New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ - วิกิพีเดีย

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์
London Heathrow Airport
{{{caption}}}
IATA: LHR - ICAO: EGLL
รายละเอียด
ชนิด สนามบินพาณิชย์
จัดการโดย BAA limited
เมืองใกล้เคียง ลอนดอน
สูงจาก
ระดับน้ำทะเล
25 (83 ฟุต)
พิกัด 51°28′39″N, 000°27′41″W
รันเวย์
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
09L/27R
09R/27L
3,901
3,660
12,799
12,008
ลาดยาง
ลาดยาง

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport) หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของประเทศสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในกรณีของจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในกรณีของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฮิลลิงดอน ห่างจากตัวเมืองของกรุงลอนดอนประมาณ 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) เป็นหนึ่งในสามของท่าอากาศยานที่อยู่ในเขตของกรุงลอนดอนและปริมณฑล อีกสองแห่งก็คือ ท่าอากาศยานลอนดอนซิตตี้ และท่าอากาศยานลอนดอนบิ๊กกิงฮิล

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์มีทางวิ่งขนานกัน 2 ทางวิ่ง ตามแนวทิศตัวออกและทิศตะวันตก และ มีอาคารผู้โดยสาร 4 อาคาร โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง และยังมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกใหม่ รวมทั้งเพิ่มทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นทางด้วย

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

ฮีทโธรว์ เมื่อปีพ.ศ. 2503
ฮีทโธรว์ เมื่อปีพ.ศ. 2503

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เริ่มให้บริการช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) ดำเนินการโดย Fairey Aviation ใช้สำหรับการผลิตและทดสอบการบินเป็นหลัก ชื่อของท่าอากศยานตั้งตามชื่อของหมู่บ้าน Heath row ที่ถูกทำลายไปจากการสร้างสนามบิน ซึ่งประมาณการว่าอยู่บริเวณที่อาคารผู้โดยสาร 3 ตั้งอยู่ในปัจจุบัน โดยในช่วงแรกยังไม่เปิดบริการแก่เที่ยวบินพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีท่าอากาศยานยานโครยดอน เป็นท่าอากศยานหลัก

ฮีทโธรว์เปิดให้บริการการบินพาณิชย์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีทางวิ่ง 3 ทางวิ่ง พร้อมกับอีก 3 ทางวิ่งที่กำลังก่อสร้างตามแผนแม่บทดั้งเดิม ซึ่งใช้รองรับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์พิสตัน ที่ต้องการระยะทางวิ่งสั้นในการขึ้น-ลงจอด และสามารถขึ้น-ลงจอดในทุกสภาพของทิศทางลม ทางวิ่งผิวคอนกรีตอย่างรูปแบบในปัจจุบันเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2496 โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่ 2 และพระองค์ยังเสด็จมาเปิดอาคารผู้โดยสารหลังแรก อาคารยูโรปา (หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า อาคารผู้โดยสาร 2) ในปี พ.ศ. 2498 และหลังจากนั้นไม่นานนัก อาคารโอเชียนิก (อาคารผู้โดยสาร 3) ก็เปิดให้บริการ ส่วนอาคารผู้โดยสาร 1 เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาคารเต็มพื้นที่จุดศูนย์ของท่าอากาศยาน และเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวในอนาคต

ที่ตั้งของท่าอากาศยานซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงลอนดอนเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากทิศทางของกระแสลม ทำให้หลายๆสายการบินจะต้องบินเลียดต่ำผ่านตัวเมืองเป็นช่วงเวลาทั้ง ร้อยละ 80 ของปี ในขณะที่ท่าอากาศยานสำคัญของประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรป มักจะตั้งอยู่ทางเหนือหรือใต้ของตัวเมือง ทำให้ประสบปัญหาน้อยกว่า ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ท่าอากาศยานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 25 เมตร (83 ฟุต) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหมอกอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2520 รถไฟใต้ดินเมืองลอนดอนให้ขยายเส้นทางมาถึงฮีทโธรว์ เชื่อมต่อการเดินทางจากใจกลางกรุงลอนดอนกับท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร 4 สร้างห่างออกจาก 3 อาคารผู้โดยสารแรกลงมาทางใต้ และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นอาคารให้บริการหลักของสายการบินบริติชแอร์เวย์

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ การท่าอากาศยานอังกฤษ (British Airports Authority) มาเป็นบริษัทเอกชน BAA ซึ่งบริหารงานท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานอื่นๆในสหราชอาณาจักรอีก 6 แห่ง

[แก้] การก่อวินาศกรรม

  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 กลุ่ม IRA ให้วางระเบิดบริเวณลานจอดรถอาคารผู้โดยสาร 1 มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2529 พบระเบิด semtex ในถุงของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ชาวไอริช กำลังพยายามจะนำขึ้นเครื่องของสายการบินเอลอัล โดยระเบิดถูกส่งมอบมาจากแฟนหนุ่มชาวจอร์แดน ผู้ซึ่งเป็นพ่อของเด็กในท้อง
  • พ.ศ. 2537 ฮีทโธรว์ตกเป็นเป้าหมาย 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 วัน (8 มีนาคม, 10 มีนาคม และ 13 มีนาคม) โดยกลุ่ม IRA เนื่องจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์เป็นเป้าหมายสำคัญในการทำลายเศรษฐกิจของอังกฤษ ทำให้ต้องหยุดทำการท่าอากาศยานไปหลายวัน และการคุ้มกันมีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะว่าสมเด็จพระราชินีนาถจะเดินทางกลับในวันที่ 10 มีนาคม พอดี
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กองทัพบกอังกฤษ 1000 นาย เข้าตึงกำลังภายในฮีทโธรว์ เนื่องหน่ยวข่าวกรองรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะ อาจจะส่งจรวดระบิดโจมตีเครื่องบินของสายการบินสัญชาติอังกฤษหรืออเมริกัน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงได้ประกาศใช้มาตรการความปลอดภัยใหม่ มีผลบัลคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานประเทศสหราชอาณาจักร
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ประกาศปรับแผนการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป็องกันการโจมตีเที่ยวบินที่บินข้ามมหาสมุทรของกลุ่มอัลกออิดะ โดยกฎใหม่มีผลบังคับใช้ทันที และทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่สะดวกสบายต่อผู้โดยสาร ซึ่งมาตรการเหล่านี้รวมถึงข้อห้ามการนำกระเป๋าขึ้นเครื่องโดยสาร ยกเว้นสิ่งของสำคัญเช่น เอกสารเดินทาง และอุปกรณ์หรือยารักษาโรค โดยของที่เป็นของเหลวทุกชนิดจะต้องทดสอบโดยผู้โดยสารคนนั้นที่จุดตรวจ ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้มีการข้อผ่อนปรนสำหรับกรณียารักษาโรค และนมเด็ก
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้ออกมาตรการใหม่ ให้บังคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานของประเทศสหราชอาณาจักร [1] โดยอนุญาตให้ของเหลวบางชนิดที่กำหนดไว้สามารถผ่านจุดตรวจเข้าไปได้ ส่วนของเหลวชนิดอื่นๆมีการกำหนดปริมาณที่สามารถนำขึ้นเครื่องโดยสารได้

[แก้] อุบัติเหตุ

  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 Sabena Douglas DC3 Dakota ตกจากเพราะสภาพอากาศที่เป็นหมอก ลูกเรือ 3 คน และผู้โดยสารอีก 19 จาก 22 คน เสียชีวิต
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เครื่องบินทิ้งระเบิด XA897 Avro Vulcan ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ตกที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ หลังจากพยายามจะนำเครื่องขึ้นในสภาพทัศนวิสัยไม่ดี เดิมทีเครื่องบินลำนี้จะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกำลังกลับจากการบินสาธิตจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินดีดตัวออกมาได้ทัน แต่นักบินอีก 4 คน เสียชีวิต
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2508 Vickers Vanguard G-APEE ของ British European Airway (BEA) บินมาจากอดินเบิร์ก ขณะที่กำลังลงจอดโดยสภาพทัศนวิสัยไม่ดี พุ่งชนกับทางวิ่ง 28R ลูกเรือ 6 คน และผู้โดยสารทั้งหมด 30 คน เสียชีวิต
  • 8 เมษายน 2511เครื่องบินโบอิง 707 G-ARWE ของ BOAC เดินทางไปออสเตรเลีย โดยแวะผ่านสิงคโปร์ เครื่อยนต์เกิดลุกไหม้หลังจากนำเครื่องขึ้น เครื่องยนต์หลุดออกจากตัวเครื่องบริเวณใกล้กับอ่างเก็บน้ำ Queen Mother ที่ Datchet แต่นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินได้ ตัวเครื่องบินลุกไหม้ทั้งลำ มีลูกเรือ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต ที่เหลืออีก 122 คน รอดชีวิต
  • 3 กรกฎาคม 2511 Airspeed Ambassador G-AMAD ของ BKS Air Transport ปีกเครื่องบินกระแทกกับพื้นขณะลงจอด ทำให้เครื่องบินตกลงบนพื้นหญ้าและไถลไปทางอาคารผู้โดยสาร ชนเข้ากับเครื่องบิน Hawker Siddeley Trident 2 ลำ ของ BEA จนระเบิดลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิต 6 คน และม้าที่บรรทุกมาอีก 8 ตัว
  • 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เครื่องบินHawker Siddeley Trident ของ BEA เที่ยวบิน 548 บินจากฮีทโธรว์ไปยังกรุงบลัสเซลส์ ตกลงใกล้กับ Staines ผู้โดยสาร 109 คน และ ลูกเรือ 9 คน ทั้งหมดเสียชีวิต

[แก้] ฮีทโธรว์ในวันนี้

ในปัจจุบันท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ มีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 4 อาคาร (โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง) อาคารคลังสินค้า 1 อาคาร เดิมทีนั้นฮีทโธรว์จะมีทางวิ่งทั้งหมด 6 เส้นทาง เป็นทางขนานกัน 3 คู่ วางตามแนวทิศทางที่ต่างกัน แต่เนื่องจากความต้องการระยะทางวิ่งที่เพิ่มมากขึ้น ฮีทโธรว์จึงเหลือทางวิ่งเพียงสองเส้น ตั้งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ความยาว 3,901 และ 3,660 เมตร ทั้งนี้ได้มีการศึกษาให้สร้างทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นขนานไปกับทางวิ่งเดิม เพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นในอนาคต

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์บริหารโดย BAA มาช้านาน ซึ่งในปัจจุบัน BAA เป็นของบริษัทสัญชาติสเปน Ferrovial Group (Grupo Ferrovial)

รัฐบาลได้ออกข้อบังคับสำหรับเที่ยวบินช่วงเวลากลางคืน ให้ใช้เครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ที่มีเสียงเงียบตามข้อกำหนด แต่อาจจะถูกระงับการบินได้ตลอดช่วงเวลากลางคืน หากว่ารัฐบาลไม่รู้สึกพอใจคำตัดสินจาก European Court of Human Rights

เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ค่าธรรมเนียมลงจอดของสายการบินที่ BAA จะได้รับ กำหนดโดยกรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร (Inited Kingdom Civil Aviation Authority) จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดต่อผู้โดยสารหนึ่งคน เพิ่มขึ้นในอัตราเงินเฟ้อลบ 3% ทำให้ต้นทุนในการลงจอดจะลดลงในเชิงราคาสัมบูรณ์ โดยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 ปอนด์ ซึ่งใกล้เคียงกับของท่าอากาศยานแก็ตริคและท่าอากาศยานสแตนสเต็ด แต่เพื่อสะท้อนภาพความเป็นศูนย์กลางการบินที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรจึงอนุญาตให้ BAA เพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดที่อัตราเงินเฟ้อบวก 6.5% ต่อปี สำหรับช่วงห้าปีแรก และเมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 แล้วเสร็จ ก็คาดว่าจะเพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดเป็น 8.63 ปอนด์ ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน

ถึงแม้ว่าค่าธณรมเนียมลงจอดจะกำหนดโดย กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร และ BAA ก็ตาม แต่การเก็บค่าธรรมเนียมลงจอดที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะจัดเก็บโดย หน่วยงานเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร Airport Co-ordination Limited (ACL) ซึ่งกำกับโดยกฎหมายอังกฤษและสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของ IATA เงินทุนของ ACL มาจาก 10 สายการบินสัญชาติอังกฤษ บริษัทท่องเที่ยง และ BAA

