เจมส์ บรุค
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์ เจมส์ บรุค (Sir James Brooke -29 เมษายน พ.ศ. 2346 – 11 มิถุนายน 2411) นักผจญภัยชาวอังกฤษ ราชาแห่งซาราวักผิวขาวคนแรก (แต่งตั้งโดยสุลต่านแห่งซาราวัก)
[แก้] ชีวิตและงาน
เซอร์ เจมส์ บรุค เกิดที่คูมเบโกรบ ใกล้เมืองบาธในประเทศอังกฤษ บิดาเป็นชาวอังกฤษ มารดาเป็นชาวสก็อต เมื่อวัยเด็กเข้าที่โรงเรียนนอร์วิช บรุคเดินทางไปประเทศพม่าพร้อมกับกองทหารของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2368 และได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบจึงถูกส่งตัวกลับไปพักฟื้นที่อังกฤษ เมื่อหายดีแล้วได้กลับมาตะวันออกอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2373 ผ่านทางเมืองมัดราส แต่คลาดไม่ทันกองทหารจึงไม่ได้เข้าประจำการ
บรุคจึงพยายามเริ่มต้นทำการค้ากับตะวันออกไกลแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2378 เมื่อบิดาตายลง บรุคได้รับมรดกเป็นเงินมากถึง 30,000 ปอนด์และได้ใช้เงินจำนวนนี้ลงทุนซื้อเรือ และตั้งชื่อเรือว่า "เดอะรอแยลลิสต์" แล้วออกเดินทางไปบอร์เนียว ถึงเมืองคูชิงเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2381 ซึ่งเป็นช่วงที่ชนพื้นเมืองก่อกบฎต่อต้านสุลต่านแห่งบรูไนอยู่พอดี บรุคเสนอให้ความช่วยเหลือและสามารถเจรจาสงบศึกได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้สุลต่านแต่งตั้งบรุคให้เป็น "ราชา" แห่งซาราวัก ด้วยเกรงอำนาจทางทหารของเขา
บรุคเริ่มวางรากฐานปูอำนาจของตนไปทั่วซาราวัก ปฏิรูประบบบริหาร แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ปราบปรามโจรสลัดซึ่งเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องไปตลอดเวลาที่บรุคปกครอง บรุคเดินทางกลับอังกฤษเป็นการชั่วคราวเมื่อ พ.ศ. 2390 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการและผู้บัญชาการทหารแห่ง "ลาบวน" ได้เป็นกงสุลทั่วไปของอังกฤษแห่งบอร์เนียวและได้รับพระราชทานเหรียญตราเป็นอัศวินชั้นบาธใช้คำนำหน้าว่า "เซอร์"
[แก้] ชีวิตในบั้นปลาย
ในปี พ.ศ. 2394 บรุคถูกกล่าวว่าใช้อำนาจในทางที่ผิด และถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนที่โปรดเกล้าแต่งตั้งจากสิงคโปร์ แม้จะพ้นข้อหา แต่เหตูการก็ได้หลอหลอนบรุคอยู่ตลอดเวลา
บรุคปกครองซาราวักจนถึงวันเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2411 จากเส้นโลหิตในสมองแตก 3 ครั้งในเวลา 10 ปี หลานชายของบรุค ชื่อ ชาร์ล จอห์นสัน บรุค ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงดำแหน่ง "ราชา" ต่อมา
เรื่องราวเกี่ยวกับเซอร์ เจมส์ บรุค ได้รับการกล่าวขานนำไปเขียนหนังสือและแต่งบทละครหลายเรื่อง ตัวลครเรื่อง "ลอร์ดจิม" โดยโจเซฟ คอนราด ก็ใช้ชีวิตจริงของเซอร์ เจมส์ บรุคเป็นแนวทางในการสร้างเรื่อง มีการนำชื่อของบรุคตั้งชื่อต้น "pitcher plant" ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Nepenthes rajah" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาโดยโจเซฟ ดาลตัน ฮุกเกอร์
[แก้] อ้างอิง
- วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ [1]