่มีสร้อยประกอบ):
ท่อนที่ 2
- 청청하늘엔 별도 많고
- 우리네 가슴엔 꿈도 많다
- Cheongcheonghaneuren byeoldo manko
- Urine gaseumen kkumdo manta
- เช่นเดียวกับดาวมากมายในท้องฟ้า,
- หัวใจฉันก็มีความเศร้าโศกมากมายเช่นกัน
ท่อนที่ 3
- 저기 저 산이 백두산이라지
- 동지 섣달에도 꽃만 핀다
- Jeogi jeo sani Baekdusaniraji
- Dongji seotdaredo kkonman pinda
- ภูเขาลูกนั้นคือภูเขาแบกตูซัน,
- ที่ซึ่งมีดอกไม้ผลิบาน แม้ในวันสุดท้ายของฤดูหนาว
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เพลงอารีรังเวอร์ชั่นต่าง ๆ ของเกาหลีเหนือ บรรเลงโดยวง Pochonbo Electronic Ensemble (보천보전자악단, 普天堡電子樂團), พร้อมเนื้อร้องภาษาเกาหลีและไฟล์ mp3
- อารีรัง (ขับร้องโดยลีกยองซุก [리경숙, 李京淑])
- มีเรียงอารีรัง (ขับร้องโดยจอนเฮยอง [전혜영, 全惠英] และลีกยองซุก [리경숙, 李京淑])
- จินโดอารีรัง (ขับร้องโดยลีบุนฮี [리분희, 李粉姬])
- ยองชอนอารีรัง (เวอร์ัชั่นนี้นับจังหวะแตกต่างกับเวอร์ชั่นอื่น ๆ)