นอกจากนี้ กาารจราจรทางอากาศระหว่างฮีทโธรว์และสหรัฐอมเริกาจะควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศตามกฎบัตรเบอร์มิวด้าที่ 2 ในแรกเริ่มนั้นจะอนุญาตให้เฉพาะสายการบินบริติชแอร์เวย์ แพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ ที่สามารถบินออกจากฮีทโธรว์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ จนในปี พ.ศ. 2534 สายการบินแพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ขายสิทธิ์การบินให้กับ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กับ อเมริกันแอร์ไลน์ ตามลำดับ ส่วนสายการบินเวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์ไลน์ ได้รับสิทธิการบินภายหลัง กฎบัตรเบอร์มิวด้านี้ไปขัดกับข้อตกลงเรื่องสิทธิการแข่งขันของสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงถูกสั่งให้ระงับกฎบัตรนี้ในปี พ.ศ. 2547

ท่าอากาศยานฮีโธรว์จะสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ได้ที่อาคารผู้โดยสาร 5 และที่ท่าจอด 6 ของอาคารผู้โดยสาร 3 โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จะให้บริการที่ฮีทโธรว์เป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามได้มีการทดสอบเครื่องเอ380 ที่ฮีทโธรว์แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [2]

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ถูกจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานที่แย่ที่สุด ในการจัดการสำรวจของ TripAdvisor จากผู้ตอบในสอบถามกว่า 4,000 คน [3]

[แก้] อนาคตของฮีทโธรว์

[แก้] อาคารผู้โดยสาร 5

เมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Stephen Byers ออกแถลงการว่ารัฐบาลอังกฤษลงมติอนุญาตให้สร้างอาคารผู้Fดยสารหลังที่ 5 ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ได้ โดยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะสร้างอยู่ภายในบริเวณที่ดินของท่าอากาศยาน ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีกำหนดการว่าจะเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551 เวลา 04:00 ตามเวลาท้องถิ่น และคาดว่าจะเปิดใช้เต็มประสิทธิภาพได้ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 90 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่ 68 ล้านคนต่อปี

โดยอาคารหลังใหม่มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านปอนด์ และจะมีพนักงานเพิ่นขึ้นอีกประมาณ 20,000 คน ทั้งนี้ยังจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระยะไกลอีกสองอาคาร ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 จากทางใต้ดิน และยังมีการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินให้เชื่อต่อจนถึงอาคารหลังใหม่ รวมถึงการต่อเส้นทางจากทางหลวง M25 เข้าเชื่อมกับอาคาร

อาคารผู้โดยสารหลังนี้ออกแบบโดย Richard Rogers Partnership โดยอาคารหลัก (คอนคอร์ด เอ) จะมี 4 ชั้น อยู่ภายใต้โครงสร้างหลังคาเดียวกัน ซึ่งจะรองรับจำนวนผู้โดยสารถึง 30 ล้านคนต่อปี และจะเป็นอาคารหลักที่บริติชแอร์เวย์ จะย้ายเที่ยวบินทั้งหมดมายังอาคารนี้ ยกเว้นเพียงเส้นทางที่ไป/มาจาก สเปน, ออสเตรเลีย และอิตาลี จากข้อมูลของ BAA นอกจากอาคารหลักแล้ว อาคารผู้โดยสาร 5 จะมีอาคารระยะไกลอีก 2 อาคาร (อาคารที่ 2 จะสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554) จะมีหลุดจอดทั้งหมด 60 หลุดจอด รวมทั้งหอบังคับการบินหลังใหม่ อาคารจอดรถ ความจุ 4,000 คัน โรงแรมขนาด 600 เตียง และการขยายการคมนาคมให้เข้าถึงตัวอาคารผู้โดยสารหลังใหม่

อาคารผู้โดยสาร 5 จะเตรียมหลุดสำหรับ เครื่องบินแอบัส เอ380 ไว้ที่อาคารระยะไกลหลังแรก (คอนคอร์ส บี)

