จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอห้างฉัตร เป็นอำเภอที่อยู่ติดกับอำเภอเมืองลำปาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตรที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนถนนสายลำปาง-เชียงใหม่ ห้างฉัตรเป็นอำเภอที่มีความเจริญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้ใช้เส้นทางห้างฉัตรเป็นทางติดต่อ เมื่อเดินทางถึงห้วยแม่ตาลได้หยุดพักพลที่นี้ บรรดาชาวเมืองจึงตกแต่งที่ประดับด้วยราชวัตรฉัตรอันงดงาม ภายหลังที่แห่งนั้นได้เป็นเมืองขึ้นมา จึงเรียกว่าเมืองนั้น เมืองห้างฉัตร แต่ชาวบ้านออกเสียงเพี้ยนเป็น หางสัตว์ ในปี พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงประกาศนามอำเภอนี้ว่าห้างฉัตรให้ถูกต้องตามความหมายเดิม
[แก้] อาณาเขตติดต่อ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
อำเภอห้างฉัตรแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 73 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล และ 7 องค์การบริหารส่วนตำบล
|
ชื่อ |
หมู่บ้าน |
ประชากร |
1. |
ห้างฉัตร |
9 |
10,216 |
|
2. |
หนองหล่ม |
9 |
5,266 |
|
3. |
เมืองยาว |
15 |
8,267 |
|
4. |
ปงยางคก |
13 |
9,821 |
|
5. |
เวียงตาล |
11 |
8,778 |
|
6. |
แม่สัน |
9 |
4,729 |
|
7. |
วอแก้ว |
7 |
4,418 |
|
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
- ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยย้ายมาจากศูนย์ฝึกลูกช้างบ้านปางหละ อำเภองาว แต่ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่อาณาบริเวณ สวนป่าทุ่งเกวียน และเป็นที่ตั้งของ สถาบันคชบาลแห่งชาติ และ โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นสถานที่ฝึกฝนช้างให้มีความสามารถเหมือนมนุษย์เช่น สามารถเล่นดนตรี กีฬา วาดรูปได้ อีกทั้งยังได้มีการแสดงโชว์ความสามารถของช้าง เป็นที่ประดับใจของชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมชมเป็นอันมาก
- ตลาดทุ่งเกวียน เป็นตลาดสินค้าพื้นเมือง มีสินค้าพื้นเมืองในท้องถิ่นทั้งอำเภอห้างฉัตรและต่างถิ่นในภาคเหนือมาวางขาย ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ เสื้อผ้า ของฝากของที่ระลึกต่าง ๆ อดีตตลาดทุ่งเกวียนเป็นตลาดค้าขายของป่าหรือสัตว์ป่า แต่ปัจจุบันได้วางขายสินค้า OTOP ของจังหวัดลำปางไว้ทุกชนิด