ธนาคารไทยพาณิชย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (Siam Commercial Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447
[แก้] ประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปิดสถาบันการเงินทดลองในชื่อ "บุคคลัภย์" (Book Club) บริเวณตึกแถวของพระคลังข้างที่ ณ ตำบลบ้านหม้อ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ว่า "บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล จำกัด" และพระราชทานตรา สัญลักษณ์รูป ตราอาร์มแผ่นดิน เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยกเลิกตราอาร์มแผ่นดิน และเปลี่ยนเป็นตรา ครุฑ และมีข้อความจารึกไว้ว่า "ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต" อยู่ในแถบแพรพิเศษตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในภายหลังประเทศสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย ธนาคารจึงได้เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกันเป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด" เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2482 ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ในสมัยนั้นมี สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกิจการของธนาคารดำเนินการไปได้ด้วยดี จนมีธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เกิดขึ้นอีกหลายธนาคาร
ในปี พ.ศ. 2514 ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งเป็นถนนสายธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยนั้น
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2518 จึงมีชื่อว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" จนทุกวันนี้
ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ ถนนรัชดาภิเษก ใกล้สี่แยกรัชโยธิน ซึ่งเป็นสำนักงานที่ทันสมัยสมบูรณ์พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสำนักงานแห่งนี้ได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ประธานกรรมการบริหารคนปัจจุบันของธนาคารไทยพาณิชย์ คือ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่คือ กรรณิกา ชลิตอาภรณ์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ธนาคารในประเทศไทย แก้ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|