365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ (Final Score) |
|
---|---|
กำกับ | โสรยา นาคะสุวรรณ |
อำนวยการสร้าง | จิระ มะลิกุล ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ยงยุทธ ทองกองทุน เช่นชนนี สุนทรศารทูล สุวิมล เตชะสุปินัน |
นักแสดงนำ | สุวิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์) วรภัทร จิตต์แก้ว (ลุง) กิตติพงศ์ วิจิตรจรัสสกุล (บิ๊กโชว์) สราวุฒิ ปัญญาธีระ (โบ๊ท) ชินดนัย ศิริสมฤทัย (ชิน) อัยย์ริน ตั้งพูลเจริญ (ลิงก์) |
เพลงประกอบ | หัวลำโพง ริดดิม |
กำกับภาพ | อนุรักษ์ คงคา |
ตัดต่อ | ชาติชาย เกษนัส สราณี วงศ์พันธ์ |
จัดจำหน่าย | จีทีเอช |
วันที่เข้าฉาย | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 |
ความยาว | 95 นาที |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb | |
ข้อมูลบนเว็บ สยามโซน |
365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ หรือ Final Score เป็นภาพยนตร์สารคดี เรื่องราวการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 คน ในช่วงปีการศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่ใช้การสอบแอดมิดชันส์ แทนการสอบเอ็นทรานซ์
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย โสรยา นาคะสุวรรณ เกิดจากแนวคิดของ จิระ มะลิกุล ผู้อำนวยการสร้าง ที่จะนำเสนอชีวิตของเด็กวัยรุ่นไทยที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย ตามความเป็นจริง ในรูปแบบเรียลลิตี้โชว์ โดยใช้ทีมงานจำนวน 6 คน ประกอบด้วยผู้กำกับ ช่างกล้อง ช่างเสียง ผู้จัดการกองถ่าย ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย และคนขับรถ เฝ้าติดตามถ่ายนักแสดงนำทั้ง 4 คน เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่มีบท และไม่มีใครทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นจึงนำฟุตเตจทั้งหมด มาตัดต่อเป็นภาพยนตร์
การถ่ายทำส่วนใหญ่ ถ่ายทำที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งนักแสดงนำทั้ง 4 คนเรียนอยู่ และที่บ้านของนักแสดง โดยช่างกล้องและช่างเสียง ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตลอด 1 ปี
สารบัญ |
[แก้] ทีมงาน
- กำกับการแสดง : แอน - โสรยา นาคะสุวรรณ
- กำกับภาพ : หมู - อนุรักษ์ คงคา
- ผู้จัดการกองถ่าย : ลูกปัด - กันยรัตน์ พุทธศาสน์
- ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย : ผิง - ปาณยา ฉมาพร
- บันทึกเสียง : กบ - เฉลิมชัย จั่นโต
- คนขับรถ : ต้อย - ยุทธศิลป์ พวงพุฒิ
- ลำดับภาพ : โบว์ - สราณี วงศ์พันธ์ / แน็ต - ชาติชาย เกษนัส
[แก้] เพลงประกอบภาพยนตร์
ประกอบด้วยเพลงจาก โมเดิร์นด็อก, พรู และ Buddhist Holiday ซึ่งใช้เป็นเพลงเด่นประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ร่วมด้วยอีกเพลงดังจากศิลปินชั้นนำอย่าง บอย โกสิยพงษ์, ฟลัวร์, สครับ, สล็อต แมชชีน, พอส โดยจะออกวางขายวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
[แก้] เกร็ด
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฟุตเตจมีความยาวกว่า 300 ชั่วโมง นำมาตัดต่อเหลือ 95 นาที มีภาพยนตร์ที่ตัดต่อขั้นสุดท้าย 12 เวอร์ชัน
- ก่อนหน้านี้ เคยมีภาพยนตร์สารคดีในลักษณะนี้มาแล้ว คือเรื่อง เสือร้องไห้ (2548) และ เด็กโต๋ (2548) ได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้
- ทีมงานคัดเลือกนักแสดงนำ โดยคัดเลือกวัยรุ่นจากที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนกวดวิชา ย่านสยามสแควร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์และทดลองถ่ายทำเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อดูความน่าสนใจ จนได้นักแสดงนำคือ เปอร์ และเพื่อนร่วมห้องที่โรงเรียน