[แก้] ทางวิ่งเส้นที่ 3

เครื่องบินที่กำลังรอจะนำเครื่องขึ้น
เครื่องบินที่กำลังรอจะนำเครื่องขึ้น

สายการบินใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริติชแอร์เวย์ ได้เรียกร้องให้มีการสร้างทางวิ่งที่ 3 ขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานอาคารผู้โดยสาร 5 โดยในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 Transport Secretary Alistair Darling ได้ออกหนังสือปกขาว http://www.dft.gov.uk/aviation/whitepaper ((อังกฤษ)) รายงานการวิเคราะห์อนาคตการบินของสหราชอาณาจักร ประเด็นของรายงานชุดนี้คือควรจะมีการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2563 และให้ข้อมูลทางด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสูญเสียโบสถ์เก่าแก่ด้วย

ทั้งนี้มีการเสนอให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 6 เพื่อขยายขีดความสามารถจากการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารได้ 115 ล้านคนต่อปี แต่ในส่วนนี้ ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าควรจะสร้างที่ใด และเมื่อไหร่

[แก้] ปรับเปลี่ยนการขึ้น-ลง

มีการเสนอให้จัดระบบแบบผสม ที่สามารถให้เครื่องบินขึ้นและลงจอดได้บนทางวิ่งเดียวกัน ซึ่งในทางทฤษฎีจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจาก 480,000 เที่ยวบินต่อปี ในปัจจุบัน เป็น 550,000 เที่ยวบินต่อปี ได้ [4]

[แก้] อาคารผู้โดยสารตะวันออก

BAA ได้ออกแถลงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่าอาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดลงทันทีที่อาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งาน เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงกลุ่มอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก (Heathrow East scheme) จากโครงการนี้จะทำให้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ อาคาร Queen ถูกแทนที่ด้วยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี โครงการนี้มีกำหนดการเริ่มในปี พ.ศ. 2551 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 ปีเดียวกันกับที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ BAA ยังคงรอการอนุมัติที่จะเริ่มโครงการ แต่ก็มีการยืนยันแล้วว่า อาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดตัวลงอย่างแน่นอนไม่ว่าโครงการนี้จะได้ดำเนินการหรือไม่ [5] ((อังกฤษ))

[แก้] ปรับเปลี่ยนการจัดการอาคารผู้โดยสาร

เมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2551 อาคารผู้โดยสารจะเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาคารผู้โดยสารใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการกับการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร โดย:

  • อาคารผู้โดยสาร 1 - กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์
  • อาคารผู้โดยสาร 3 - กลุ่มวันเวิลด์ ยกเว้นบริติชแอร์เวย์ (สเปน ออสเตรเลีย และอิตาลี) จะอยู่อาคารนี้จนกว่าอาคารระยะไกลที่ 2 จะแล้วเสร็จ
  • อาคารผู้โดยสาร 4 - กลุ่มสกายทีม และสายการบินที่ไม่ได้เข้าร่วมพันธมิตรสายการบินใดๆ
  • อาคารผู้โดยสาร 5 - บริติช แอร์เวย์

[แก้] ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 BAA ได้ออกประกาศว่าจะปรับเปลี่ยนอาคารผู้โดยสาร 3 เพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะแล้วเสร็จสิ้นปี พ.ศ. 2550

[แก้] สายการบิน

[แก้] อาคารผู้โดยสาร 1

  • เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ (เคปทาวน์, โจฮันเนสเบิร์ก)
  • ไซปรัสแอร์เวย์ (ปาโพส, ลาร์นาคา)
  • ทรานแอโร (มอสโก-โมโมเดโดโว)
  • บริติช แอร์เวย์ (กลาสโกลว, เคียฟ-โบริสปิล, โจฮันเนสเบิร์ก, ซานฟรานซิสโก, เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก, โซเฟีย, ดึสเซลดอร์ฟ, โตเกียว-นาริตะ, ทริโปลิ, นิวคาสเซิล, นิส, บาร์เซโลนา, บูคาเรส-โอโตเพนี, บูดาเปสต์, เบอร์ลิน-เทเกล, ปราก, แฟรงค์เฟิร์ต, มอสโคว-โมโมเดโดโว, มาดริด, มิลาน-มัลเปนซา, มิลาน-ลีนาเต, มิวนิค, แมนเชสเตอร์, โรม-ฟีอูมีชีโน, ลอสเองเจลิส, ลาร์นาคา, ลิสบอน, วอร์ซอว์, สตอกโฮล์ม-อาร์ลานดา, สตุทการ์ต, อดินเบิร์ก, อเบอร์ดีน, เอเธนส์, ฮ่องกง, อิสตันบูล-อาตาตุร์ก, เฮลซิงกิ, แฮมเบิร์ก)
    • บริติช แอร์เวย์ ที่ดำเนินการโดย จีบีแอร์เวย์ (คาซาบลังคา, มาร์ราเคค, มาลัคกา, เฟซ)
    • บริติช แอร์เวย์ ที่ดำเนินการโดย บีเอ็มอีดี (การ์ทูม, ดาการ์, ดามัสคัส, เตหราน, ทะบิริส, บากู, บิชเคก, เบรุต, ฟรีทาวน์, เยเรแวน, อเล็กซานเดรีย, อเลปโป, อัมมาน, อัลมาตี, เอกาเตรินเบิร์ก, แองการา, แอดดิสอาบาบา) [จะสิ้นสุดการให้บริการเมื่อ บีเอ็มไอ เข้าซื้อกิจการของ บีเอ็มอีดี]
  • บีเอ็มไอ (กลาสโกว์, เจดดาห์, ดอร์แฮม ทีร์ วัลเลย์, ดับลิน, เนเปิลส์, บรัสเซลส์, เบลฟาส์ทซิตี, ปาล์มา เดอ มอลลอร์คา, มอสโค-โดโมเดโดโว, แมนเชสเตอร์, ริยาดห์, ลีดส์/แบรดฟอร์ด, ลียง, เวนิส, อดินเบิร์ก, อเบอร์ดีน, อัมสเตอร์ดัม, อินเวิร์นเนส, ฮันโอเวอร์)
  • ฟินน์แอร์ (เฮลซิงกิ)
  • โลท์ โปลิชแอร์เวย์ (วอร์ซอ)
  • เอลอัล (เทลอาวีฟ, โอวดา)
  • แอร์ทรานซิท (โทรอนโต-เพียร์ซัน) เริ่ม 5 พฤษภาคม
  • แอร์ลินกัส (คอร์ก, แชนนอน, ดับลิน)

[แก้] อาคารผู้โดยสาร 2

  • คลิกแอร์ (ลา โครูญา, วาเลนเซีย)
  • โครเอเชียแอร์ไลน์ (ซาการ์ป, สปริต)
  • แจตแอร์เวย์ (เบลเกรด)
  • เชคแอร์ไลน์ (ปราก)
  • ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง)
  • ซีเรียนอาหรับแอร์ไลน์ (ดามาสคัส)
  • ซูดานแอร์เวย์ (คาร์ทูม)
  • ตูนิสแอร์ (ตูนิส)
  • ทาโรม (บูคาเรสท์-โอโตเพนิ)
  • ทีเอพี โปรโตกัล (ปอร์โต, ฟังคัล, แฟโร, ลิสบอน)
  • เบลวิวแอร์ไลน์ (ฟรีทาวน์, ลากอส)
  • พูลโคโว เอวิเอชั่น เอนเตอร์ไพรซ์ (เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก)
  • ยูเครนอินเตอร์เนขั่นแนลแอร์ไลน์ (เคียฟ-โบริสปิล)
  • เยเมนเนีย (ซานา)
  • รอยัลแอร์โมร็อค (คาซาบลังคา, แทงเจียร์, มาร์ราเคก)
  • ลักซ์แอร์ (ลักแซมเบิร์ก)
  • ลิเบียนแอร์เวย์ (ทริโปลิ)
  • ลุฟต์ฮันซา (โคโลญ/โบนน์, ดึสเซลดอร์ฟ, แฟรงค์เฟิร์ต, มิวนิก, ชตุทท์การ์ท, ฮัมบูร์ก)
  • สวิตอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (ซูริค)
  • ออสเตรียนแอร์ไลน์ (เวียนนา)
  • อัลอิตาเลีย (มิลาน-มัลเปนซา, มิลาน-ลีนาเต, โรม-ฟีอูมีชีโน)
    • อัลอิตาเลีย เอ็กซ์เพรส (มิลาน-ลีนาเต)
  • อาเซอร์ไบยันแอร์ไลน์ (บากู)
  • อุสเบกิสถานแอร์เวย์ (ทาชเคนท์)
  • เอวิอองคา (โบโกตา) (เริ่มให้บริการ 2551)
  • แอร์เซย์เซลล์ (เซย์เซลล์)
  • แอร์ฟรานซ์ (ปารีส-ชาลส์ เดอ โกล)
  • แอร์ทรานแซท (โทรอนโต-เพียร์สัน)
  • แอร์อัลเจรี (อัลเจียร์)
  • แอร์อัสตานา (อัลมาตี)
  • แอโรฟลอต (มอสโค-เชเรเมเตียโว)
  • โอลิมปิกแอร์ไลน์ (เอเธนส์)
  • ไอซ์แลนด์แอร์ (เรจาวิค-เคฟลาวิค)
  • ไอบีเรีย (บิลบาว, บาร์เซโลนา, มาดริด, วาเลนเซีย)
  • เฮมุสแอร์ (โซเฟีย)

[แก้] อาคารผู้โดยสาร 3

อาคารผู้โดยสาร 3
อาคารผู้โดยสาร 3
  • กัลฟ์แอร์ (บาห์เรน, มัสคัท)
  • กาตาร์แอร์เวย์ (โดฮา)
  • การบินไทย (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ)
  • คาเธย์แปซิฟิก (ฮ่องกง)
  • คูเวตแอร์เวย์ (คูเวต, นิวยอร์ก-เจเอฟเค)
  • โคเรียนแอร์ (โซล-อินชอน)
  • เจ็ตแอร์เวย์ (เดลลี, มุมไบ, อาเมดาบัด, แอมริซาร์)
  • เจแปนแอร์ไลน์ (โตเกียว-นาริตะ, โอซะกะ-คันไซ)
  • ซาอุดิอาราเบียนแอร์ไลน์ (เจดดาห์, แดมมาม, มาดินาห์ [เฉพาะบางฤดูกาล], ริยาดห์)
  • ไซปรัสเตอร์กิสแอร์ไลน์ (อิชเมียร์)
  • เตอร์กิชแอร์ไลน์ (อิสตันบูล-แอตตาตุร์ก, อิชเมียร์, แอนตัลยา)
  • เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (อาชกาบัต)
  • บริติช แอร์เวย์ (ไมอามี)
  • บีแมน บังกลาเทศ (ดากา, ดูไบ)
  • ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (การาจี, ละฮอร์, อัสลามาบัด)
  • มาเลย์เซียแอร์ไลน์ (กัวลาลัมเปอร์)
  • มิดเดิ้ลอีสแอร์ไลน์ (เบรุต)
  • ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (ชิกคาโก-โอแฮร์, ซานฟรานซิสโก, ลอสแองเจลีส, วอชิงตัน-ดัลเลส)
  • รอยัลจอร์แดเนียน (อากาดา, อัมมาน)
  • รอยัลบรูไน (ดูไบ, บันดาร์เสรีเบกาวัน)
  • เวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์เวย์ (เคปทาวน์, โจฮันเนสเบิร์ก, ชิกคาโก-โอแฮร์ [เริ่ม 23 เมษายน], ซานฟรานซิสโก, ซิดนีย์, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เดลลี, โตเกียว-นาริตะ, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, นูอาร์ก, ไนโรบี [เริ่ท 1 มิถุนายน], บอสตัน, มุมไบ, ไมอามี, ลอสแองเจลีส, โลกอส, วอชิงตัน-ดูลเลส, ฮ่องกง)
  • สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ (โกเธนเบิร์ก-แลนด์เว็ตตาร์, โคเปนเฮเกน, สตอกโฮล์ม-อาร์แลนดา)
    • เอสเอเอส บราเอเธนส์ (สตาเวนเกอร์, ออสโล)
  • สิงคโปร์แอร์ไลน์ (สิงคโปร์)
  • อเมริกันแอร์ไลน์ (ชิกคาโก-โอแฮร์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, บอสตัน, ไมอามี, ลอสแองเจลีส)
  • ออลนิปปอนแอร์เวย์ (โตเกียว-นาริตะ)
  • อียิปต์แอร์ (ไคโร, ลักซอร์)
  • อีวีเอแอร์ (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, ไทเป-ไต้หวัน เถาหยวน)
  • เอติฮัดแอร์เวย์ (อาบูดาบี)
  • เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (โรม-ฟีอูมีชีโน, แอดดิสอาบาบา)
  • เอมิเรตส์ (ดูไบ)
  • แอร์แคนาดา (คาลแกรี, เซนต์จอห์น (เฉพาะบางฤดูกาล), โทรอนโต-เพียร์สัน, มอนทรีอัล, แวนคูเวอร์, ออตตาวา, เอ็ดมอนตัน, ฮาลิแฟก)
  • แอร์จาเมกา (คิงสตัน, มอนเตโก เบย์)
  • แอร์ไชน่า (ปักกิ่ง)
  • แอร์นิวซีแลนด์ (ลอสแองเจลีส, โอ๊คแลนด์, ฮ่องกง)
  • แอร์มอริเชียส (มอริเชียส)
  • แอร์อินเดีย (กอลกาตา, ชิกคาโก-โอแฮร์, เชนไน, เดลลี, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, มุมไบ, อาเมดาบัด)

[แก้] อาคารผู้โดยสาร 4

  • คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล) (เริ่มให้บริการ 2551)
  • เคนย่าแอร์เวย์ (ไนโรบี)
  • แควนตัส (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ,ซิดนีย์, เมลเบิร์น, สิงคโปร์, ฮ่องกง)
  • เคแอลเอ็ม โรยัลดัชต์แอร์ไลน์ (อัมสเตอร์ดัม)
    • เคแอลเอ็ม ซิตีฮ๊อปเปอร์ (ร๊อตเทอร์ดัม, เอียนโฮเวน)
  • ทีเอเอ็ม ลินฮาสเอเรียส (เซาเปาโล-กัวรูลอส)
  • บรัสเซลแอร์ไลน์ (บรัสเซลส์)
  • บริติช แอร์เวย์ (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, แกรนด์เคย์แมน, คาลแกรี, คูเวต, เคปทาวน์, โคเปนเฮเกน, โคลคาตา, ไคโร, เจนีวา, ชิกคาโก-โอแฮร์, เชนไน, ซิดนีย์, ซีแอตทัล/ทาโคมา, ซูริค, เซาเปาโล-กัวรูลอส, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ดากา, ดาร์อิสซาลาม, ดีทรอยต์, ดูไบ, เดนเวอร์, เดลลี, โดฮา, โทรอนโต-เพียร์สัน, เทลอาวีฟ, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, นูอาร์ก, แนสซัว, ไนโรบี, บรัสเซลส์, บอสตัน, บังกาลอร์, บัลติมอร์/วอชิงตัน, บาเซล/มุลเฮาส์, บาห์เรน, บูโนสไอเรส-อีไซซา, เบลเกรด, ปักกิ่ง, ปารี-ชาลส์ เดอ โกล, โปรวิเดนเชียลส์, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์, มอนทรีอัล, มอริเชียส, มัสคัท, มานากัว, มุมไบ, เม็กซิโกซิตี, ริโอ เดอ จาเนโร-กาลาโอ, ลากอส, ลียง, ลูอันดา, วอชิงตัน-ดัลเลส, เวียนนา, แวนคูเวอร์, สิงคโปร์, ออสโล, อักกรา, อัมสเตอร์ดัม, อาบูจา, อาบูดาบี, อิสลามาบัด, เอ็นเทบเบ, ฮาราเร, ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอรติเนนตัล)
    • บริติช แอร์เวย์ ที่ดำเนินการโดย บีเอ็มอีดี (การ์ตูม, ดาการ์, ดามัสคัส, เตหราน, ทบิริส, บากู, บิชเคก, เบรุต, ฟรีทาวน์, เยเรแวน, อเล็กซานเดรีย, อเลปโป, อัมมาน, อัลมาตี, เอกาเตรินเบิร์ก, แองการา, แอดดิสอาบาบา)
  • ศรีลังกาแอร์ไลน์ (โคลัมโบ, มาเล)
  • แอร์มอลตา (ลูคา)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
คอมมอนส์ มีรูปภาพและสื่อในรูปแบบอื่นๆ เกี่ยวกับ:

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu