ธนาคาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคาร (อังกฤษ: bank) คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณะชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก อธนาคาร (น็อนแบงค์)ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้บริการทางการเงินเฉพาะบางประเภทที่ใกล้เคียงกัน อาทิในการให้สินเชื่อระยะสั้น
[แก้] ประเภทของธนาคาร
- ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ
- ธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ
[แก้] หน้าที่ของธนาคารแต่ละประเภท
- ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติทำหน้าที่ทางการเงินของประเทศ ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์โดยรวมของชาติมีชื่อเรียกว่า"ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารชาติ" มีหน้าที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
- มีอำนาจออกธนบัตรและพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้
- รับฝากเงินจากหน่วยงานราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจ
- รับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์
- ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน
- เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ในการติดต่อธนาคารโลก
- รักษาเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาล
- ควบคุมสินเชื่อ และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการกำกับดูแลและควบคุมธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