New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประวัติศาสตร์จีน - วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารบัญ

[แก้] ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกได้ดังนี้

  1. ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว(yuanmou man)มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
  2. ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
  3. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
  4. ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว

[แก้] ยุคราชวงศ์โบราณ

ยุคก่อนราชวงศ์ แรกเริ่มเดิมที นักประวัติศาสตร์มีความเชื่อกันหลายสาย บางสายเชื่อว่า ชาวจีนอพยพมาจากทะเลสาบแคสเปียน บางสายเชื่อกันว่าชาวจีนนั้นตั้งอยู่ที่จีนมานานแล้ว ไม่ได้อพยพมาแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว ก็ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดมาจนถึงปัจจุบัน แต่จีนในตำนานก็มีตำนาน "ผันกู่เบิกฟ้า" ซึ่งว่ากันเสียจนกลายเป็นอภินิหารตำนานเทพไปเลย อย่างไรก็ตาม ในยุคแรกๆ จีนใช้วิธีการเลือตั้งกษัตรย์ขึ้นมาปกครองบ้านเมืองโดยคัดเลืกจากความสามารถ และคุณธรรม กษัตริย์แต่ละพระองค์ต้องแข่งกันกันแสดงความสามารถ ให้เป็นที่ประจักษ์มิฉะนั้นแล้วจะถูกปลดออกจากตำแหน่งก็เป็นได้ เชื่อกันว่ากษัตริย์พระองค์แรกมีพระนามว่า "ฝูซี" หรือฟูสี ซึ่งนิทานพื้นเมืองบางแห่งถือพระองค์นั้นเป็นเทพพระเจ้า ผู้ให้กำเนิดชนชาติจีนไป กษัตริย์มี่เด่นๆในยุคนี้มีหลายพระองค์ เช่น เสินหนง หรือเสินหนุง ซึ่งภายหลังผู้คนได้ยกย่องให้เป็นเทพแห่งเกษตรกรรม ตี้ซุ่น หวงตี้(จักพรรดิเหลือง) และอื่นๆอีกหลายพระองค์ ซึ่งปัญหาที่กษัตริย์เหล่านี้มักจะประสบและต้องหาทางแก้ไขอยู่เสมอๆ มักจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำท่วม ครั้นถึงสมัยของ อวี่ชาวบ้านเห็นว่า ราชโอรสเหมาสมที่จะสืบทอดราชสมบัติมากที่สุด จึกเป็นการเริ่มต้นของยุคราชวงศ์ที่มีการสืบทอดกันทางสายเลือด

[แก้] ราชวงศ์เซีย (Hsia Dynasty)

เริ่มประมาณ 2,205-1,766 ปีก่อนคริสตกาล มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซียนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป ราชวงศ์เซี่ยมีอายุประมาณสี่ร้อยปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ ยุคนี้มีการต่อสู้รุนแรงและยาวนาน

[แก้] ราชวงศ์เซี่ย

เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานถึง 500 ปี จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ยซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์

[แก้] ราชวงศ์ซาง

ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณหกร้อยปี คือ ตั้งแต่ 1223-579ปีก่อนพุทธศักราช ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร,ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก

การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจ้วหวัง ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของพวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 579 ปีก่อนพุทธกาล

[แก้] ราชวงศ์โจว

นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก เราจะดูการสถาปนาราชวงศ์โจวตะวันตกซึ่งถือกำเนิดขึ้นก่อนที่จะพ่ายแพ้ แล้วจึงเกิดราชวงศ์โจวตะวันออกในลำดับถัดไป

[แก้] ราชวงศ์โจวตะวันตก

เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย

ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตรย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น

เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์องค์นี้ อาณาจักรโจวตะวันตกจึงสิ้นสุดลง ณ กาลเวลานี้

[แก้] ราชวงศ์โจวตะวันออกหรือยุคชุนชิว

หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ.หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง

[แก้] ต้นกำเนิดการช่วงชิงตำแหน่งเจ้าผู้นำนครรัฐ

เมื่อพระเจ้าโจวผิงหวังย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองลั่วอี้แล้ว อำนาจปกครองมีแค่ดินแดนแถบลั่วอี้ มิได้ยิ่งใหญ่ดังในอดีตและไม่สามารถดำรงฐานะประมุขแผ่นดินอย่างแท้จริง นอกจากนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมักต้องขอความช่วยหลือจากเจ้านครรัฐที่เข้มแข็งกว่าเสมอ ชนเผ่านอกด่านมักฉวยโอกาสแย่งชิงดินแดนและรุกรานตามชายแดนบ่อยครั้งความอ่อนแอของพระเจ้าโจวผิงหวังทำให้เจ้านครรัฐต่างๆทำศึกแย่งชิงตำแหน่งเจ้าผู้นำนครรัฐ โดย ฉีหวนกง เจ้านครรัฐฉี เป็นคนแรกที่แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐคนแรกของยุคชุนชิว จากนั้นสงครามระหว่างรัฐต่างๆเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตลอด แล้วยังมีการทำสงครามกับชนเผ่ากลุ่มน้อย เช่น เผ่าหรง เผ่าตี๋ เป็นต้น อยู่เสมอด้วย

[แก้] สงครามรัฐอู๋กับรัฐเย่ว์

กษัตริย์ฟูเชาแห่งรัฐอู๋ทำสงครามและรบชนะรัฐเย่ว์ซึ่งมี กษัตริย์โกวเจี้ยน เป็นเจ้านครรัฐ แล้วนำกองทัพบกขึ้นทางเหนือทำสังครามกับรัฐจิ้นจนสามารถแย่งชิงตำแหน่งเจ้าผู้นำนครรัฐได้ ด้านกษัตริย์โกวเจี้ยนแห่งรัฐเย่ว์ต้องยอมตนเป็นเชลยในรัฐอู๋ ทุกวันเขาจักเตือนตนเรื่องความพ่ายแพ้ด้วยการสัมผัสรสขมของดีสัตว์และนอนบนพื้นหญ้าฟางเป็นประจำ อันทำให้กษัตริย์ฟูชาซึ่งคอยมองระแวงเรื่องความสวามิภักดิ์ของเขาหลงคิดว่าโกวเจี้ยนยอมรับความพ่ายแพ้ด้วยใจจริง จึงลดการเฝ้ามองแล้วส่งเขากลับบ้านเมืองโดยไม่ฟังคำทัดทานของเหล่าขุนนาง เมื่อกลับถึงรัฐเย่ว์พระเจ้าโกวเจี้ยนลอบสั่งสมกำลังทหารและเสบียงให้เข้มแข็งอีกครั้ง ช่วงที่กษัตริย์ฟูชาต้องยกทัพบุกเมืองเหนือครั้งใหญ่ พระเจ้าโกวเจี้ยนกับพันธมิตรถือโอกาสยกทัพเข้าตีรัฐอู๋จนแตกย่อยยับและครอบครองตำแหน่งเจ้าผู้นำนครรัฐในช่วงระยะสั้นๆ

[แก้] กลสาวงามไซซี

นอกจากการสร้างภาพสวามิภักดิ์ด้วยใจจริงของกษัตริย์โกวเจี้ยนต่อรัฐอู๋แล้ว เขายังใช้แผนทำลายรัฐอู๋ด้วยมือของสาวงามโดยการส่งสาวงามของรัฐเย่ว์สองคน ชื่อ ไซซี กับ เจิ้งตั้น ไปเป็นของบรรณาการแก่กษัตริย์ฟูชา สองสาวใช้รูปโฉมและความสามารถในการขับร้องฟ้อนรำเพื่อดึงดูดใจกษัตริย์ฟูชา โดยเฉพาะไซซีเป็นที่โปรดปรานพิเศษของกษัตริย์ฟูชา เขาหลงใหลสาวงามเมืองเย่ว์จนละเลยการบริหารบ้านเมือง มิฟังคำทัดทานของข้าหลวงผู้สุจริตใจ กอปรกับไซซีใช้เสน่ห์และคารมของนางยุยงให้กษัตริย์ฟูชาประหารคนที่เป็นศัตรูกับรัฐเย่ว์ไปมาก รัฐอู่จึงอ่อนแอและทรุดโทรมลง เศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่สร้างโอกาสให้รัฐเย่ว์ฟื้นตัวและพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและการทหารมากขึ้น หลังจากรัฐเย่ว์มีชัยชนะเหนือรัฐอู๋แล้ว เรื่องเล่ากันว่าไซซี ผู้เสียสละตนเองเพื่อบ้านเมืองกลับไปใช้ชีวิตครอบครัวกับชายคนรักอย่างเงียบสงบในชนบท และกลายเป็นตำนานเล่าขานอย่างยกย่องสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

[แก้] ราชวงศ์ฉิน : ที่มาเริ่มแรก

[แก้] เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว

ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัฐเว่ย และ รัฐเจ้า ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน

[แก้] รัฐฉินยึดครองหกรัฐ

ด้วยความหวาดระแวงกันของรัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐหาน รัฐเว่ย และรัฐเจ้า ที่มีต่อพฤติกรรมชอบรังแกเพื่อนบ้านของรัฐฉี ทั้งหมดจึงรวมตัวกันโจมตีรัฐฉีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งรัฐฉีถูกตีแตกและอ่อนกำลังลง ทำให้รัฐฉินโดดเด่นและเป็นรัฐมหาอำนาจเพียงผู้เดียวในปลายสมัยยุคจั้นกั๋ว เมื่อเห็นรัฐต่างๆมีความอ่อนแอลงเนื่องจากทำสงครามกับรัฐฉีมานาน เจ้านครรัฐฉินผู้มีนามว่า อิ๋งเจิ้ง เริ่มมีความคิดรวมรัฐต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อได้ฟังแผนการแบ่งแยกของ หลี่ซือ ที่ปรึกษาผู้ชาญฉลาดเพื่อทำลายอำนาจของหกรัฐลง กอปรกับความเข้มแข็ง ห้าวหาญและมีวินัยของกองทัพฉิน เขาตกลงใจทำสงครามผนวกดินแดนโดยทยอยกำจัดรัฐหาน เจ้า เว่ย เยียน และฉี ตามลำดับ จนทั้งหมดพ่ายแพ้ราบคาบ สงครามการแย่งชิงอำนาจระหว่ารัฐจึงยุติลงโดยสิ้นเชิงด้วยแนวความคิดของประมุขรัฐฉิน แผ่นดินจีนจึงรวมผืนดินเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังจากแตกแยกเป็นก๊กเหล่ามานานหลายร้อยปี และสถาปนาตำแหน่งจักรพรรดิของจีนขึ้นเป็นครั้งแรก อิ๋งเจิ้ง จึงมีพระนามว่า พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซี ฮ่องเต้) ปฐมจักรพรรดิราชแห่งราชวงศ์ฉิน

[แก้] ลักษณะการปกครอง

หลังจากพระเจ้าฉินสื่อหวงตี้แห่งรัฐฉินโจมตีรัฐที่อ่อนแอทั้งหกแล้วรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว โดยปกครองประเทศแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง อันหมายถึง การที่จักรพรรดิและขุนนางในราชสำนักกุมอำนาจบริหารประเทศทั้งหมด ได้แก่ การวางนโยบายปกครอง การแต่งตั้งตำแหน่งขุนนางต่างๆ ตลอดจนการบริหารราชกิจทั้งปวง ขุนนางต้องปฏิบัติตามราชโองการของจักรพรรดิเท่านั้น ประโยชน์ทางอ้อมของการรวมแผ่นดินครั้งนี้ คือ การผสมผสานระหว่างชนชาติของรัฐต่างๆ และเป็นรากฐานแก่ประเทศจีนให้มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติในทุกวันนี้

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้แบ่งอาณาจักรออกเป็น 40 เขตการปกครอง แต่ละเขตแบ่งย่อยเป็นอำเภอ ขุนนางปกครองเขตและอำเภอแต่งตั้ง ถอดถอน ปรับเปลี่ยนโดยจักรพรรดิ

[แก้] ความเป็นเอกภาพของประเทศ

เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติหลังสงครามรวมแผ่นดินสิ้นสุดแล้ว พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ตัดสินใจปรับปรุงหลายด้านให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อันส่งผลให้ความเป็นสังคมและวัฒนธรรมของทุกรัฐพัฒนาไปสู่ความเป็นเอกภาพและเป็นประเทศจีนปัจจุบันนี้ สิ่งที่ได้รับการปรับเปลี่ยนมีดังนี้

  1. ด้านตัวอักษร จักรพรรดิแต่งตั้งให้หลี่ซือและคณะทำการชำระระบบอักษรให้มีลักษณะขีดง่ายขึ้นและมีมาตรฐานเดียว เรียกว่า อักษรฉินจ้วน แล้วประกาศบังคับใช้ทั่วประเทศ
  2. ด้านเงินตรา พระองค์กำหนดใช้เหรียญทองแดงกลม เจาะรูเหลี่ยมที่กลางเหรียญ เรียกว่า ซย่าปี้ (เงินต่ำ) ที่มีมูลค่าตามน้ำหนักโดยเรียกว่า ปั้นเหลี่ยง (ครึ่งตำลึง) ส่วนทองคำ เรียกว่า ซั่งปี้ (เงินสูง)
  3. ด้านทั่วไป พระองค์กำหนดใช้ระบบชั่งตวงวัดเป็นมาตรฐานเดียวกันด้วยการสร้างเครื่องมือชั่งตวงวัดให้ประชาชนใช้งานแล้วบังคับใช้ทั่วประเทศ กำหนดขนาดรถและถนนเป็นระบบเดียวกัน

พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้ชาวนครรัฐที่พ่ายแพ้และถูกบีบคั้นให้ทำลายอักษรและวัฒนธรรมของตนเจ็บแค้น เก็บกดอย่างมาก แล้วอดทนรอคอยเพื่อตอบโต้ราชวงศ์ฉิน

[แก้] สิ่งก่อสร้างสำคัญของราชวงศ์ฉิน

เมื่อการรวมแผ่นดินเป็นเอกภาพแล้ว พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้เริ่มต้นการก่อสร้างหลายอย่างและสร้างมาตรฐานให้ใช้ทั่วประเทศด้วย ดังนี้

  1. ถนนสำหรับรถม้า สมัยราชวงศ์ฉินกำหนดขนาดตัวรถม้าไว้ คือ กว้าง 6 ฟุต ขนาดถนนต้องกว้าง 50 ก้าว (1 ก้าว เท่ากับ 1 ฟุต) ส่วนถนนส่วนกลางซึ่งเป็นถนนสำหรับจักรพรรดิมีความกว้าง 3 จั้ง (1 จั้งเท่ากับ 10 ฟุต) โดยเริ่มต้นสร้างที่เมืองเสียนหยางอันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน พื้นถนนของเมืองนั้นมีความกว้างขวางแล้วตบแต่งสองข้างทางด้วยการปลูกต้นสนเรียงรายไว้อย่างงดงาม นอกจากแสดงถึงความสวยงามร่มรื่นโดดเด่นและการพัฒนาประเทศแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการป้องกันชายแดนด้วย
  2. ขุดคลองหลิงฉีว์ เชื่อมแม่น้ำแยงซีเกียงกับแม่น้ำจูเจียง อันเป็นการพัฒนาระบบขนส่งและชลประทานเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ประเทศและความสะดวกแก่ประชาชนด้วย
  3. ซ่อมแซมและก่อสร้างกำแพงเมืองจีนให้เชื่อมต่อกันสมบูรณ์ จักรพรรดิมีราชโองการให้

เหมิงเถียน นำทัพทหารไปทางเหนือขับไล่ชนเผ่าซวงหนู (ตาร์ตาร์) ซึ่งเป็นพวกร่อนเร่อยู่ทางเหนือของรัฐเยียน เจ้า และ ฉิน พวกนี้มีอำนาจอยู่แถบที่ราบสูงและทะเลทรายมองโกเลีย และพยายามแผ่อิทธิพลเข้าสู่แผ่นดินใหญ่เป็นประจำเพื่อช่วงชิงพืชผลและผืนดินอุดมสมบูรณ์ของชาวจีน เมื่อเหมิงเถียนขับไล่พวกนี้ได้ พระองค์จึงเกิดความคิดในการป้องกันประเทศทางด้านเหนือจากการรบกวนของพวกนอกด่านด้วยการซ่อมแซมและสร้างเสริมกำแพงเมืองจีนเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยทิศตะวันตกเริ่มที่เมืองหลินเถาไปสุดทางตะวันออกซึ่งเป็นทะเลที่เหลียวตง อันมีความยาวมากกว่า 5000 ลี้ จึงได้รับการขนานนามว่า กำแพงหมื่นลี้ (วั่นหลี่ฉังเฉิง)

[แก้] วาระแห่งการล่มสลาย

พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้เสด็จประพาสและเกิดประชวรหนักจนสิ้นพระชนม์ที่ ซาชิว (ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอผิงเซียง มณฑลเหอเป่ยปัจจุบัน) โดยกำหนดให้ รัชทายาท ฝูซู สืบราชสมบัติต่อไป ขณะนั้นองค์รัชทายาทถูกส่งไปตรวจกองทัพของเหมิงเถียนที่ชายแดนเนื่องเพราะขัดแย้งกับพระบิดาซึ่งมีคำสั่งทำลายตำราโบราณและสังหารปัญญาชนในแผ่นดินทำให้พระบิดาโกรธจัดและลงโทษด้วยการส่งตัวไปชายแดน เมื่อจักรพรรดิสิ้นพระชนม์กะทันหัน ขันทีเจ้าเกา วางแผนชิงบัลลังก์นี้ไปให้ เจ้าชายหูไห่ ซึ่งตนดูแลสั่งสอนและเชื่อฟังคำสั่งของเขาอย่างดี โดยเกลี้ยกล่อมหลี่ซือให้ร่วมมือกันปลอมราชโองการเปลี่ยนตัวรัชทายาทและเพิ่มคำสั่งให้รัชทายาทปลงพระชนม์ตนเอง ซึ่งฝูซูหลงเชื่อในราชโองการนี้และทำตามโดยดี หลังจากนั้นเจ้าชายหูไห่จึงขึ้นครองราชย์ต่อไปด้วยพระนามว่า พระเจ้าฉินเอ้อร์ซื่อ โดยมีขันทีเจ้าเกาคอยบงการจักรพรรดิผู้เขลาเบาปัญญาอยู่เบื้องหลัง ด้วยการบริหารการปกครองของขันทีเจ้าเกาสร้างความเสื่อมโทรมแก่อาณาจักร ความกดดันคับแค้นของประชาชนเพิ่มทวีขึ้น จึงนำไปสู่การก่อกบฏตามหัวเมืองต่างๆในช่วงปลายราชวงศ์ฉิน

[แก้] กบฏเซี่ยงอี่และกบฏหลิวปัง

เซี่ยงอี่และหลิวปังเป็นแกนนำที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทมากในการต่อต้านราชวงศ์ฉิน แต่ละคนต่างมีภูมิหลังแตกต่างกันมาก เซี่ยงอี่มีชาติกำเนิดเป็นชนชั้นสูงของรัฐฉู่ ร่วมกับผู้เป็นอา คือ เซี่ยง เหลียงสั่งสมกำลังทหารที่ ไคว่จี (เมืองซูโจว มณฑลเจียงซูปัจจุบัน) แล้วบุกทำลายกองทหารของพวกฉินเสียหายยับเยินที่ จิ้ว์ลู่ (อำเภอผิงเซียง มณฑลเหอเป่ยปัจจุบัน) การรบชนะตลอดเส้นทางสู่เมืองเสียนหยางของเซี่ยงอี่สร้างชื่อเสียงเลื่องลือทั่วแผ่นดิน เขาประกาศตนเองว่าเป็นขุนทัพแห่งเจ้านครรัฐทั้งหมด ส่วนหลิวปัง เป็นหัวหน้าชุมชนในอำเภอเพ่ย (อำเภอเพ่ยเซี่ยน มณฑลเจียงซูปัจจุบัน) สั่งสมกำลังทหารยึดอำนาจในอำเภอเพ่ยและบุกยึดด่านอู่กวน แล้วมุ่งหน้าสู่เสียนหยางซึ่งขณะนั้นขันทีเจ้าเกาพยายามปิดบังสถานการณ์ย่ำแย่ของทหารจักรพรรดิ มิให้พระเจ้าฉินเอ้อร์ซื่อรับทราบ จนกระทั่งถึงเวลาคับขันเมื่อกบฏหลิวปังเข้าประชิดเมือง ขันทีเจ้าเกาปลงพระชนม์จักรพรรดิ แล้วสถาปนาหลานของพระเจ้าฉินเอ้อร์ซื่อขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่มีพระนามว่า พระเจ้าจื่ออิง ต่อมากองทัพของหลิวปังใกล้จะบุกเข้าเมืองหลวงแล้ว พระองค์จึงสังหารขันทีเจ้าเกาและออกจากเมืองมายอมจำนนต่อหลิวปัง ซึ่งเขายอมไว้ชีวิตพระองค์แล้วสั่งขังไว้ ผู้ที่สังหารพระองค์คือ เซี่ยงอี่ ซึ่งนำกองทหารเข้าเมืองเสียนหยางทีหลังแล้วยังเผาพระราชวังเออผังกงมอดไหม้ทั้งหมด ราชวงศ์ฉินจึงล่มสลายลงอย่างสมบูรณ์หลังจากการรวมแผ่นดินของพระเจ้าฉินสื่อหวงตี้จนถึงพระเจ้าจื่ออิงนั้นใช้เวลาปกครองแผ่นดินเพียง 15 ปีเท่านั้น

[แก้] ศึกฌ้อปาอ๋องกับเจ้ารัฐฮั่น

เมื่อหลิวปังบุกเข้าเมืองเสียนหยางของราชวงศ์ฉินได้เป็นพวกแรก จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมของจักรพรรดิและประกาศปฏิญญากับชาวเมือง 3 ข้อ คือ

  1. ทำร้ายร่างกายต้องถูกลงโทษ # ฆ่าคนต้องชดใช้ด้วยชีวิต # โจรกรรมทรัพย์สินต้องถูกลงโทษ

ด้วยพฤติกรรมของกองทัพหลิวปังซึ่งปฏิบัติตนเคร่งครัดในคำปฏิญญานี้จึงได้รับการสนับสนุนจากราษฎรมาก แต่ด้วยความอ่อนด้อยกำลังด้านกองทัพเมื่อเทียบกับกองทหารของเซี่ยงอี่ซึ่งต้องการบุกเข้าเมืองเสียนหยางเช่นกัน หลิวปังตัดสินใจถอยทัพไปตั้งมั่นยังด้านตะวันออกของเมืองเสียนหยางเพื่อรอคอยโอกาสทวงคืนอำนาจอีกครั้ง ส่วนกองทัพของเซี่ยงอี่ซึ่งเข้าเมืองเสียนหยางได้จึงทำการเผาพระราชวังและสังหารจักรพรรดิ ปล้นฆ่าราษฎรในเมือง อันสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านอย่างหนัก เซี่ยงอี่ตั้งตนเป็นเจ้าผู้นำแห่งฉู่ตะวันตก (ซีฉู่ป้าหวังหรือฌ้อปาอ๋อง) และปูนบำเหน็จตำแหน่งขุนนางแก่ผู้สนับสนุนชัยชนะของเขา รวมทั้งหลิวปังยังได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้ารัฐฮั่น การกดขี่ขมเหงราษฎรของทหารเซี่ยงอี่สร้างโอกาสใหม่แก่หลิวปังในการวมเจ้านครรัฐซึ่งขุ่นแค้นเซี่ยงอี่มาทำสงครามต่อต้านกองทัพเซี่ยงอี่ซึ่งใช้เวลานานถึง 5 ปี

[แก้] สงครามตัดสินชะตาของฌ้อปาอ๋อง

ช่วงแรกของการทำสงครามระหว่างหลิวปังกับเซี่ยงอี่นั้น ความเข้มแข็งของทหารและความเก่งกล้าของเซี่ยงอี่ทำให้เขาได้รับชัยชนะต่อเนื่อง ส่วนหลิวปังยึดครองดินแดนกวนจงซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของด่านหานอี้กวนอันอุดมสมบูรณ์และมีประชากรมาก จึงมีความแข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ นอกจากนั้นหลิวปังยังรู้จักใช้บุคคลที่มีความสามารถด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตนและแสดงความมีน้ำใจต่อพวกเขา ทำให้ผู้เก่งกล้าต่างยอมสยบและทุ่มเททำงานให้หลิวปัง เมื่อเสบียงอาหารและบุคลากรมากความสามารถล้วนพร้อมสรรพ สงครามสุดท้ายซึ่งดับความฝันและชะตารุ่งเรืองของเซี่ยงอี่จึงเกิดขึ้นที่ ไกซย่า (อำเภอหลิวปี้ มณฑลอานฮุยปัจจุบัน) เมื่อกองทัพหลิวปังล้อมกองทหารของเซี่ยงอี่ไว้ ต่อมาเซี่ยงอี่ตีฝ่าวงล้อมหนีไปถึงริมแม่น้ำอูเจียง (อำเภอเหอ มณฑลอานฮุยปัจจุบัน) ด้วยรู้ชะตาแห่งความพ่ายแพ้ใกล้มาเยือนและตนมิอาจยอมรับได้ เขาจึงเชือดคอตัวเองตาย สงครามแย่งอำนาจระหว่างฉู่กับฮั่นจึงสิ้นสุดลง หลิวปังได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์และเริ่มก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นซึ่งปกครองประเทศจีนเป็นเวลายาวนานและรุ่งเรืองอย่างมาก

[แก้] บทสรุปยุคราชวงศ์ฉิน

อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ ฉินซีฮ่องเต้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเซียงหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) พระองค์ทรงตั้งระบบต่าง ๆ เช่น ภาษาเขียน การชั่งตวงวัด ระบบเงินตรา และกำแพงเมืองจีน คำว่าจีน (China) นั้นมาจากคำว่า จิ๋น (Qin) เนื่องด้วยความรุ่งเรืองของประเทศจีนในยุคนี้ อย่างไรก็ตาม โอรสของพระองค์ไม่มีความสามารถเท่า ทำให้ราชวงศ์จิ๋นล่มสลายในช่วงเวลาเพียงสองรัชกาลเท่านั้น (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 322 - 336)

[แก้] สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน

การล่มสลายของราชวงศ์ฉินมีสาเหตุโดยสรุป ดังนี้

  1. ประชาชนมีภาระหนักเกินไป ราชวงศ์ฉินดำเนินแผนและมาตรการควบคุมประชาชนอย่างเข้มงวด ต่อเนื่อง สร้างความคับแค้นใจแก่ไพร่ฟ้าทั่วแผ่นดิน ในที่สุดจึงเกิดการจลาจลขึ้น
  2. ความเข้มงวดและการทารุณของโทษทัณฑ์ พระเจ้าฉินสื่อหวงใช้กฎหมายและการลงโทษเพื่อป้องปรามราษฎร ความผิดเล็กน้อยก็ลงโทษประหารทั้งครอบครัว อันสร้างความหวาดกลัวและความกดดันแก่ประชาชน เมื่อสั่งสมมากขึ้น จึงกลายเป็นการทำลายความมั่นคงของราชวงศ์ในที่สุด
  3. แรงอาฆาตของรัฐที่เคยพ่ายแพ้ เมื่อสถานปนาราชวงศ์ฉินและรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว พระเจ้าฉินสื่อหวงสั่งอพยพกลุ่มขุนนางเก่าและพ่อค้ามั่งมีของรัฐที่แพ้สงครามไปอยู่ที่เมืองลั่วหยัง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉิน แล้วยังยกเลิกการใช้วัตถุปัจจัยของรัฐที่แพ้ ทำให้หกรัฐสะสมความไม่พอใจและพยายามสร้างกระแสอุดมการณ์กู้ชาติมาตลอดจนกระทั่งประสบความสำเร็จ เมื่อผู้บริหารแผ่นดินยุคหลังพระเจ้าฉินสื่อหวงเริ่มอ่อนแอ
  4. การแผ่ขยายอำนาจของขันที หลังจากพระเจ้าฉินสื่อหวงสิ้นพระชนม์ ขันทีคนสนิทมีนามว่า เจ้าเกา มีความละโมบ หวังจะครองอำนาจสูงสุดในแผ่นดินด้วยการเชิดพระเจ้า ฉินเอ้อร์ซื่อ โอรสไร้ความสามารถของพระเจ้าฉินสื่อหวงเป็นกษัตริย์ ด้วยการวางแผนสังหารรัชทายาทนามว่า ฝูซู ซึ่งพระเจ้าฉินสื่อหวงมีความไว้วางใจให้ปกครองแผ่นดิน โดยเขาปลอมราชโองการร่วมกับหลี่ซือให้รัชทายาทปลงพระชนม์ตนเอง การใช้อำนาจของขันทีในนามกษัตริย์สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายแก่ข้าหลวงและประชาชนยิ่ง อันถือเป็นปัจจัยเร่งให้แผ่นดินฉินล่มสลายเร็วขึ้น

[แก้] ราชวงศ์ฮั่น

หลิวปังรบชนะฌ้อป๋าอ๋องเซี่ยงหวี่ และตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น ราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคทองของจีน คนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น ราชวงศ์ฮั่นอยู่ได้เป็นเวลานาน กว่า 400 ปี (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 335 - 763) (หรือราว ๆ ช่วง ก่อนคริสตศักราช 206 ปี - ค.ศ. 220) และล่มสลายมาเป็นยุคสามก๊ก (ราว ๆ พ.ศ. 763 - 823)(หรือ ๆ ค.ศ. 220 - 280)มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เมื่อกองทัพหลิวปังเอาชนะกองทหารของเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอันมากด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถือเป็นยุคทองของจีน จึงมีศัพท์จีนคำหนึ่งซึ่งได้ยินติดหูและใช้เรียกในชีวิตประจำวัน คือ ชาวฮั่น ภาษาฮั่น ซึ่งหมายถึง ชาวจีน ภาษาจีน นั่นเอง มันแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนจีนที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรฮั่นโบราณ

[แก้] ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

หลังจากปราบปรามกองทหารของเซี่ยงอี่และกลุ่มต่อต้านอื่นสำเร็จแล้ว หลิวปังหรือพระเจ้าฮั่นเกาจู่รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวกัน สังคมสงบอีกครั้ง แต่อยู่ในภาวะอ่อนล้าจากสงครามนับสิบปี บ้านเมืองเสียหายหนัก ประชาชนอดอยากเพราะผลิตพืชผลได้ไม่เต็มที่ พระเจ้าฮั่นเกาจู่และเสนาบดีส่วนใหญ่ล้วนมาจากสามัญชน จึงเข้าใจความทุกข์ยากของชาวบ้านอย่างลึกซึ้ง พระองค์ดำเนินนโยบายการปกครองแบบไม่ปกครองเพื่อช่วยฟื้นฟูความเป็นอยู่ของราษฎรและบ้านเมือง

[แก้] การปกครองแบบไม่ปกครอง

นโยบายปกครองของพระเจ้าฮั่นเกาจู่ซึ่งใช้กับราษฎรหลังสงครามยาวนาน เรียกว่า การปกครองแบบไม่ปกครอง มันเป็นการปกครองตามการผันแปรของธรรมชาติ อันทำให้สังคมมีเสถียรภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น ส่วนนโยบายลดภาระของราษฎรซึ่งมีต่อรัฐ เช่น ลดอัตราภาษีส่งรัฐ งดและลดการเกณฑ์แรงงาน และอื่นๆ อันส่งผลให้ชีวิตราษฎรมีอิสระเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลผลิตของตน บ้านเมืองจึงฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

[แก้] นโยบายการปกครอง

ช่วงแรกของการครองราชย์นั้นพระเจ้าฮั่นเกาจู่แต่งตั้งเจ้านครรัฐซึ่งร่วมทำสงครามชิงอำนาจกับเซี่ยงอี่ไปปกครองนครรัฐทั้งเจ็ดเพื่อตอบแทนน้ำใจ ต่อมาเมื่ออำนาจของพระองค์มั่นคงขึ้นจึงวางแผนใส่ร้ายพวกเขาว่าเป็นกบฏแล้วกำจัดทั้งหมด จากนั้นแต่งตั้งให้ราชนิกุลดำรงตำแหน่งแทนเจ้านครรัฐเหล่านั้น

[แก้] ปราบกบฏเจ้านครรัฐทั้งเจ็ด

ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าฮั่นเกาจู่ต่างช่วยกันพัฒนาและฟื้นฟูบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราษฎรมีความสุข อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งนักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าฮั่นเหวินตี้และพระเจ้าฮั่นจิ่งตี้ ว่า การปกครองสมัยเหวิน- จิ่ง เมื่อบ้านเมืองมีความสงบสุขและมั่นคง พระเจ้าฮั่นจิ่งตี้มีการปรับนโยบายปกครองประเทศด้วยการลดทอนดินแดนในครอบครองของเจ้านครรัฐ อันเป็นเหตุให้เกิดจลาจลเจ็ดเจ้านครรัฐ พระองค์มีคำสั่งให้แม่ทัพโจวย่าฟูไปปราบจลาจล เพียงสามเดือนรัฐอู๋และรัฐฉู่ซึ่งเป็นรัฐใหญ่ถูกปราบราบคาบ อีกห้ารัฐถูกสยบด้วยเวลาไม่นานนัก ชัยชนะครั้งนี้ส่งผลให้เจ้านครรัฐกลายสภาพเป็นผู้ครอบครองดินแดนในนามเท่านั้น ไม่มีอำนาจปกครองประชาชนอีกต่อไป เมื่ออำนาจของส่วนกลางมั่นคง การปกครองแผ่นดินจึงเป็นไปอย่างราบรื่น ต่อมาสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้เห็นว่าอาณาเขตของเจ้านครรัฐยังกว้างใหญ่และมีเศรษฐกิจดี ซึ่งอาจก่อปัญหาต่อราชสำนักภายหน้า จึงประกาศนโยบายมรดกศักดินาโดยยอมให้เจ้านครรัฐนำที่ดินในครอบครองแบ่งแก่ทายาทของตนได้ มันเป็นแผนแยบยลเพื่อลดขนาดดินแดนของเจ้านครรัฐอันส่งผลมิให้เจ้านครรัฐมีอำนาจต่อรองหรือกดดันราชสำนักได้อีก

[แก้] จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ มหาราชลือนามในแผ่นดิน

หลิวเช่อ เป็นพระนามเดิมของพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 16 พรรษา ปกครองอาณาจักรฮั่นนานถึง 50 ปี (ปี 140 – 87 ก่อน ค.ศ.) ผลงานปรับปรุงประเทศและแผ่ขยายอิทธิพลของพระองค์ทำให้นักประวัติศาสตร์ถือเป็นมหาราชซึ่งมีชื่อเสียงมากในประวัติศาสตร์ของจีน พระองค์กำหนดปีรัชสมัยของตนขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อว่า “เจี้ยนหยวน” นับจากนี้ไปกษัตริย์จีนองค์ต่อมาต่างถือเป็นประเพณีตั้งชื่อรัชศกของตนมาจนกระทั่งสิ้นสุดยุคจักรพรรดิ

[แก้] นโยบายการปกครอง

พระองค์ปรับประบบการเข้ารับราชการใหม่ โดยกำหนดให้ทุกท้องที่เลือกผู้มีจิตกตัญญูหรือขุนนางซื่อสัตย์ไปที่เมืองหลวงเพื่อเป็นข้าราชการ ทำให้ระบบคัดเลือกขุนนางแบบเดิมซึ่งสืบทอดตำแหน่งโดยทายาทลดความสำคัญลงไปอย่างมาก คุณภาพของขุนนางดีขึ้นอันส่งผลดีต่อการทำงานเพื่อบ้านเมืองและความสุขของราษฎรมาก

[แก้] นโยบายด้านเศรษฐกิจ

พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ก่อสร้างพระราชวังและมีการทำสงครามแผ่ขยายอำนาจบ่อยครั้ง จึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินมาก พระองค์ออกข้อกำหนดเข้มงวดในทางเศรษฐกิจแตกต่างจากอดีตเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในภารกิจดังกล่าว ตัวอย่างเช่น

  1. สร้างกิจการผูกขาดโดยรัฐ และห้ามบุคคลทั่วไปทำกิจการนี้ อันได้แก่ การค้าเกลือ โลหะและเหล้า
  2. กำหนดใช้เงินตราสกุลเดียวกัน โดยสร้างเงินเหรียญ 5 จู ซึ่งมีน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักของเมล็ดข้าวโพด 500 เมล็ด มีอักษรจีนคำว่า 5 จู กำกับไว้
  3. รัฐทำการค้าขายเอง โดยกระจายสินค้าเครื่องบรรณาการจากรัฐต่างๆหรือประเทศข้างเคียงส่งไปขายที่เมืองอื่นเพื่อเพิ่มพูนรายได้ของรัฐ และตั้งหน่วยงานในเมืองหลวงรับซื้อสินค้าต่างๆอันเป็นการปรับกลไกของตลาดและควบคุมราคาสินค้าได้ด้วย

[แก้] นโยบายด้านการทหาร

  1. พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ส่งขุนพลเว่ยชิงและขุนพลฮั่วชี่ปิ้งนำกองทัพนับแสนคนบุกโจมตีถึงกลางดินแดนที่ตั้งของชนเผ่าซยงหนู ซึ่งอาศัยทางเหนือของจีนและเข้าปล้นชิงทรัพย์สินของชาวฮั่นบ่อยครั้ง ในที่สุดชนเผ่านี้ต้องถอยขึ้นไปทางเหนือของทะเลทรายมองโกเลีย ชายแดนทางเหนือของแผ่นดินฮั่นตะวันตกจึงสงบสุขได้ยาวนาน
  2. การขยายดินแดนและอำนาจ พระองค์ยกทัพไปตีเกาหลีและดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยจัดตั้งเป็นเขตปกครองและดูแลเข้มงวด อาณาจักรแผ่ขยายใหญ่กว่าอาณาจักรฉินมาก นอกจากนั้นยังส่งทูตไปเจริญไมตรียังดินแดนตะวันตก อันได้แก่ ที่ราบสูงทาร์มทางตะวันออกของชงหลิงถึงทางตะวันตกของด่านอี้เหมินกวนและด่านหยังกวน แล้วยังจัดตั้งเขตปกครองพิเศษดินแดนส่วนนี้ นับเป็นการเริ่มต้นปกครองดินแดนตะวันตกอย่างเป็นทางการ

[แก้] ความรุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรฮั่น

แม้พระเจ้าฮั่นอู่ตี้จักสร้างความสำเร็จในการพัฒนาบ้านเมืองและประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างมาก แต่ทรงมีนิสัยชอบทำการใหญ่โต สุรุ่ยสุร่าย งมงาย และทำศึกสงครามตลอดรัชสมัย ทำให้เงินคงคลังร่อยหรอลง ฐานะความมั่นคงของประเทศเสื่อมโทรมลงในตอนปลายรัชสมัย ผู้สืบทอดบัลลังก์รุ่นต่อมา คือ พระเจ้าฮั่นเจาตี้ และ พระเจ้าฮั่นเซวียนตี้ พยายามแก้ไขปัญหาทับถมจากอดีตด้วยการระมัดระวังการแต่งตั้งขุนนาง ละเว้นภาษีค่าเช่าที่นาเพื่อลดความเดือดร้อนของราษฎร พัฒนาด้านเกษตรกรรมและหัตถกรรมอันส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตในชาติ จึงมีการยกย่องให้พระเจ้าฮั่นเซวียนตี้ เป็นเจ้าแห่งความเฟื่องฟู ด้วยการทำประโยชน์ของกษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงประคองและรักษาความรุ่งเรืองของราชวงศ์ต่อไปอีกพักใหญ่ก่อนวาระแห่งการล่มสลายจักมาเยือนราชวงศ์อันยิ่งใหญ่นี้

[แก้] วาระเสื่อมสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

อำนาจปกครองของราชวงศ์นี้หลังจากพระเจ้าฮั่นอู่ตี้สิ้นพระชนม์ตกอยู่ในมือของพระญาติวงศ์และขันที กษัตริย์รุ่นต่อมาใช้ชีวิตสุขสำราญเป็นหลัก การบริหารบ้านเมืองจึงอยู่ในมือของญาติวงศ์ สมัยพระเจ้าฮั่นหยวนตี้นั้นครอบครัวตระกูลหวังของพระมเหสีได้รับการวางใจเป็นพิเศษ เมื่อถึงสมัยพระเจ้าฮั่นเฉิงตี้ พระญาติวงศ์สกุลหวังเข้ากุมอำนาจปกครองต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ต่อมาไม่นาน หวังมั่ง ยึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จจากรัชทายาทของพระเจ้าฮั่นผิงตี้แล้วสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ตั้งชื่อราชวงศ์ของตนว่า ราชวงศ์ซิน

[แก้] ราชวงศ์ซิน : การปฏิรูปบ้านเมือง

หลังจากตั้งราชวงศ์ซินขึ้น หวังมั่งเริ่มการฟื้นฟูประเพณีเก่าตามแนวความเชื่อของตนเอง ตัวอย่างเช่น

  1. เวนคืนที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ ที่ดินของรัฐหรือนาหลวงไม่อนุญาตให้ซื้อขาย แล้วจำกัดจำนวนถือครองที่ดินของราษฎรไว้
  2. ห้ามการซื้อขายทาสอย่างเด็ดขาด
  3. ผูกขาดกิจการค้าเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันของราษฎร ได้แก่ เกลือ โลหะ เหล้า เหรียญกษาปณ์ ป่าไม้และแหล่งน้ำ แล้วยังให้มีการกู้ยืมเงินจากรัฐได้
  4. ปฏิรูประบบเงินตรา มีการยกเลิกเงิน 5 จู ของราชวงศ์ฮั่น แล้วสร้างเหรียญกษาปณ์ขึ้นใหม่
  5. ฟื้นฟูระบบปูนตำแหน่งศักดินาและที่ดินของราชวงศ์โจวขึ้นใหม่ แบ่งดินแดนเป็น 9 เขตอย่างสมัยโบราณ

[แก้] การล่มสลายของราชวงศ์ซิน

การปฏิรูปของหวังมั่งสร้างความสับสนวุ่นวายในทางเศรษฐกิจ หลายมาตรการเพิ่มภาระและบีบคั้นราษฎรมาก ทำให้สังคมสั่นคลอน นอกจากนั้นยังเกิดภัยแล้งและศัตรูพืชทำลายผลผลิตติดต่อหลายปี ราษฎรเริ่มต่อต้านการปกครองของหวังมั่งและรวมตัวกัน กลุ่มต่อต้านที่ใหญ่และทำลายราชวงศ์นี้ลงได้ คือ กองกำลังชงหลิงของ หลิวเยี่ยน หลิวซิ่ว สองพี่น้องราชนิกุลในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หวังมั่นนำกองทัพจำนวนสี่แสนคนมุ่งลงใต้เพื่อปราบกบฏกลุ่มนี้ แต่ถูกตีแตกพ่ายที่คุนหยัง (อำเภอเยี่ยเซี่ยน เหอหนานปัจจุบัน) ปีค.ศ. 23 กองทัพกบฏบุกยึดเมืองฉางอานได้ หวังมั่งถูกประหาร ราชวงศ์ซินที่ก่อตั้งมา 15 ปี จึงสิ้นสุดอำนาจอย่างสมบูรณ์

[แก้] ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

เมื่อราชวงศ์ซินสิ้นสุดอำนาจ หลิวซิ่ว ซึ่งเป็นราชนิกุลในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและเป็นผู้นำกองทัพชงหลิงโค่นล้มราชวงศ์ซินเริ่มฟื้นฟูราชวงศ์ใหม่โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองลั่วหยัง แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮั่นกวงอู่ นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลาปกครองนี้ว่า อาณาจักรฮั่นตะวันออก ช่วงต้นราชวงศ์มีการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของราษฎร ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของบ้านเมือง เชิดชูหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อซึ่งเน้นคุณธรรมอันส่งผลให้เกิดกระแสที่ปัญญาชนกล้าวิจารณ์ราชสำนักเพิ่มขึ้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสามารถครองแผ่นดินจีนต่อเนื่องกันนาน 200 ปี ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมและการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์และขันทีอย่างดุเดือด

[แก้] ศึกชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที

หลายครั้งที่จักรพรรดิสิ้นพระชนม์กะทันหัน รัชทายาทผู้เยาว์วัยต้องขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งอาจเป็นพระราชชนนีหรือพระญาติวงศ์ การบริหารงานแทนจักรพรรดิทำให้บุคคลเหล่านี้ถือโอกาสกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายตนเพื่อเสริมสร่างอำนาจให้เข้มแข็งขึ้น ครั้นจักรพรรดิน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่กลับไม่ยินดีจะคืนพระราชอำนาจ พระองค์จึงต้องวางแผนชิงอำนาจคืนมาโดยอาศัยพวกขันทีสังหารพระญาติผู้เป็นต้นเหตุ ความช่วยเหลือของฝ่ายขันทีสร้างอำนาจครอบงำจักรพรรดิและราชสำนักแทนกลุ่มเดิมในท้ายที่สุด การแย่งชิงอำนาจและชัยชนะของฝ่ายใดก็ตามส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ตามปกติของข้าราชการ บ้านเมืองตกอยู่ในบรรยากาศของความหวาดระแวงกันและระส่ำระสายหนักขึ้น อันกลายเป็นสาเหตุหนึ่งในการล่มสลายของราชวงศ์นี้

[แก้] การต่อต้านของพวกปัญญาชน

ช่วงกลางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกซึ่งขันทีครองอำนาจในแผ่นดินและครอบงำจักรพรรดิไว้ บรรดาปัญญาชนซึ่งถือเป็นบัณฑิตผู้รู้หนังสือต่างวิจารณ์อิทธิพลของเหล่าขันทีซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน บ้านเมืองปั่นป่วน บัณฑิตบางคนร่วมมือกับขุนนางในราชสำนักก่อกบฏ ดังเช่น หลี่อิงและเฉินฝาน บัณฑิตสมัยพระเจ้าฮั่นหวนตี้ หรือ โต้วอู่ พระญาติวงศ์ซึ่งไม่พอใจพวกขันทีในสมัยพระเจ้าฮั่นหลิงเต้ เป็นต้น

[แก้] ยุคมืดช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

บรรดาขันทีสามารถสยบกลุ่มต่อต้านได้ จึงเหิมเกริมและผยองใจมากขึ้น การกุมอำนาจในราชสำนัก การเชื่อฟังของจักพรรดิ สร้างความระส่ำระสายในสังคม ราษฎรไม่พอใจการบริหารตามอำเภอใจของเหล่าขันที แรงบีบคั้นต่างๆกระตุ้นให้ประชาชนลุกขึ้นต่อต้านผู้ปกครอง กลายเป็นกบฏประชาชน ราชสำนักจึงเพิ่มอำนาจให้ขุนนางท้องถิ่นเพื่อรับมือกับกบฏ ทำให้พวกขุนนางเหล่านั้นมีกำลังทหารเป็นของตนเอง จึงฉวยโอกาสนี้สร้างอำนาจและเพิ่มกำลังคนจนกลายเป็นขุนศึกแล้วแบ่งแยกดินแดนออกเป็นเอกเทศ ต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) ถือเป็นขุนศึกรุ่นแรกที่มีบทบาทโดดเด่นของยุคนี้

[แก้] การกวาดล้างพวกขันทีและการสิ้นสุดของราชวงศ์อันยิ่งใหญ่

เมื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัวนำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋ว) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี ค.ศ. 220 เฉาเชาเสียชีวิตลง บุตรชายของเขา คือ เฉาพี (โจผี) ขึ้นสืบทอดตำแหน่งแทน แล้วถอดถอนพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์

[แก้] ยุคสามก๊ก

ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ภายใต้การบังคับและครอบงำของเฉาเชา เหล่าขุนศึกต่างครอบครองดินแดนของตน กองทัพของหยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว)และของเฉาเชา (โจโฉ) มีอำนาจในบริเวณตอนกลางและตอนปลายของลุ่มแม่น้ำฮวงโห ถือเป็นกองกำลังทหารที่มีอำนาจสูงสุดทางภาคเหนือ ต่อมาเฉาเชาโจมตีเอาชนะกองทัพของหยวนเซ่าได้สำเร็จ จึงรวบรวมดินแดนทางเหนือทั้งหมดเป็นของฝ่ายตน ส่วนภาคใต้บริเวณตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเขตอิทธิพลของหลิวเปี่ยวซึ่งอยู่ในสภาวะสงบและมั่นคง ถือเป็นดินแดนสันติสุข ด้านตอนปลายแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ในอำนาจของซุนเฉวียน (ซุนกวน) มีฐานะทางการเมืองมั่นคงเช่นกัน

[แก้] สงครามเซ็กเพ็ก (ชื่อปี้)

ปี ค.ศ. 208 เฉาเชาส่งกองทัพลงใต้เพื่อโจมตีเขตอิทธิพลของหลิวเปี่ยว โดยใช้กองทัพเรือจิงโจวบุกประชิด ซินเหยี่ย (ซินเอี๋ย) ทั้งทางบกและทางน้ำ ระหว่างสงครามนั้นหลิวเปี่ยวป่วยและสิ้นชีวิต บุตรชายของเขายอมจำนนต่อเฉาเชา แต่ หลิวเป้ย (เล่าปี่) ซึ่งอาศัยอยู่กับหลิวเปี่ยวยังคงตั้งรับข้าศึก ไม่ยอมจำนน แล้วส่ง กุนซือ จูเก๋อเลี่ยง (ขงเบ้ง) ไปเจรจาขอความช่วยเหลือจาก ซุนเฉวียน (ซุนกวน) ซึ่งต้องการพันธมิตรต่อต้านเฉาเชาที่มีเจตนารมณ์รวบรวมแผ่นดินทั้งหมดเป็นของฝ่ายตน จึงส่งแม่ทัพ โจวอี่ (จิวยี่) ไปสมทบกับกองทหารของหลิวเป้ยโดยประจันหน้ากันอยู่คนละฝั่งลำน้ำเซ็กเพ็ก

[แก้] กลยุทธเผด็จศึกเฉาเชา

กองทัพของเฉาเชาเดินทางไกลจากทางเหนือสู่ภาคใต้ ทหารย่อมมีความอ่อนล้ามากและไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศทางใต้ กองทัพพันธมิตรของซุนเฉวียนและหลิวเป้ยใช้ทิศทางลมมรสุมเป็นหัวใจของชัยชนะศึกครั้งนี้ ด้วยการใช้ไฟเผากองทัพเรือของเฉาเชาและแรงลมพัดโหมหนักจนวอดวาย แล้วยังลุกลามไปเผาค่ายทหารบนบกจนเสียหายหนัก กองทหารถูกพวกพันธมิตรของสองก๊กโจมตีหนักและล้มตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของกองพลทั้งหมด ในที่สุดเฉาเชาต้องถอนทัพกลับภาคเหนือไปอย่างพ่ายแพ้หมดรูป กลยุทธครั้งนี้กลายเป็นตัวอย่างของการใช้กำลังน้อยเอาชนะข้าศึกซึ่งมีมากกว่า อันให้สมญานามว่า กลยุทธเซ็กเพ็ก

[แก้] เขตอำนาจของสามก๊ก

หลังจากสิ้นสงครามเซ็กเพ็กแล้ว อำนาจในแผ่นดินแบ่งเป็น 3 ฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

  1. วุ่ยก๊ก ของ เฉาเชา (โจโฉ) มีอำนาจบริเวณแถบลุ่มแน่น้ำฮวงโห ถือเป็นรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด มีขุนพลและที่ปรึกษาผู้มีความสามารถเป็นกำลังจำนวนมาก โดยเฉพาะขุนนางในตระกูลซือหม่า
  2. ง่อก๊ก ของ ซุนเฉวียน (ซุนกวน) ครองอำนาจที่ปากแม่น้ำแยงซีเกียง มีแม่ทัพ โจวอี่ (จิวยี่) ผู้ชาญฉลาดและมีความภักดีเป็นกำลังสำคัญ
  3. จ๊กก๊ก ของ หลิวเปี้ย (เล่าปี่) มีอิทธิพลในแถบชิงอี้โจวกับฮั่นจง มีมิตรสหายที่เก่งกาจและซื่อสัตย์ยิ่ง อีกทั้งยังมีชื่อเสียงเลื่องลือทั่วแผ่นดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน คือ กุนซือ จูเก๋อเลี่ยง (ขงเบ้ง) ขุนศึก 3 คน คือ กวนอี่ (กวนอู) จังเฟย (เตียวหุย) เจ้าอวิ๋น (จูล่ง) แต่ถือเป็นรัฐอ่อนแอที่สุด

[แก้] การรวมสามก๊กเป็นหนึ่งเดียว

ความขัดแย้งระหว่างซุนเฉวียนกับหลิวเป้ยมีมาต่อเนื่องจากเรื่องการยึดดินแดนบางส่วนของหลิวเป้ยและเรื่องซุนเฉวียนสังหารกวนอี่ (กวนอู) พี่น้องร่วมสาบานของหลิวเป้ย เมื่อเขาสถาปนาอาณาจักรจ๊กก๊กอย่างเป็นทางการและตั้งตนเป็นเจ้า จึงเริ่มภารกิจแก้แค้นให้กวนอี่โดยไม่ฟังคำทัดทาน ของกุนซือจูเก๋อเลี่ยง (ขงเบ้ง) แล้วต้องพ่ายแพ้กลับมาและสิ้นชีวิตในเวลาต่อมา กุนซือของเขายังคงพยายามตีเมืองเหนือตามปณิธานของประมุขต่อเนื่อง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากกุนซือจูเก๋อเลี่ยงสิ้นชีวิต ทายาทของหลิวเป้ยไม่มีความสามารถเพียงพอ ทำให้จ๊กก๊กของหลิวเป้ยอ่อนแอลง ส่วนวุ่ยก๊กของเฉาเชาซึ่งเสียชีวิตไป ทายาทของเขามิอาจรักษาอำนาจไว้ได้ จึงถูกสองพ่อลูกตระกูลซือหม่าแย่งชิงการครองแผ่นดินไป ซือหม่าเจา (สุมาเจียว) นำทหารบุกตีพวกจ๊กก๊กของหลิวเป้ยแตก (ยุคหลังจากกุนซือจูเก๋อเลี่ยงสิ้นชีวิตแล้ว) แล้วยึดครองแผ่นดินส่วนนั้นไว้ ต่อมา ซือหม่าเหยียน (สุมาเอี๋ยน) บุตรชายของสุมาเจียวสถาปนาตนเป็นจักรพรรดินามว่า พระเจ้าจิ้นอู่ตี้ ซึ่งถือเป็นต้นราชวงศ์จิ้น ในปี ค.ศ. 280 พระองค์นำกองทัพบุกตีง่อก๊ก ของ ซุนเฉวียน (ซุนกวน) แตก ถือเป็นการวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ

[แก้] ราชวงศ์จิ้นตะวันตก, ราชวงค์จิ้นตะวันออก, ยุคสิบหกแคว้น, ราชวงศ์เหนือใต้: ยุคมืดของจีน

ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 808-1131 ซือหม่าเอี๋ยน(司马炎)สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสตศักราช 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของสามก๊กก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง

ราชวงศ์จิ้นเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้ โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจลาจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน (刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ (汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ (晋愍帝)ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย

ราชวงศ์จิ้นตะวันออกก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพโยกย้ายราชธานีของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี

การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน

สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนู (匈奴)เซียนเปย(鲜卑) เจี๋ย (羯)ตี(氐)เชียง(羌) 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่

  1. เฉิงฮั่น(成汉) ตี ค.ศ. 304 – 347
  2. ฮั่นเจ้า(汉赵) ซงหนู ค.ศ. 304 – 329
  3. เฉียนเหลียง(前凉) ฮั่น ค.ศ. 317 – 376
  4. สือเจ้า(石赵) เจี๋ย ค.ศ. 319 – 351
  5. เฉียนเอี้ยน(前燕) เซียนเปย ค.ศ. 337 – 370
  6. หรั่นวุ่ย(冉魏) ฮั่น ค.ศ. 350 – 352
  7. เฉียนฉิน(前秦) ตี ค.ศ. 350 – 394
  8. โฮ่วฉิน(后秦) เชียง ค.ศ. 384 – 417
  9. โฮ่วเอี้ยน(后燕) เซียนเปย ค.ศ. 384 – 407
  10. ซีเอี้ยน(西燕) เซียนเปย ค.ศ. 384 – 394
  11. ซีฉิน(西秦) เซียนเปย ค.ศ. 385 – 431
  12. โฮ่วเหลียง(后凉) ตี ค.ศ. 386 – 403
  13. หนันเหลียง(南凉) เซียนเปย ค.ศ. 397 – 414
  14. หนันเอี้ยน(南燕) เซียนเปย ค.ศ. 398 – 410
  15. ซีเหลียง(西凉) ฮั่น ค.ศ. 400 – 421
  16. ซีสู(西蜀) ฮั่น ค.ศ. 405 – 413
  17. เซี่ย(夏) ซงหนู ค.ศ. 407 – 431
  18. เป่ยเอี้ยน(北燕) ฮั่น+เฉาเสี่ยน(เกาหลี) ค.ศ. 407 – 436
  19. เป่ยเหลียง(北凉) ซงหนู ค.ศ. 401 – 439
  20. ไต้(代) เซียนเปย ค.ศ. 315 – 376

[แก้] ราชวงศ์เหนือ (ค.ศ. 386 – 581)

หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง( ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) จากนั้นทยอยกวาดล้างกลุ่มอำนาจอิสระที่เหลือ ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือในที่สุด (ค.ศ. 439)บ้านเมืองมีความสงบและมั่นคงขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง

จนกระทั่งรัชสมัยเสี้ยวเหวินตี้(孝文帝)ขึ้นครองราชย์(ค.ศ. 471 – 499) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งทำให้เกิดการเร่งกระบวนการหลอมรวมทางวัฒนธรรมขนานใหญ่ ภายใต้นโยบาย ‘ทำให้เป็นฮั่น’ อาทิ การใช้ภาษาฮั่นในราชสำนัก ให้ชาวเซียนเปยหันมาสวมใส่เสื้อผ้าของชาวฮั่น หรือแม้แต่เปลี่ยนมาใช้แซ่ตามแบบของชาวฮั่น* เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มชนเผ่ากับชาวฮั่นมากขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้วิธีการผูกสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วยการแต่งงานระหว่างชาวฮั่นและเซียนเปย ขณะที่ในทางการเมืองก็เพิ่มปริมาณชาวฮั่นที่เข้ารับข้าราชการเป็นขุนนางมากขึ้น รวมทั้งยังหันมาใช้ระบบการบริหารบ้านเมืองตามระเบียบปฏิบัติของชาวฮั่น และในปี 493 เสี้ยวเหวินตี้ทรงย้ายเมืองหลวงเข้าสู่ภาคกลาง – เมืองลั่วหยาง การปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคนนี้ได้ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของดินแดนทางตอนเหนือรุดหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็กลับสร้างความไม่พอใจในหมู่ชนชั้นสูงและผู้มีอำนาจทางทหารของชนเผ่า

เมื่อถึงปี 534 เสี้ยวอู่ตี้(孝武帝)เนื่องจากทรงขัดแย้งกับเกาฮวน(高欢)ที่กุมอำนาจในราชสำนัก จึงหลบหนีจากเมืองหลวง เพื่อขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่(宇文泰)ที่เมืองฉางอัน ฝ่ายเกาฮวนก็ตั้งเสี้ยวจิ้งตี้(孝静帝)กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยย้ายเมืองหลวงไปเมืองเย่ (邺)หรือเมืองอันหยางมณฑลเหอหนันในปัจจุบัน ทางประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า วุ่ยตะวันออก (ค.ศ. 534 – 550) ส่วนเสี้ยวอู่ตี้หลังจากไปขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่ได้ไม่นานก็ถูกสังหาร จากนั้นในปี 535 อี่ว์เหวินไท่ก็ตั้งเหวินหวงตี้(文皇帝)ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองฉางอัน ประวัติศาสตร์จีนเรียก วุ่ยตะวันตก (ค.ศ. 535 – 557)

ต่อมาไม่นาน หลังจากเกาฮวนสิ้น บุตรชายเกาหยาง(高洋)ปลดฮ่องเต้หุ่น สถาปนา เป่ยฉี ส่วนวุ่ยตะวันตกก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน อี่ว์เหวินเจวี๋ย(宇文觉)บุตรชายของอี่ว์เหวินไท่ สถาปนา เป่ยโจว

เป่ยฉี (北齐) (ค.ศ. 550 – 577) ที่มีรากฐานจากวุ่ยตะวันออก เดิมทีบ้านเมืองค่อนข้างเข้มแข็ง แต่เนื่องจากกษัตริย์รุ่นต่อมาล้วนเลวร้ายและโหดเหี้ยม ทั้งมากระแวง เปิดฉากฆ่าฟันทายาทตระกูลหยวน ซึ่งเป็นเชื้อสายจากราชวงศ์เป่ยวุ่ยและบรรดาขุนนางชาวฮั่นไปมากมาย ทำให้ราชวงศ์เป่ยฉีสูญเสียความชอบธรรมและการสนับสนุนจากกลุ่มชนเผ่าเซียนเปยเองและกลุ่มชาวฮั่น อันเป็นเหตุแห่งความล่มสลายในปี 577 เป่ยฉีก็ถูกเป่ยโจวกวาดล้าง

เป่ยโจว(北周) (ค.ศ. 557 – 581) ที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับเป่ยฉี โดยแทนที่วุ่ยตะวันตก ในระยะแรกมีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่าเป่ยฉี แต่เนื่องจากกษัตริย์โจวอู่ตี้(周武帝) (ครองราชย์ปีค.ศ. 561-579) มีการบริหารการปกครองที่ได้ผล ทำให้เป่ยโจวทวีความเข้มแข็งขึ้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปฏิรูประบบกองกำลังทางทหาร โดยผสมผสานการเกณฑ์กำลังพลรบเข้ากับระบบกำลังการผลิต จนกระทั่งสามารถล้มล้างเป่ยฉี รวมแผ่นดินภาคเหนือเข้าด้วยกันในปี 577

ต่อมาปี 578 อู่ตี้สิ้น หลังจากนั้นเป็นต้นมา กำลังทางทหารของเป่ยโจวค่อยๆโยกย้ายสู่มือของหยางเจียน (杨坚)ผู้เป็นพ่อตาและญาติ เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ

[แก้] ราชวงศ์สุย : ช่วงฟื้นฟู

สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160)

หยางเจียน(杨坚)ถือกำเนิดจากตระกูลขุนนางชั้นสูงในราชวงศ์เป่ยโจว ธิดาของหยางเจียนได้เป็นฮองเฮาในรัชสมัยโจวเซวียนตี้ เมื่อปี 580 โจวเซวียนตี้สิ้น มอบบัลลังก์ให้บุตรชายวัย 8 ขวบขึ้นเป็นโจวจิ้งตี้(周静帝) โดยมีหยางเจียนเป็นมหาเสนาบดีช่วยให้การดูแล แต่แล้วในปี 581 หยงเจียนปลดโจวจิ้งตี้ ตั้งตนเป็นสุยเหวินตี้ (隋文帝)(581 – 600) สถาปนาราชวงศ์สุย(隋朝)โดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองต้าซิ่ง (ซีอันในปัจจุบัน) จากนั้นดำเนินนโยบายผูกมิตรกับชนเผ่าทูเจี๋ยว์ตะวันออก(เติร์ก) ทางเหนือ จากนั้นจัดกำลังบุกลงใต้ และเข้ายึดเมืองเจี้ยนคังนครหลวงของราชวงศ์เฉินได้ในปี 589 ยุติสงครามแบ่งแยกดินแดนที่ดำเนินมากว่า 270 ปีได้ในที่สุด

ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการแก่งแย่งอำนาจและเป็นการลิดรอนอำนาจในส่วนท้องถิ่น อันเป็นสาเหตุของการแตกแยกที่ผ่านมา พร้อมกันนั้นยังได้ริเริ่มระบบการสอบรับราชการขุนนางขึ้น (หรือที่รู้จักกันในนาม ‘สอบจอหงวน’) เพื่อคัดเลือกบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน และได้ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในระบบรวมศูนย์อำนาจเป็นอย่างดี

สุยเหวินตี้ทรงนับถือพุทธศาสนา โปรดการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายประหยัด ตลอดรัชสมัยมีฮองเฮาเพียงพระองค์เดียว ขณะที่รัชทายาทหยางหย่งกลับเลี้ยงดูสนม นางระบำไว้มากมาย ปี 600 สุยเหวินตี้ ทรงปลดรัชทายาทหยางหย่ง(杨勇) แต่งตั้งราชโอรสองค์รองหยางกว่าง(杨广)ขึ้นแทน หยางกว่างร่วมมือกับอวี้เหวินซู่และหยางซู่ วางแผนแย่งชิงบัลลังก์ ปี 604 สุยเหวินตี้ สิ้นพระชนม์กะทันหัน หยางกว่างสืบราชบัลลังก์ต่อมา มีพระนามว่า สุยหยางตี้(隋炀帝)

หยางกว่างเมื่อขึ้นครองราชย์ก็ลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจ ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เกณฑ์แรงงานชาวบ้านนับล้านสร้างนครหลวงตะวันออกแห่งใหม่ที่ลั่วหยาง และอุทยานตะวันตกที่มีอาณาบริเวณกว่า 100 กิโลเมตร ซ่อมสร้างกำแพงหมื่นลี้ ยกทัพบุกเกาหลี**สามครั้ง ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วน นอกจากนี้ ยังขุดคลองต้าอวิ้นเหอ*** เพื่อการท่องเที่ยวแดนเจียงหนัน สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ชาวบ้านอดอยากได้ยาก มีประชาชนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารและแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นคนจรหมอนหมิ่น ไร้ที่อยู่อาศัย

ปี 617 กองกำลังหวากั่งเข้าประชิดนครหลวงตะวันออกลั่วหยาง ขณะนั้น สุยหยางตี้เสด็จประพาสเจียงหนัน เหลือเพียงกองกำลังของหยางต้ง(杨侗)ที่เป็นเชื้อพระวงศ์เฝ้าเมืองลั่วหยางไว้ สุยหยางตี้เรียกระดมพลของหวังซื่อชง(王世充)ซึ่งประจำอยู่ที่เจียงตู มาช่วยรักษาเมืองลั่วหยางโดยรอบ แต่ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองกำลังหวากั่ง ราชสำนักสุยถูกเหล่ากองกำลังที่ลุกฮือขึ้นบุกโจมตีจนสูญเสียพื้นที่โดยรอบไป หลี่ยวนที่เฝ้ารักษาเมืองไท่หยวนในซันซีก็ฉวยโอกาสรุกเข้าฉางอัน ตั้งตนเป็นใหญ่ที่แดนไท่หยวน

ระหว่างนั้น อวี่เหวินฮั่วจี๋(宇文化及)สมคบกับซือหม่าเต๋อคัน(司马德戡)แม่ทัพกองกำลังรักษาพระองค์และทหารองครักษ์ลุกฮือขึ้นก่อการที่เมืองเจียงตู(เมืองหยังโจว มณฑลเจียงซู) สังหารสุยหยางตี้ ในปี 618 หลี่ยวนเมื่อทราบข่าวก็ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ถัง บรรดานายทัพที่คุมกองกำลังต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ แม้ว่าหวังซื่อชงจะยอมยกให้หยางต้งในลั่วหยางขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่ในเวลาไม่นานก็ใช้กำลังบุกเข้าลั่วหยางยึดเป็นฐานที่มั่นของตน

[แก้] ราชวงศ์ถัง : กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน เเสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงอยู่ที่ฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงเเล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องเเละเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง อานลู่ซานเเม่ทัพชายเเดนจึงก่อกบฎเเละยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งเเต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1550

[แก้] ยุคห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร

ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแน่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี

[แก้] อาณาจักรเหลียว

เผ่าชีตานเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนเผ่าชีตานรวมตัวเป็นอาณาจักรขึ้น ใช้ระบบการปกครองแบบชาวฮั่นและประดิษฐ์อักษรใช้เอง ต่อมาได้ครอบครองเขตปกครองเยียนและอวิ๋น 16 ท้องที่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรเหลียว มีการพัฒนาบ้านเมืองและกองทหารเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ ถือเป็นศัตรูสำคัญของอาณาจักรซ่งหรือซ้องเหนือในเวลาต่อไป

[แก้] อาณาจักรซีเซี่ย

ซีเซี่ย เป็นชนรุ่นหลังของเผ่าเชียงซึ่งรวบรวมตัวกันเป็นอาณาจักรซีเซี่ย รัชสมัยพระเจ้าซ่องเหรินจง ซีเซี่ยมีอาณาเขตตั้งอยู่ทางตะวันตกของอาณาจักรซ้องหรือซ่ง นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ซีเซี่ย (เซี่ยตะวันตก) หลังจากตั้งอาณาจักรได้แล้ว ผู้นำชนเผ่ามีแนวคิดขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง จึงทำศึกกับแผ่นดินซ้องหรือซ่งหลายครั้ง ทหารซ้องมักพ่ายแพ้เป็นประจำ ทำให้ยึดดินแดนจีนได้มาก ด้วยการทำศึกเป็นประจำส่งผลกระทบต่อการค้าขายระหว่างกัน เสบียงอาหารจากแผ่นดินซ้องขาดชะงักบ่อยครั้ง สร้างความลำบากแก่ชาวซีเซี่ยและกองทหารอ่อนกำลังลง จึงเริ่มมีการเจรจาทางไมตรีกับราชสำนักซ้อง โดยซีเซี่ยยอมเป็นข้าราชบริพารของราชวงศ์ซ้อง ฝ่ายรัฐบาลซ้องส่งเงิน ผ้าไหม และใบชา ให้ซีเซี่ยเป็นของไมตรีทุกปี อันถือเป็นภาระหนักของแผ่นดินซ้องท่ามกลางความไม่มั่นคงของจีน

[แก้] ราชวงศ์ซ้องหรือซ่ง

ปีค.ศ. 960 เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคเฟิง (เมืองไคเฟิงแห่งมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนปเนอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง

[แก้] ขุนนางพลเรือนสำคัญมากกว่าฝ่ายทหาร

นโยบายให้ขุนนางฝ่ายพลเรือนมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายทหารเพื่อป้องกันการยึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จทางทหาร ตัวอย่างเช่น วางระเบียบคุมทหารเข้มงวด เมื่อมีศึกสงครามจะส่งขุนนางฝ่ายพลเรือนหรือขันทีเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อคุมนายทัพ บางครั้งส่งผลกระทบต่อยุทธวิธีสงครามของกองทัพซ้องหรือซ่งเพราะผู้ควบคุมขาดความรู้ชำนาญทางทหาร การผลัดเปลี่ยนแม่ทัพนายกองเป็นประจำตามอำเภอใจของฝ่ายพลเรือน ทำให้กองทัพซ้องอ่อนแองลงตามลำดับ โดยเฉพาะทหารส่วนท้องถิ่น เมื่อเกิดสงครามที่ชนต่างเผ่ารุกรานจีน ทหารซ้องมักพ่ายแพ้เป็นส่วนใหญ่

[แก้] การปฏิรูปรัชสมัยซ้องเหนือ

ช่วงกลางราชวงศ์ซ้องเหนือ บ้านเมืองเผชิญวิกฤตการณ์ต่างๆ เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง เงินคงคลังลดลงเพราะมีทหารกับขุนนางมากเกินไปเนื่องจากมีการทำสงครามกับเหลียวและซีเซี่ยติดต่อกันหลายปี จึงเรียกเก็บภาษีมากขึ้น จำเป็นต้องเร่งรัดปฏิรูปเพื่อให้รัฐมั่นคงและมั่งคั่ง สมัยพระเจ้าซ่งเรินจงนำแผนปฏิรูปของ ฟันจ้งเหยียน ไปใช้ปฏิบัติทั่วทั้งอาณาจักร เรียกว่า การปกครองใหม่ชิ่งลี่ แต่ไม่ถึงปีก็ต้องยกเลิกเพราะขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยมคัดค้านแข็งขัน ต่อมา หวังอานสือ เสนอปรับเปลี่ยนระบบการปกครองเก่าต่อพระเจ้าซ่งเสินจงและได้รับความเห็นชอบโดยแต่งตั้งเขาเป็นอัครมหาเสนาบดีเพื่อดำเนินแผนปฏิรูปดังกล่าวทั้งการปกครอง การทหาร และการคลัง ภายใน 15 ปีสามารถเพิ่มรายได้แก่รัฐบาล ความแข็งแกร่งทางทหารเพิ่มขึ้น หลังจากพระเจ้าซ่งเสินจงสวรรคต งานปฏิรูปจึงถูกยกเลิกไป กลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มปฏิรูปเปิดศึกชิงอำนาจกันนานถึง 50 ปี ส่งผลกระทบให้การเมืองเลวร้ายแล้วล่มสลายในที่สุด

[แก้] อาณาจักรจินกับการล่มสลายของราชวงศ์ซ้องเหนือ

ชนเผ่าหนี่เจินอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เดิมถูกปกครองโดยอาณาจักรเหลียว ต่อมาพัฒนาแข็งแกร่งขึ้น จึงก่อสร้างอาณาจักรจิน แล้วต่อสู้ยึดครองดินแดนของอาณาจักรเหลียวหลายครั้ง พระเจ้าซ่งฮุ่ยจงเจรจาร่วมมือทำสงครามกับอาณาจักรจินโดยแบ่งดินแดนและผลประโยชน์กัน ท้ายที่สุดด้วยความพ่ายแพ้ของกองทัพซ้องทำให้กองทัพจินเรียกค่าผิดข้อตกลงกันด้วยการจ่ายเงินแลกดินแดนที่ควรเป็นของจีน หลังจากเสร็จศึกสงครามเหลียวแล้วอาณาจักรจินส่งกองทัพบุกโจมตีจีนเพื่อยึดครองอาณาจักรราชวงศ์ซ้องเหนือซึ่งอ่อนแอมาก ในที่สุดยึดเมืองไคเฟิงสำเร็จ ปล้นสดมภ์เมืองต่างๆที่กองทัพเดินผ่าน ต่อมาปีค.ศ. 1127 จับพระเจ้าซ่งฮุยจง (บิดา) ซ่งชินจง (ราชบุตร) พระสนมและพระญาติวงศ์ส่วนหนึ่งไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรจิน เราเรียกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ว่า “ทุกขภัยสมัยจิ้นคัง” ราชวงศ์ซ้องเหนือถึงกาลล่มสลายลงอย่างสมบูรณ์

[แก้] ราชวงศ์ซ้องหรือซ่งใต้

เมื่อกองทัพจินนำกษัตริย์จีนสองพระองค์ไปเป็นตัวประกันในอาณาจักรจินและถอนทัพกลับทางเหนือ บรรดาขุนนางภักดีต่อราชวงศ์ซ้องพร้อมใจกันยก เจ้าโก้ว พระอนุชาของพระเจ้าซ่งชินจงขึ้นเป็นจักรพรรดิครองราชย์ที่เมือง อิ้งเทียน นครหนานจิง (ปัจจุบันคือ เมืองซังชิว มณฑลเหอหนาน) มีพระนามว่า พระเจ้าซ่งเกาจง เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ซ้องใต้ ต่อมาแม่ทัพจินยกทัพลงใต้มาตีจีนอีก พระเจ้าซ่งเกาจงหลบหนีออกทะเล ทหารจินเผาเมืองปล้นฆ่าชาวเมืองก่อนยกทัพกลับเหนือ หานซื่อจง แม่ทัพซ่งต่อสู้กับทหารจินที่สมรภูมิหวงเทียนตั้ง ใกล้เมืองเจิ้นเจียงอย่างดุเดือด โดยมี เหลียงหงอี้ ภรรยาของหานซื่อจงตีกลองช่วยรบด้วยตัวเอง กองทหาร จินแตกถอยกลับไปอันสร้างกำลังใจแก่ปวงราษฎร์อย่างมาก พระเจ้าซ่งเกาจงจึงเสด็จกลับจีน และตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมือง หลินอาน (ปัจจุบันคือ เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง)

[แก้] ขุนศึกลือนามทั้งแผ่นดิน “เย่เฟย”

นายทัพราชวงศ์ซ้องหรือซ่งใต้ที่ต่อต้านทหารจินอย่างห้าวหาญ มีชื่อเสียงเป็นที่เกรงขามของศัตรูแผ่นดินที่สุด คือ เย่เฟย ปีค.ศ. 1140 ทหารจินส่งกองทัพใหญ่ลงมาตีกองทัพซ้องเพื่อปล้นทรัพย์และดินแดน กองทัพเย่เฟยต่อสู้อย่างชาญฉลาดและเข้มแข็ง ทำลายกองทัพจินเสียหายหนัก แล้วยกทัพซ้องใต้รุกคืบไปทางเหนือห่างจากเมืองไคเฟิงซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอาณาจักรจินเพียง 40 กว่าลี้เท่านั้น แต่พระเจ้าซ่งเกาจงกับเสนาบดีฉินฮุ่ย ขุนนางกังฉินซึ่งแอบมีข้อตกลงกับพวกจินให้กำจัดขุนศึกเย่เฟยรีบเร่งสงบศึกด้วยการเรียกเย่เฟยกลับโดยส่งป้ายทองอาญาสิทธิ์ 12 ป้ายในวันเดียว และลงโทษประหารชีวิตด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง เวลานั้นหานซื่อจง แม่ทัพวีรบุรุษทวงถามคดีของเย่เฟย แต่กษัตริย์ซ้องใต้ไม่สนใจต่อชีวิตของขุนศึกผู้ภักดีต่อแผ่นดิน เขาจึงลาออกจากตำแหน่งและรอดพ้นจากการกำจัดของเสนาบดีฉินฮุ่ยได้ การบริหารประเทศของฉินฮุ่ย คือ กำจัดศัตรูทางการเมืองและกองทหารตามใบสั่งของพวกจิน ทำให้กองทัพซ้องใต้อ่อนแอลงและพ่ายแพ้ศึกกับพวกจินตลอดมา แล้วยังต้องทำสัญญาสงบศึกด้วยการแลกกับการสูญเสียอธิปไตยของชาติ

[แก้] มองโกลทำลายอาณาจักรจิน

ศตวรรษที่ 12 เผ่ามองโกลเป็นเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือของจีน เถี่ยมู่เจิน ผู้นำมองโกลสร้างอาณาจักรโดยรวมเผ่าเล็กต่างๆเข้าด้วยกันที่มีกำลังเข้มแข็ง ขนานนามตนเองว่า เจ็งกิสข่าน ช่วงนั้นจีนมีรัฐอิสระอยู่ 3 รัฐ คือ อาณาจักรซ้องใต้ อาณาจักรซีเซี่ย และอาณาจักรจิน เจ็งกิสข่านนำกองทัพมองโกลทำลายอาณาจักรซีเซี่ยลงด้วยตัวเอง ต่อมาเขาจึงมุ่งทำลายอาณาจักรจิน ฝ่ายอาณาจักรซ้องใต้จึงร่วมแรงโจมตีพวกจินด้วย ในที่สุดอาณาจักรจินจึงล่มสลายลง

[แก้] การล่มสลายของอาณาจักรซ้องใต้

เมื่อกองทัพมองโกลทำลายอาณาจักรซีเซี่ยกับอาณาจักรจินได้สำเร็จ จึงมีดินแดนเชื่อมต่อกับอาณาจักรซ้องใต้ ทำให้เกิดกรณีพิพาทชายแดนบ่อยครั้ง ต่อมากุบไลข่านขึ้นครองอำนาจจึงเปลี่ยนชื่อแผ่นดินเป็น อาณาจักรหยวน แล้วเตรียมบุกโจมตีพวกซ้องใต้ กองทัพหยวนบุกยึดเมืองเซียงหยาง เป็นอันดับแรก ตามด้วยเมือง หลินอาน จับพระเจ้าซ่งเกาตี้เป็นเชลย ทหารกับราษฎรตามพื้นที่ต่างๆของอาณาจักรยืนหยัดต่อต้านกองทัพหยวนเต็มที่ ลู่ซิวฟู ขุนนางผู้ภักดีของราชวงศ์ซ้องใต้แบกพระเจ้าซ่งตีปิ่งวัย 8 ชันษาซึ่งสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ต่อมากระโดดทะเลพลีชีพตายเมื่อกองทัพหยวนบุกไล่ล่าไปยังภูเขาหยาซานอันเป็นที่ซ่อนตัว ราชวงศ์ซ้องใต้จึงถึงกาลอวสาน


[แก้] ราชวงศ์หยวน (มองโกล)

หยวนชื่อจู่หรือกุบไลข่านเป็นปฐมจักรพรรดิหลังจากสามารถตีราชวงศ์ซ่งได้ ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งเเรก มีการเเบ่งชนชั้น4ชนชั้น1.มองโกล2.อิสามหรือชาวต่างประเทศ3.ชาวจีนทางภาคเหนือ4.ชาวจีนทางภาคใต้ มีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น เเต่ไม่ประสบความสำเร็จ เเต่สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มากหลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนเเรง จนเกิดกบฎ เเละสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆเเละขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากเเผ่นดินจีนได้สำเร็จ เเละจูหยวนจางสถาปนาราชวงศ์หมิง มีรายละเอียดดังนี้

[แก้] ราชวงศ์หยวนอันเกรียงไกร

ปี ค.ศ. 1257 เมิงเกอข่านของมองโกลกับน้องชาย คือ กุบไลข่าน ซึ่งเป็นหลานของเจงกีสข่าน นำกองทัพบุกตีอาณาจักรซ่ง ระหว่างการทำสงครามพี่ชายได้รับบาดเจ็บถึงแก่ชีวิต กุบไลข่านต้องถอนทัพกลับแล้วตั้งตนขึ้นเป็นข่านโดยไม่ได้ผ่านการคัดเลือกตามระบบจารีตของเผ่า จากนั้นเปลี่ยนชื่ออาณาจักรมองโกลเป็น ต้าหยวน ซึ่งหมายถึง การเริ่มต้นครั้งสำคัญ โดยสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและย้ายเมืองหลวงไปที่ เยียนจิง (ปักกิ่งในปัจจุบัน) แล้วเปลี่ยนไปใช้ชื่อ ต้าตู กุบไลข่านเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวนทรงพระนามว่า พระเจ้าหยวนซื่อจู่

[แก้] อาณาเขตแผ่นดินหยวนทั้งเอเชียและยุโรป

ปี ค.ศ. 1279 พระเจ้าหยวนซื่อจู่ยกทัพตีทำลายราชวงศ์ซ่ง แผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง สถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นบนแผ่นดินจีน อาณาเขตเริ่มจากทิศตะวันออกที่เกาหลี สิ้นสุดที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรอินเดีย ด้านเหนือจรดไซบีเรีย ถือเป็นมหาอาณาจักรแรกที่ครองพื้นที่ทั้งเอเชียและยุโรป

[แก้] การแบ่งชนชั้นในแผ่นดินหยวน

จักรพรรดิหยวนมีนโยบายปกครองเหี้ยมโหด เข้มงวด เพื่อควบคุมชนชาติพื้นเมืองในจีน โดยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น คือ ชนชั้นที่ 1 คือ ชาวมองโกลทั่วไป ฐานะทางสังคมสูงสุด ชนชั้นที่ 2 คือ ชาวเซ่อมู่ (หลากหลายพันธุ์) หมายถึง ชนเผ่าต่างๆของดินแดนทางตะวันตกและพวกซีเซี่ย ชนชั้นที่ 3 คือ ชาวฮั่น หมายถึง พวกที่เคยถูกอาณาจักรจินปกครองมาก่อน เช่น ชาวฮั่นทางเหนือ ชาวชี่ตาน ชาวหนี่เจิน ชนชั้นที่ 4 คือ ชาวใต้ หมายถึง ชาวฮั่นใต้แม่น้ำแยงซีเกียง และ ชนชาติอื่นๆ มีฐานะต่ำที่สุด ผลที่เกิดจากการแบ่งชนชั้น คือ สิทธิในการรับราชการ โทษอาญาที่ชาวมองโกลทำร้ายชาวฮั่นจะเบาที่สุด กฎหมายห้ามการตอบโต้จากชนชั้นต่ำกว่าเมื่อชาวมองโกลทุบตีพวกเขา ห้ามชาวฮั่นเรียนหนังสือ การปกครองดูแลประเทศที่มิได้มาจากความเมตตาและความเท่าเทียมกัน เกิดความระแวงใจกันสร้างแรงกดดันแก่ชนชั้นต่างๆที่ถูกรังแกหรือเดียดฉันท์ เมื่อสะสมยาวนานจึงระเบิดออกทำลายล้างราชวงศ์หยวนลงในท้ายที่สุด

[แก้] สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์หยวนอันแสนสั้น

แม้จะมีอาณาเขตกว้างขวางทั้งเอเชียกับยุโรป แต่การปกครองของชาวมองโกลที่เข้มงวด โหดเหี้ยม มิได้มีพื้นฐานจากความเมตตาอันเป็นคุณธรรมของนักปกครองบ้านเมือง สร้างปัญหาสั่งสมยาวนานในทุกชนกลุ่มของอาณาจักรใหญ่ มันบ่อนทำลายความเข้มแข็งของผู้ปกครองชาวมองโกลซึ่งมีเวลาครองอำนาจเพียงประมาณ 99 กว่าปีเท่านั้นก็ถึงกาลล่มสลาย โดยสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้

  1. เดิมทีนั้นชาวมองโกลชำนาญการรบ มิใช่การปกครอง การบริหารบ้านเมืองจึงสับสน เลือกใช้มาตรการไม่เหมาะกับสถานการณ์ มีความหวาดระแวงสูง กดขี่ข่มเหงชาวบ้านมากเกินควร
    1. ขุนนางมองโกลขูดรีด ฉ้อราษฎร์ เก็บภาษีสูงตามอำเภอใจ เศรษฐกิจพังทลาย ความอดอยากของชาวบ้านเพิ่มทวี
      1. การแบ่งชนชั้นประชาชนลุกลามไปถึงพระในศาสนาของชาวฮั่นซึ่งตัวแทนศาสนาลัทธิลามะซึ่งราชวงศ์หยวนนับถือต่างใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงเสมอ จึงสร้างความแค้นสะสมแก่ชาวบ้าน
        1. ชาวมองโกลแสวงหาความสุขสบายบนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ของชาวฮั่น จึงละเลยฝึกฝนการทหาร ทำให้กองทหารด้อยคุณภาพลง

[แก้] วาระสุดท้ายของอาณาจักรหยวน

ปัญหาสั่งสมในกลุ่มชาวบ้านทั้งแผ่นดินอันเกิดจากการบริหารประเทศของราชวงศ์หยวน นำไปสู่การก่อจลาจลตามเมืองต่างๆตอนปลายราชวงศ์ติดต่อกันนับสิบกว่าปี กอปรกับราชวงศ์หยวนพึ่งพากำลังทหารชำนาญรบเป็นหลัก แต่ระยะหลังกองทัพด้อยคุณภาพมาก เมื่อเผชิญหน้ากับกองทัพชาวบ้านที่เข้มแข็งและเต็มไปด้วยความแค้น จึงพบความพ่ายแพ้ต่อเนื่อง ลางร้ายแห่งการสูญเสียอำนาจเริ่มปรากฏให้เห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านของ จูหยวนจาง ซึ่งมีอำนาจอยู่แถบภาคกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำแยงซีเกียงเป็นกองทัพที่เข้มแข็งและคนมีคุณภาพมากที่สุด ปี ค.ศ. 1368 จูหยวนจาง ยกทัพขึ้นเหนือยึดเมืองหลวง ต้าตู ของราชวงศ์หยวนได้ พระเจ้าหยวนซุ่นตี้กับชนชั้นปกครองมองโกลหลบหนีออกนอกด่าน ราชวงศ์หยวนจึงสิ้นสุดลงนับแต่นั้นมา ความเกรียงไกรของกองทัพและอาณาเขตของนักรบมองโกลกลายเป็นตำนานที่ชาวโลกมิเคยลืมเลือนและยกย่องความสามารถของเหล่านักรบบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของเจงกีสข่านเรื่อยมาถึงกุบไลข่าน แม้พวกเขาจะมีเวลาครองอำนาจเหนือดินแดนเหล่านั้นน้อยนิดก็ตาม ประวัติศาสตร์ของโลกได้จารึกแสนยานุภาพของนักรบเอเชียบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปเป็นครั้งแรก มันคือปฐมบทแห่งการล่าอาณานิคมของโลกในยุคต่อมา

[แก้] ราชวงศ์หมิง การกลับสู่วัฒนธรรมจีน

ดูเพิ่มใน ราชวงศ์หมิง


[แก้] การล่มสลายของราชวงศ์หมิง และ แมนจูสร้างชาติ

ช่วงปลายราชวงศ์หมิง โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าหมิงซือจงมีการก่อจลาจลต่อเนื่องจากปัญหาสะสมของการปกครองที่มีช้านานและมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง สาเหตุของการจลาจลโดยประชาชน คือ

  1. การผนวกที่ดินของราษฎรให้ตกเป็นของจักรพรรดิ ขุนนาง และขันที ทำให้ราษฎรเสียกรรมสิทธิ์ที่ดิน กลายเป็นผู้เช่าทำนา หมดสิ้นความหวังในอนาคต
  2. ภาษีเบ็ดเตล็ด ปลายราชวงศ์หมิงมีการคุกคามจากศึกสงครามบ่อยครั้ง ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก จึงมีการขึ้นภาษีและกำหนดภาษีหลากประเภทเพิ่ม ราษฎรมิอาจแบกรับภาษีได้ จึงต้องหลบหนีและใช้ชีวิตเร่ร่อน ไร้อนาคต
  3. ความไม่พอใจของทหารและพลนำสาส์น การฉ้อราษฎร์บังหลวงของพวกขุนนางและขันที การเบียดยังเสบียงทหารหรือเบี้ยเลี้ยงทำกันมาช้านาน กลายเป็นความแค้นสั่งสมที่ทหารมีต่อจักรพรรดิและกลุ่มขุนนาง

เนื่องจากสมัยพระเจ้าหมิงซือจง มณฑลส่านซีเกิดภัยแล้งและโรคระบาด ทหารส่วนหนึ่ง ประชาชนผู้ยากไร้ รวมตัวกันต่อต้านราชวงศ์หมิง แล้วแผ่กระจายแนวคิดนี้ไปทุกท้องที่ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอิทธิพลสูง คือ กลุ่มของหลี่จื้อเฉิงและจางเซียนจง มีกำลังพลมากที่สุด หลี่จื้อเฉิงตั้งตนเป็น ฉ่วงหวัง ที่เมืองซีอาน เขานำกำลังพลบุกยึดเมืองปักกิ่งได้ในช่วงปี ค.ศ. 1644 พระเจ้าหมิงซือจงหนีออกจากพระราชวังแล้วผูกพระศอปลงพระชนม์ตนเองที่ ภูเขาเหมยซาน ของปักกิ่งนั่นเอง ราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดลงสมบูรณ์ อีกด้านหนึ่งทหารชิงอาศัยสถานการณ์วุ่นวายในเมืองปักกิ่งและการแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ หมิงพยายามนำกำลังทหารตีด่านซานไห่กวนเพื่อยึดครองแผ่นดินจีน แต่แม่ทัพ อู๋ซานกุ้ย รักษาด่านไว้เต็มความสามารถ จนกระทั่งคาดการณ์ว่าต้านทานได้มินาน กอปรกับทราบข่าวจากเมืองหลวงว่า หลี่จื้อเฉิงยึดพระราชวังได้แล้ว พระเจ้าหมิงซือจงปลงพระชนม์ตนเอง เขาเลือกจะยอมจำนนกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ช่วงตัดสินใจเขาได้ข่าวว่า หลี่จื้อเฉิงจับภรรยาน้อยนามว่า เฉินหยวนหยวน ผู้งดงามและเป็นคนโปรดของเขาไป ด้วยความโกรธแค้นเขาเลือกยอมจำนนต่อกองทัพชิง ทำให้ทหารชิงนำกองทัพบุกล้อมปักกิ่งอย่างง่ายดาย การตัดสินใจครั้งนี้อู๋ซันกุ้ยจึงถูกประณามจากชาวจีนจนถึงปัจจุบันว่า เป็นทหารหมิงทรยศต่อแผ่นดินเกิดและเห็นแก่ผู้หญิงมากกว่าหน้าที่ของทหาร ทั้งที่เขาเป็นแม่ทัพผู้เก่งกล้าและชาญฉลาดอย่างมาก หลังจากทหารชิงล้อมเมืองปักกิ่งซึ่งหลี่จื้อเฉิงครอบครองมาพักใหญ่ หลี่จื้อเฉิงมีกำลังพลน้อยกว่า จึงตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่ส่านซี ทหารชิงยึดเมืองปักกิ่งได้สำเร็จและย้ายเมืองหลวงของตนจากเมืองเสิ่นหยังไปยังเมืองปักกิ่ง จากนั้นกองทัพชิงจึงไล่ล่าโจมตีกองทหารของหลี่จื้อเฉิงและผู้นำคนอื่นถูกสังหารที่อู่ชัง ส่วนกองทหารของจางเซี่ยนจงถูกตีแตกพร้อมสังหารผู้นำได้ที่เสฉวน เมื่อพระเจ้าหมิงซือจงฆ่าตัวตายแล้ว ขุนนางและเชื้อพระวงศ์ผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิงหนีร่นไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ภาคใต้นานถึง 18 ปี นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “หมิงใต้ (หนานหมิง)” ต่อมาทหารชิงยกทัพใหญ่ลงทางใต้เพื่อกวาดล้างพวกหมิงใต้และกลุ่มต่อต้านทั้งหลาย ในที่สุดก็สามารถรวบรวมประเทศจีนเป็นเอกภาพได้อีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน

[แก้] ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิงปกครองแผ่นดินจีนช่วงที่รุ่งเรืองสูงสุดอยู่ในรัชศกคังซี (ค.ศ. 1662 – 1722) รัชศกหย่งเจิ้น (ค.ศ. 1723 – 1735) และรัชศกเฉียนหลง (ค.ศ. 1736 – 1795) ซึ่งรวมเวลากว่า 100 ปี ช่วงต้นราชวงศ์ชิงซึ่งเพิ่งครอบครองแผ่นดินจีน จึงยังมีกลุ่มต่อต้านชาวฮั่นที่มีอิทธิพลอยู่มาก การกำหนดแนวทางปกครองต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงโดยใช้ความประนีประนอมควบคู่กับความแข็งกร้าว

[แก้] แนวทางปกครองชาวฮั่นช่วงต้นรัชกาล

กษัตริย์ราชวงศ์ชิงพยายามผูกใจราษฎรไว้ด้วยนโยบายประนีประนอมต่อชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ลดความคิดต่อต้านชาวแมนจูของราชวงศ์ชิงลง โดย

  1. จัดพระราชพิธีศพและสร้างสุสานของพระเจ้าหมิงซือจงกับพระมเหสีอย่างสมพระเกียรติ
  2. เชิดชูขุนนางหมิงที่สละชีพเพื่อหมิงและดูแลขุนนางผู้สามิภักดิ์เป็นพิเศษ
  3. สืบทอดการคัดเลือกข้าราชการสมัยหมิง ส่งเสริมงานสมัยหมิงที่เป็นประโยชน์ต่อราชสำนักหรือประชาชนต่อเนื่อง
  4. ยกเลิกการปกครองที่ไม่ดีของสมัยหมิง เลิกหรือลดภาษี

ส่วนนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบผู้ต่อต้านชาวฮั่น กระทำโดย

  1. สังหารประชาชนที่ต่อต้านอย่างโหดเหี้ยม
  2. ห้ามรวมกลุ่มตั้งสมาคมเด็ดขาด เพื่อสกัดพลังมวลชน
  3. นำกฎหมายไปใช้ควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบที่ตนต้องการ
  4. สั่งให้ชาวฮั่นโกนผมไว้เปียตามแบบชาวแมนจู ผู้ใดขัดขืนมีโทษประหารชีวิต

ด้วยวิธีการปกครองอันชาญฉลาดของกษัตริย์ชิงแต่ละพระองค์ในช่วงต้นรัชกาล ถือเป็นรากฐานให้ราชวงศ์ชิงมีอำนาจครองแผ่นดินจีนยาวนานถึงวาระสุดท้ายเป็นเวลาทั้งหมดกว่า 260 ปี

[แก้] รัชสมัยคังซี ค.ศ. 1662 – 1722

พระเจ้า คังซี ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 60 ปี และนานที่สุดของราชวงศ์ชิง เมื่อขึ้นครองราชย์ทรงประกาศมาตรการ “ไม่เพิ่มภาษีตลอดกาล” เพื่อลดความยากแค้นของชาวบ้าน ส่งเสริมการค้าขาย ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาตัวรวดเร็ว พระองค์ยังปกครองบ้านเมืองตามนโยบายของบรรพชนแมนจูตั้งแต่เข้ายึดครองแผ่นดินจีนเหนียวแน่น นอกจากนั้นยังส่งเสริมเปิดกว้างแก่ขุนนางฮั่นที่มีความสามารถเข้ารับใช้บ้านเมือง โปรดปรานการใกล้ชิดรับรู้ความทุกข์หรือสุขของปวงประชาด้วยพระองค์เอง แนวคิดนี้ถ่ายทอดสู่พระเจ้าเฉียนหลง ผู้เป็นหลานในเวลาภายหน้าด้วย

[แก้] รัชสมัยหย่งเจิ้น ค.ศ. 1723 – 1735

ช่วงปลายรัชสมัยคังซีเกิดศึกชิงอำนาจในราชสำนักเนื่องจากมิได้มีการแต่งตั้งรัชทายาทไว้ ราชบุตรจึงเกิดความขัดแย้งกันในที่สุดพระเจ้าหย่งเจิ้นได้รับสืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยรากฐานความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเมืองที่พระบิดาสร้างสมไว้ พระเจ้าหย่งเจิ้นมีแนวคิดทันสมัยจึงส่งเสริมงานของพระบิดาทั้งทางเศรษฐกิจและศิลปะให้รุ่งเรืองต่อเนื่อง ขณะเดียวกันพระองค์สร้างกฎใหม่ด้วยการมีพระพินัยกรรมแต่งตั้งรัชทายาทผู้สืบทอดอำนาจเพื่อป้องกันศึกสายเลือดระหว่างลูก มิให้เกิดเยี่ยงเดียวกับอดีตของพระองค์ ทำให้รัชทายาทเฉียนหลงขึ้นสืบทอดอำนาจอย่างมั่นคงและสง่างาม แม้จะมีเวลาครองราชย์เพียง 12 ปี แต่ทรงพัฒนาบ้านเมืองตามแนวคิดของพระบิดาเต็มที่ ยุคสมัยของพระองค์ถือเป็นวาระหนึ่งในความรุ่งเรืองของราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นที่โจษขานถึงทุกวันนี้

[แก้] รัชสมัยเฉียนหลง ค.ศ. 1736 – 1795)

ด้วยความศรัทธาต่อพระเจ้าคังซี ผู้เป็นปู่ ซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในราชวงศ์และเป็นที่ยกย่องของประชาราษฎร์ในพระปรีชาสามารถ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วพระเจ้าเฉียนหลงทรงประกาศจะครองราชย์ไม่เกิน 60 ปี ดังนั้น เมื่อพระองค์ปกครองแผ่นดินมาถึงปีที่ 59 จึงสละราชสมบัติแล้วส่งทอดสู่รัชทายาทตามที่ทรงให้คำสัญญาไว้ รัชสมัยพระเจ้าเฉียนหลงมีชื่อเสียงด้านศิลปะทุกแขนง เนื่องเพราะพระองค์ชื่นชอบงานศิลปะของชาวฮั่นมากพิเศษ ทรงเชี่ยวชาญความรู้ของชาวฮั่นอย่างล้ำลึก แล้วยังเสด็ดประพาศตามหัวเมืองต่างๆบ่อยครั้ง ความรุ่งเรืองขึ้นถึงจุดสูงสุดในรัชสมัยนี้

[แก้] ความเจริญและความเสื่อม

สมัยพระเจ้าคังซีกำหนดมาตรการ “ไม่เพิ่มภาษีตลอดกาล” ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจพัฒนารวดเร็ว ความมั่นคงทางการปกครองมีเพิ่มขึ้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองแรกของราชวงศ์ชิง ส่วนช่วงต้นรัชสมัยเฉียนหลง สังคมสงบสุข เศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่พระองค์ทรงโปรดความยิ่งใหญ่ ค่าใช้จ่ายสูง ประพาสทางภาคใต้บ่อยครั้งทำให้หัวเมืองต่างๆต้องใช้เงินต้อนรับอย่างใหญ่โตมากมาย ศึกสงครามเพิ่มขึ้นล้วนต้องใช้เงินจำนวนมากเป็นเหตุให้ท้องพระคลังเริ่มขัดสน ตอนปลายรัชสมัยนี้ทรงโปรดขุนนางทุจริตชื่อ เหอเซิน เป็นพิเศษ เขาเป็นขุนนางแมนจูคุมการปกครองนานกว่า 20 ปี และใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังทรัพย์สินจนกลายเป็นต้นแบบของข้าราชการสมัยนั้นกระทำตามกันแพร่หลาย งานบริหารบ้านเมืองจึงเลวร้ายลง

[แก้] สาเหตุของความเสื่อมศรัทธา

  1. เมื่อชาวแมนจูปกครอง แผ่นดินจีนเสื่อมคุณภาพลง กองทัพทหารถดถอย
  2. การปกครองหย่อนสมรรถภาพลง ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวงเพิ่ม
  3. ประชากรเพิ่มขึ้น แต่ที่ทำกินขาดแคลน เพราะชนชั้นสูงกับขุนศึกแมนจูยึดครองที่ดินของชาวฮั่นจำนวนมากตามอำเภอใจ
  4. พระเจ้าเฉียนหลงทรงโปรดความโอฬาร ใช้ทหารทำสงครามบ่อยครั้งเป็นเหตุให้ฐานะการคลังตกต่ำ
  5. ชาวฮั่นไม่ยอมทนต่อการกดขึ่ของชาวแมนจู จึงมีความคิดกอบกู้แผ่นดินเสมอ

[แก้] สงครามฝิ่น

ช่วงต้นราชวงศ์ชิงเลือกใช้นโยบายปิดประเทศ ไม่ค้าขายกับต่างชาติ ปีค.ศ. 1757 รัชศกเฉียนหลงปีที่ 22 เริ่มเปิดทำการค้ากับต่างชาติที่เมืองก่วงโจว โดยอังกฤษเป็นชาติตะวันตกที่นำเข้าชาและไหมดิบจากจีนมากที่สุด แต่ส่งสิ่งทอกับฝ้ายให้จีนน้อยมาก จึงมีปัญหาการขาดดุลการค้ากับจีน วิธีแก้ไขของอังกฤษ คือ การส่งฝิ่นให้จีน การค้าฝิ่นเฟื่องฟูอย่างมากเมื่อสถิติคนจีนติดฝิ่นเพิ่ม แม้แต่เชื้อพระวงศ์ยังชื่นชอบฝิ่น เป็นเหตุให้จีนสูญเสียเงินทองมากและสุขภาพประชากรเสื่อมโทรมจนเป็นที่เหยียดหยามของชาวอังกฤษ ข้าราชการในราชสำนักชิงแตกความเห็นเป็นสองฝ่ายทั้งต่อต้านและสนับสนุน โดยหลินเจ๋อสีว์ ผู้ตรวจการใหญ่เขตหูก่วงพยายามชี้แจงให้พระเจ้าเต้ากวงเห็นโทษรุนแรงของฝิ่น ซึ่งทำลายคนจีน ทหาร และการคลังของชาติ เขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำปราบปรามฝิ่นที่ก่วงโจว การทำงานของหลินเจ๋อสีว์มีประสิทธิภาพสูง สร้างความเสียหายแก่พ่อค้าฝิ่นชาวอังกฤษ ทำลายสินค้าฝิ่นได้มาก จนกระทั่งเอลเลียต ผู้ตรวจการพาณิชย์อังกฤษได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษใช้กำลังทหารปกป้องตลาดค้าฝิ่นในจีนอย่างเร่งด่วน อังกฤษจึงส่งกองทัพเรือปิดปากน้ำต้ากู อันสร้างความตื่นตระหนกแก่ราชสำนักชิง แล้วเลือกถอดถอนหลินเจ๋อสีว์ออกจากหน้มที่ปราบฝิ่นตามคำขู่ของอังกฤษ จากนั้นแต่งตั้ง ฉีซั่น ไปเจรจากับอังกฤษที่ก่วงโจว โดยยอมทำสัญญา ชวนปี๋ เพื่อยกเกาะฮ่องกง เปิดเมืองก่วงโจว ชดใช้ค่าฝิ่น พระเจ้าเต้ากวงไม่พอพระทัยกับสัญญานี้ จึงปลดฉีซั่นออกจากตำแหน่ง แล้วส่ง อี้ซาน ไปทำสงครามกับอังกฤษ ต่อมาต้องยอมแพ้เมื่อต่อต้านกองทัพอังกฤษไม่ได้และทหารอังกฤษรุกประชิดเมืองนานกิง ราชสำนักชิงจำต้องยอมรับสนธิสัญญา นานกิง กับอังกฤษเพื่อความอยู่รอดของราชวงศ์

[แก้] สนธิสัญญานานกิง

ปีค.ศ. 1846 รัชศกเต้ากวงปีที่ 22 จีนยอมทำสนธิสัญญาอัปยศฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีนกับอังกฤษ เพื่อแลกกับความอยู่รอดของราชสำนักชิง อันมีเนื้อหาโดยสรุป คือ

  1. ยอมชดใช้ค่าฝิ่น และค่าปฏิกรรมสงคราม
  2. ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
  3. เปิดเมืองก่วงโจว เซียะเหมิน ฝูโจว หนิงปัว เซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองท่าการค้า
  4. ภาษีสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของพ่อค้าอังกฤษให้เป็นไปตามการเจรจาของสองฝ่าย

ปี ค.ศ. 1847 มีการลงนามในข้อตกลงและอนุสัญญานานกิงฉบับใหม่ โดยกำหนดให้อังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ชาวอังกฤษไม่อยู่ใต้กฎหมายของประเทศที่พำนักอาศัย เมื่อกระทำผิดหรือถูกฟ้อง คดีความจะถูกตัดสินพิจารณาคดีโดยกงสุลของประเทศตนเอง และอังกฤษเป็นประเทศที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มีผลคือ หากจีนให้สิทธิพิเศษด้านการค้า เดินเรือ ภาษี หรือ การคุ้มครองทางกฎหมายแก่ประเทศใด อังกฤษจักได้รับสิทธิดังกล่าวไปโดยอัตโนมัติ

[แก้] ผลเสียหายจากสงครามฝิ่น

ความพ่ายแพ้ของกองทัพจีนและการตัดสินใจอย่างไม่รอบคอบของประมุขแผ่นดิน กอปรกับความหวาดกลัวจะสูญเสียอำนาจ จึงส่งผลให้ต้องเสียดินแดนแก่ต่างชาติเป็นครั้งแรก หลายชาติเดินตามนโยบายเดียวกับอังกฤษในการบีบคั้นคนจีนและประเทศจีนเพื่อตักตวงผลประโยชน์เต็มที่ จีนต้องสูญเสียอธิปไตยด้านการค้าอย่างสิ้นเชิง จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงคือ อายสิน จูโล ปูยี

[แก้] สาธารณรัฐแห่งชาติจีน

ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย

หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายชนะ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

History of China

ราชวงศ์จีน
ราชวงศ์เซี่ย - ราชวงศ์ซาง - ราชวงศ์โจว - ราชวงศ์ฉิน - ราชวงศ์ฮั่น - ราชวงศ์จิ้น

ราชวงศ์สุย - ราชวงศ์ถัง - ราชวงศ์ซ้อง - ราชวงศ์เหลียว - ราชวงศ์หยวน - ราชวงศ์หมิง - ราชวงศ์ชิง

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu