คณะองคมนตรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะองคมนตรี (Privy Council) คือ บุคคลที่มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ คำนี้กำเนิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) และองคมนตรีสภา (Privy Council) ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 จึงมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกันโดยกำหนดให้มี "คณะอภิรัฐมนตรี" ทำหน้าที่นี้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะองคมนตรี" ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และใช้มาตราบจนถึงปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน ความเห็นที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์ต้องเป็นพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษาเท่านั้น การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
คณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง ด้านถนนสนามไชย
สารบัญ |
[แก้] รายนามองคมนตรี (16 มีนาคม 2548)

แถวยืน ๑. นายศักดา โมกขมรรคกุล ๒. หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล ๓. นายจำรัส เขมะจารุ ๔. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ๕. นายพลากร สุวรรณรัฐ ๖. นายอำพล เสนาณรงค์ ๗. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ๘. นายเกษม วัฒนชัย
แถวนั่ง ๑. หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ๒. พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ ๓. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ๔. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ๕. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ๖. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๗. พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ๘. นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ๙. พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์
- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)
- นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์
- นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
- พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช
- พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์
- พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
- พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์
- นายอำพล เสนาณรงค์
- นายจำรัส เขมะจารุ
- หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
- นายศักดา โมกขมรรคกุล
- นายพลากร สุวรรณรัฐ
- นายเกษม วัฒนชัย
- นายสวัสดิ์ วัฒนายากร
- นายสันติ ทักราล (ยังไม่มีในรูปภาพ)
- พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ (ยังไม่มีในรูปภาพ)

๑. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ๒. พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ๓. นายพลากร สุวรรณรัฐ ๔. นายจำรัส เขมะจารุ ๕. เรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ๖. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๗. นายเกษม วัฒนชัย ๘. นายอำพล เสนาณรงค์ ๙. พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ ๑๐. พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ ๑๑. นายศักดา โมกขมรรคกุล ๑๒. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
[แก้] รายนามองคมนตรีในอดีต
![]() |
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (หม่อมเจ้าอลงกฎ ศุขสวัสดิ)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์)
- พระยาไมตรีวิรัชกฤตย์ (พุ่ม บุนนาค) (17 ตุลาคม 2404 - 2479)
- พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (6 กุมภาพันธ 2420 - 7 กรกฎาคม 2494)
- พลเอกอดุล อดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน 2437 - 17 ธันวาคม 2512)
- พลตำรวจเอกอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร
- นายจิตติ ติงศภัทิย์ (2451 - 2538)
- นายศรีเสนา สมบัติศิริ
- นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
- นายประกอบ หุตตะสิงห์
- หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
- นายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
- นายสัญญา ธรรมศักดิ์
- หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน 2473 - 5 พฤษภาคม 2547)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] อ้างอิง
- ธงทอง จันทรางศุ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) พระมหากษัตริย์, สถาบันพระปกเกล้า, พ.ศ. 2544, หน้า 13-17