ทฤษฎีบทของคันทอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทฤษฎีบทของคันทอร์ (Cantor's theorem) กล่าวว่า เซตกำลัง (power set) (เซตของเซตย่อยทั้งหมด) ของเซตใดๆ จะมี จำนวนเชิงการนับ (cardinal number) มากกว่าจำนวนเชิงการนับของเซตนั้น. ทฤษฎีบทของคันทอร์นั้นเป็นที่ประจักษ์สำหรับเซตจำกัดอยู่แล้ว และยังเป็นจริงสำหรับเซตอนันต์ด้วย ซึ่งเซตกำลังของเซตอนันต์นับได้นั้น จะเป็นเซตอนันต์นับไม่ได้
[แก้] การพิสูจน์
ให้ f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไปยังเซตกำลังของ A. จะต้องแสดงให้เห็นว่า f ไม่เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง ในการทำเช่นนี้ จะต้องบอกว่ามีเซตย่อยของ A บางเซตที่ไม่อยู่ในภาพ (image) ของ f. ซึ่งเซตย่อยนั้นก็คือ
เพื่อแสดงให้เห็นว่า B ไม่อยู่ในภาพของ f, เราจะสมมติให้ B อยู่ในภาพของ f. ดังนั้น จะมี y ∈ A ซึ่ง f(y) = B พิจารณาว่า y ∈ B หรือไม่. ถ้า y ∈ B แล้ว y ∈ f(y), ซึ่งจะทำให้ขัดกับนิยามของ B ที่ว่า y ∉ B. ในทางกลับกัน, ถ้า y ∉ B แล้ว y ∉ f(y) จะได้ y ∈ B. เกิดข้อขัดแย้ง
จากการที่ x ปรากฏในนิพจน์ "x ∉ f(x)" ถึงสองครั้ง เราจึงเรียกวิธีการนี้ว่าเป็นวิธีแนวทแยง (diagonal argument)
ทฤษฎีบทของคันทอร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฎีบทของคันทอร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |