เชียงรุ้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียงรุ้ง (จีน: 景洪; พินอิน: Jǐnghóng;) หรือ เจียงฮุ่ง เจงฮุ่ง คือเมืองเอกในเขตปกครองพิเศษไท-สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้ง
มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และ ตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศลาว
[แก้] ประชากร และ ขนาด
ประชากร: 363,110 คน (ประชากรในเมือง: 94,162 คน) ขนาด: 7'003 km²
[แก้] ภูมิศาสตร์
เมืองเชียงรุ้งติดกับเทือกเขาเฮงด๋วง และ แม่น้ำโขง สภาพอากาศนั้น ตอนบนเป็นเขตอบอุ่น และ ตอนล่างเป็นเขตอุ่นชื้น มีความชื้นมากในฤดูมรสุม และแห้งมากในฤดูหนาว ชั่วโมงแดดต่อปีก็คือ 1800-2300 ชั่งโมง อุณหภูมิเฉลี่ย 18.6°C -21.9°C และ ปริมาณฝน 1200-1700 mm.
[แก้] ประชากร
เมืองเชียงรุ้งนั้น มีประชากรเป็นชาวไทลื้อเป็นหลัก โดยประชากรชนเผ่าต่างๆรวมชาวฮั่นและไม่ใช่ชาวไทในปี 2002 ก็คือ 249,721 คน หรือ ประมาณ 67.27% ของทั้งหมด ส่วนชาวไทนั้นมี 35% ของทั้งหมด มีชาวฮั่น 121,511 คน และ 32.73% ของทั้งหมด
[แก้] ชื่อที่มาของเมืองเชียงรุ่ง
ชื่อที่มานั้น มีตำนาน "พ๊ะเจ่าเหลบโหลก" อยู่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำของ(ภาษาลื้อเรียกน้ำของ ภาษาจีนเรียก หลานซาง คำว่าน้ำโขงจึงไม่มีในภาษาลื้อ) ของอณาจักรชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า "เชียง" ที่แปลว่า "เมือง" และ "รุ่ง" ที่แปลว่า "รุ่งอรุณ" ว่า "เชียงรุ่ง" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส
เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง หากเทียบภาษา และสำเนียงไทลื้อแล้ว จะออกเสียงว่า เจงฮุ่ง ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งรุ่งอรุณ นอกจากนั้นยังมีความหมายอื่นๆด้วย
- ฮุง แปลว่า ตะไคร่น้ำ มีลักษณะสีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นตาน้ำ หรือบ่อน้ำตามริมห้วย
- ฮุ่ง แปลว่า ต้นละหุ่ง ผลของลูกละหุ่ง
- ฮุ้ง แปลว่า นกชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเดียวกับเหยี่ยว (ส่วนรุ้ง หรือ สายรุ้ง ที่เกิดบนฟ้านั้นชาวลื้อเรียกว่าแมงอี่ฮุม)
แต่ปัจจุบัน บางท่านก็จะเรียกว่าเชียงรุ่ง เพราะมันก็มีความหมายว่า เมืองที่รุ่งเรือง แต่อย่างไรก็ตาม เชียงรุ่ง เชียงรุ้ง หรือ เจียงฮุ่ง ก็มีความหมายเดียวกัน ตามแต่คนจะเรียก
-
- ภาษาลื้อไม่มีคำว่ารุ้ง การเรียกชื่อเมืองเชียงรุ้ง นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะภาษาลื้อ ออกเสียงว่า เจงฮุ่ง
หมวดหมู่: มณฑลยูนนาน | เชียง | ล้านนาไทย