ปลาปากเปี่ยน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
ปากเปี่ยน เป็นชื่อของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 2 ชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scaphognatops bandanensis และ Scaphognathops stejnegeri อยู่ในวงศ์ย่อยปลาตะเพียน Cyprininae - Poropunti มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ส่วนหัวเล็ก จงอยปากแหลม ริมฝีปากล่างมนกลมและมีขอบแข็ง ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ครีบหลังสีคล้ำ ปลายขอบของก้านครีบอันแรกเป็นหยักแข็ง ถัดจากส่วนนี้ไปจะมีลักษณะเรียวแหลม ครีบหางเว้าลึก ครีบอกและครีบท้องเล็ก ตัวมีสีเงินอมเทามีแต้มประสีคล้ำบนเกล็ด ขอบครีบหางสีแดงเรื่อ ด้านหลังสีจาง
มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 25 ซ.ม.
เป็นปลาที่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา เป็นปลาเศรษฐกิจในภาคอีสาน นิยมบริโภคโดยการปรุงสด ทำปลาร้า และรมควัน เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วยที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง เพราะเป็นปลาที่พบตามฤดูกาล
ปากเปี่ยน ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปว่า " ตาดำ "
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: ปลาน้ำจืด | วงศ์ปลาตะเพียน | ปลาไทย | ปลาตู้