ปางเสวยมธุปายาส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปางเสวยมธุปายาส เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ประคองถาดมธุปายาส
[แก้] ประวัติ
เมื่อนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสทูลลากลับไปแล้ว พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากร่มไทร ทรงถือถาดข้ามธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงพระวรกาย ( อาบน้ำ ) แล้วประทับริมฝั่งแม่น้ำ หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ทรงแบ่งข้าวมธุปายาส ออกเป็น 49 ส่วน แล้วปั้นเป็นก้อน 49 ก้อน แล้วเสวยจนหมด ถือเป็นอาหารทิพย์ที่จะคุ้มได้ถึง 49 วัน ในการเสวยวิมุตติสุขภายหลังการตรัสรู้
[แก้] ความเชื่อและคตินิยม
เป็นพระพุทธรูปประจำปีระกา เช่นเดียวกับ ปางทรงรับมธุปายาส
[แก้] อ้างอิง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
- http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
- http://www.lekpluto.com/index02/special06.html
- http://www.banfun.com/
ปางเสวยมธุปายาส เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ปางเสวยมธุปายาส ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |