นิวตัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- บทความนี้กล่าวถึงหน่วยเอสไอของแรง สำหรับบทความที่กล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ดู ไอแซก นิวตัน
นิวตัน (สัญลักษณ์ : N) ในวิชาฟิสิกส์ เป็นหน่วยเอสไอของแรง ชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของเซอร์ไอแซก นิวตัน เพื่อระลึกถึงผลงานของเขาในสาขาฟิสิกส์แบบฉบับ หน่วยนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก General Conference on Weights and Measures (CGPM) ให้เป็นชื่อหน่วยเอ็มเคเอสของแรงจนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)
แรงหนึ่งนิวตัน นิยามไว้เท่ากับปริมาณของแรงที่ต้องการสำหรับการเร่งมวลหนึ่งกิโลกรัมให้มีความเร่งเท่ากับหนึ่งเมตรต่อวินาทีกำลังสอง
นิวตันเป็นหน่วยเอสไออนุพันธ์ ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยเอสไอหลัก kg × m × s-2
[แก้] การแปลงหน่วย
นิวตัน | Dyne | กิโลกรัม-แรง (Kilopond) |
ปอนด์-แรง | Poundal | |
---|---|---|---|---|---|
1 N | = 1 kg·m/s² | = 105 dyn | ≈ 0.10197 kp | ≈ 0.22481 lbf | ≈ 7.2330 pdl |
1 dyn | = 10−5 N | = 1 g·cm/s² | ≈ 1.0197×10−6 kp | ≈ 2.2481×10−6 lbf | ≈ 7.2330×10−5 pdl |
1 kp | = 9.80665 N | = 980665 dyn | = gn·(1 kg) | ≈ 2.2046 lbf | ≈ 70.932 pdl |
1 lbf | ≈ 4.448222 N | ≈ 444822 dyn | ≈ 0.45359 kp | = gn·(1 lb) | ≈ 32.174 pdl |
1 pdl | ≈ 0.138255 N | ≈ 13825 dyn | ≈ 0.014098 kp | ≈ 0.031081 lbf | = 1 lb·ft/s² |
The value of gn as used in the official definition of the kilogram-force is used here for all gravitational units. |
นิวตัน เป็นบทความเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ นิวตัน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |