เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเขริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระัราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ"
[แก้] ประเภท ลำดับชั้นตรา และจำนวน
กฎหมายได้บัญญัติจำแนกเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทฝ่ายหน้าสำหรับบุรุษ และประเภทฝ่ายในสำหรับสตรี คำว่าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เรียกตามตำแหน่งที่เคยจัดให้เฝ้าแต่สมัยโบราณ ทั้งยังได้กำหนดจำนวนเครื่องราชฯ ในตระกูลนี้ในแต่ละชั้นตราไว้เป็นการแน่นอน หากชั้นตราใดมีผู้ได้รับพระราชทานเต็มตามจำนวนแล้ว ก็จะไม่พระราชทานชั้นตรานั้นแก่ผู้อื่นอีก ชั้นตราจะว่างก็ต่อเมื่อผู้ได้รับพระราชทานอยู่เดิมสิ้นชีวิตหรือได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นตราสูงขึ้น โดยญาติผู้เสียชีวิตหรือผู้ได้รับพระราชทานเ้ลื่อนชั้นตราสูงขึ้น ต้องมีหน้าที่ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจุลจอมเกล้าที่ได้รับพระราชทานหรือชั้นรองตามกฎหมายแก่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า (บุรุษ) มี 3 ชั้น 7 ชนิด คือ
ชั้นที่ 1 มี 2 ชนิด | ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) | ไม่จำกัดจำนวน |
ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) | จำนวน 30 สำรับ | |
ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด | ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) | จำนวน 200 สำรับ |
ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) | จำนวน 250 ดวง | |
ชั้นที่ 3 มี 3 ชนิด | ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) | จำนวน 250 ดวง |
ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) | จำนวน 250 ดวง | |
ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.) | จำนวน 100 ดวง |
- สำหรับพระราชทานฝ่ายใน (สตรี) มี 4 ชั้น 5 ชนิด คือ
ชั้นที่ 1 | ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) | จำนวน 20 สำรับ |
ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด | ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) | จำนวน 100 ดวง |
ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) | จำนวน 100 ดวง | |
ชั้นที่ 3 | ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) | จำนวน 250 ดวง |
ชั้นที่ 4 | จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) | จำนวน 150 ดวง |
[แก้] ธรรมเนียมการพระราชทาน
เมื่อครั้งดั้งเดิม มีพระราชดำริจะพระราชทานแต่เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายขอบเขตการพระราชทานไปยังผู้ทำประโยชน์อื่น ๆ ทั้งในราชการแผ่นดินและในราชการส่วนพระองค์ด้วย เช่น พ่อค้าวาณิช และคู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง เป็นต้น ปัจจุบันจะทรงพระราชทานในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี
ในการพระราชทานจะพระราชทานชั้นตราเรียงตามลำดับจากชั้นเริ่มต้นไปสู่ชั้นสูงสุดในแต่ละฝ่าย ดังนี้
[แก้] ฝ่ายหน้า (บุรุษ)
ทายาทที่รับพระราชทานตราสืบตระกูลจะได้รับตราดังนี้ แล้วแต่กรณี คือ
- ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.)
- ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)
สำหรับพระราชทานแก่บุคคลทั่วไป ปกติแล้วจะเริ่มต้นและเรียงไปหาชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
- ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
- ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
- ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
[แก้] ฝ่ายใน (สตรี)
- จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)
- ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)
- ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
- ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
หมายเหตุ ผู้ได้รับพระราชทานตราจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)(ยกเว้นสตรีในราชสกุลตั้งแต่หม่อมหลวงขึ้นไป) ใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" (สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว) หรือ "คุณ" (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส)
ส่วนผู้ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) และปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ยกเว้นสตรีในราชสกุลตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป) ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" (สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว) หรือ "คุณ" (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ แตกต่างจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลอื่น ๆ คือ เป็นการพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย รัฐบาลมิได้เป็นผู้เสนอ ขอพระราชทานขึ้นไป นอกจากนี้ บุรุษที่ได้ัรับพระราชทานชั้นตราสูงขึ้นตั้งแต่ชั้น ท.จ. ไปจนถึงชั้น ป.จ.ว. ญาติผู้ใหญ่อาจขอพระราชทานตราสืบตระกูลให้แก่บุตรชายคนใหญ่ของผู้ได้รับพระราชทานที่มีความประพฤติเหมาะสมได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
[แก้] รายนามผู้ได้รับพระราชทาน
[แก้] 5 พฤษภาคม 2548
- ฝ่ายใน
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
- คุณหญิงสุวรรณี พัฒน์พงศ์พานิช
- ทุติยจุลจอมเกล้า
- ม.จ.ภัทรลดา ดิศกุล
- คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน
- คุณเมตตจิตต์ นวจิืนดา
- คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล
- คุณพจนา หันตวงษ์
- ตติยจุลจอมเกล้า
- คุิณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
- คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
- คุณหญิงปานจิตต์ วัฒนายากร
- คุญหญิงรังสิมา หวั่งหลี
- คุณหญิงเทวี เจียรวนนท์
- คุณหญิงกัติกา อ่วมสำอางค์
- คุณหญิงบุพพัณห์ นิมมานเหมินท์
- คุณหญิงอุษา เทวกุล ณ อยุธยา
- คุณหญิงปัญจา ประจวบเหมาะ
- คุณหญิงอัจฉรา กะราลััย
- คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
- คุณหญิงสงวนศรี พิทูรกิจจา
- คุณหญิงพรรณทอง มณีศิลป์
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
- จตุตถจุลจอมเกล้า
- น.ส.ไธวดี ดุลยจินดา
- นางโกมุท อุ่นศรีส่ง
- พ.อ.หญิง อำนวยพร โพธิสอน
- น.ส.ผกาพันธ์ เทหะมาศ
- นางวิมล ศิริไพบูลย์
- น.ส.ประยูรศรี เก้าเอี้ยน
- น.ส.ประภา รัตนเมธานนท์
- น.ส.จำลอง แววพานิช
- นางดรุณี พูลทรัพย์
- นางพรมนัส วรรธโนทัย
- นางนิตยา ม่วงมณี
- นางสุจิตรา มงคลกิติ
- นางอัจฉรา ภูนารถนุรักษ์
- นางมัลลิกา วรรณไกรโรจน์
- นางเฉิดฉัน แสงรุจิ
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
[แก้] อ้างอิง
เอกสารข่าว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี