ขอบเขตเชอร์นอฟ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ขอบเขตเชอร์นอฟ เป็นกลุ่มของข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ให้ขอบเขตบนของส่วนปลายของการกระจายความน่าจะเป็น ชื่อของอสมการนั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เฮอร์แมน เชอร์นอฟ นักคณิตศาสตร์ สถิติ และฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ขอบเขตเชอร์นอฟใช้ข้อมูลจากโมเมนต์ทั้งหมดของตัวแปรสุ่ม ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วจึงให้ขอบเขตที่กระชับกว่าอสมการของมาร์คอฟ (ในรูปพื้นฐาน) และอสมการของเชบิเชฟมาก
สารบัญ |
[แก้] รูปทั่วไป
ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มใดๆ แล้ว
โดยที่
- คือ ฟังก์ชันกำเนิดโมเมนต์ (moment generating function)
[แก้] การพิสูจน์
สำหรับค่าคงที่บวก ใดๆ เป็นฟังก์ชันเพิ่มที่มีค่าบวกเสมอ ดังนั้น ก็ต่อเมื่อ
เมื่อมอง เป็นตัวแปรสุ่มและใช้อสมการของมาร์คอฟ เราได้ว่า
เนื่องจากข้อความข้างต้นเป็นจริงสำหรับทุกๆ จำนวนจริงบวก มันจึงเป็นจริงสำหรับ ที่ทำให้ มีค่าต่ำสุดด้วย เพราะฉะนั้น
ตามต้องการ
[แก้] ขอบเขตเชอร์นอฟของการทดลองแบบปัวซอง
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการหาขอบเขตเชอร์นอฟในกรณีที่ที่ตัวแปรสุ่มอันเป็นผลบวกของการทดลองแบบปัวซองซึ่งเป็นอิสระแก่กัน กรณีพิเศษของขอบเขตเชอร์นอฟแบบนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์อัลกอริทึมแบบสุ่ม โดยเฉพาะในการพิสูจน์ว่าอัลกอริทึมแบบสุ่มหนึ่งๆ จะทำงานได้ดีด้วยความน่าจะเป็นสูง สาเหตุที่ขอบเขตเชอร์นอฟเป็นเทคนิคที่เหมาะสมต่อการวิเคราะห์อัลกอริทึมแบบสุ่มนั้น อาจเพราะว่า โดยทั่วไปเราสามารถมองอัลกอริทึมแบบสุ่มว่า เป็นอัลกอริทึมที่ใช้การโยนเหรียญที่เป็นอิสระต่อกันหลาย ๆ ครั้งในการตัดสินใจ
ขอบเขตของเชอร์นอฟในกรณีนี้นั้นไม่สมมาตร ดังนั้นในการใช้งานจะมีขอบเขตทั้งของ ส่วนปลายด้านบน ซึ่งจะใช้สำหรับกรณีที่ต้องการหาขอบเขตบนในกรณีที่ตัวแปรสุ่มมีค่ามากกว่าค่าคาดหมาย และ ส่วนปลายด้านล่าง ในกรณีที่พิจารณาเหตุการณ์ที่ตัวแปรสุ่มมีค่าน้อยกว่าค่าคาดหมาย
[แก้] ใจความ
ให้ เป็นจำนวนเต็มบวก และ สำหรับจำนวน เป็นการทดลองแบบปัวซองที่เป็นอิสระแก่กันโดยที่ และ กำหนด และให้ และ เป็นจำนวนจริงใดๆ ที่มีค่ามากกว่า 0 แล้ว:
1. (ส่วนปลายด้านบน)
2. (ส่วนปลายด้านล่าง) เมื่อ
[แก้] การพิสูจน์
เราเริ่มจากการพิสูจน์ส่วนปลายด้านบน จากรูปทั่วไป
พิจารณา เราได้ว่า เนื่องจากตัวแปรสุ่ม , , , เป็นอิสระแก่กัน เราได้ว่า
เพราะว่า สำหรับจำนวนจริงบวก ทุกจำนวน เราได้ว่า
เนื่องจาก ดังนั้น
กำหนดฟังก์ชัน เราได้ว่า และ
สมมติให้ เราได้ว่า และ เพราะฉะนั้น จึงมีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ เราจึงได้ว่า
ตามต้องการ
สำหรับส่วนปลายด้านล่างนั้น เราเริ่มจากสังเกตว่า ก็ต่อเมื่อ เมื่อใช้รูปทั่วไปของขอบเขตเชอร์นอฟ ได้ว่า
เมื่อใช้การให้เหตุผลแบบเดียวกับการพิสูจน์ส่วนปลายด้านบน เราได้ว่า
ค่าต่ำสุดของฟังก์ชันทางด้านขวามือของอสมการอยู่ที่ ฉะนั้น
ตามต้องการ
[แก้] รูปแบบอื่น ๆ
รูปแบบทั้งสองข้างต้นเป็นรูปแบบที่ให้ขอบเขตที่แน่นที่สุดของขอบเขตเชอร์นอฟ อย่างไรก็ตาม รูปแบบทั้งสามแบบด้านล่างที่อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม มักนำไปใช้ได้สะดวกกว่า
1. (ส่วนปลายด้านบน) ถ้า
และ สำหรับ
2. (ส่วนปลายด้านล่าง) ถ้า