ปางพระพุทธรูป
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถ (ท่าทาง) ต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพุทธประวัติ โดยช่างสมัยโยนกใน(คันธารราฐ)(ศิลปแบบคันธาระ) ราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863-1023)(เป็นชาวกรีก)เป็นพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ (ชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้) รวมทั้งในยุคสมัยต่างๆในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
[แก้] ลำดับยุคสมัยของการเกิดปางพระพุทธรูป
- สมัยคันธาระ (กรีก) มีอยู่ 9 ปาง ด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางปฐมเทศนา ปางอุ้มบาตร ปางประทานพร ปางประทานอภัย ปางลีลา ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางปรินิพพาน
- อินเดียใต้ เมืองมธุร และอมราวดี (อินเดีย) มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางตรัสรู้ ปางเทศนา ปางทรมานพญาวานร ปางทรมานช้างนาฬาคีรี ปางลีลา ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางปรินิพพาน
- ลังกา มีอยู่ 5 ปางด้วยกัน คือ ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางลีลา ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยทวาราวดี มีอยู่ 10 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางเทศนา ปางลีลา ปางประทานอภัย ปางประทานพร ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางบรรทม ปางโปรดสัตว์ และปางปรินิพพาน
- สมัยศรีวิชัย มีอยู่ 6 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางลีลา ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยลพบุรี มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางลีลา ปางประทานพร ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยเชียงแสน มีอยู่ 10 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางถวายเนตร ปางอุ้มบาตร ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ปางประทับนั่งห้อยพระบาท ปางประทับยืน และปางไสยา
- สมัยสุโขทัย มีอยู่ 8 ปาง ด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางถวายเนตร ปางประทับยืน ปางประทานพร ปางประทานอภัย ปางลีลา และปางไสยา
- สมัยอยุธยา มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทับยืน ปางลีลา ปางป่าเลไลยก์ ปางประทานอภัย และปางไสยา
- สมัยรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 5 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทานอภัย ปางขอฝน และปางไสยา
[แก้] ปางต่างๆ ของพระพุทธรูป
[แก้] อ้างอิง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
- เว็บไซต์ธรรมมะไทย
- เว็บไซต์เล็กพลูโต
- เว็บไซต์บ้านฝัน
ขัดสมาธิเพชร · ขับพระวักกลิ · ขอฝน · จงกรมแก้ว · ฉันสมอ · ชี้มาร · ชี้อัครสาวก · ชี้อสุภะ · ถวายเนตร · ทรงจีวร · ทรงตัดเมาลี · ทรงทรมานช้างนาฬาคิรี · ทรงทรมานพระยาวานร · ทรงพยากรณ์ · ทรงพระสุบิน · ทรงพิจารณาชราธรรม · ทรงรับผลมะม่วง · ทรงรับมธุปายาส · ทรงรับหญ้าคา · ทรงรับอุทกัง · ทรมานพระยามหาชมพู · บำเพ็ญทุกรกิริยา · นาคปรก · นาคาวโลก · ปฐมเทศนา · ปฐมบัญญัติ · ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท · ประทับเรือขนาน · ประทานเอหิภิกขุ · ประทานธรรม · ประทานพร · ประทานอภัย · ประสานบาตร · ประสูติ · ปรินิพพาน · ปลงอายุสังขาร · ปัจเจกขณะ · ป่าเลไลย · ปลงกรรมฐาน · ปาฏิหาริย์ · เปิดโลก · โปรดพกาพรหม · โปรดพุทธบิดา · โปรดพุทธมารดา · โปรดสัตว์ · โปรดสุภัททปริพาชก · โปรดองคุลีมาลโจร · โปรดอสุรินทราหู · โปรดอาฬาวกยักษ์ · พระเกศธาตุ · ภัตตกิจ · มหาภิเนษกรมณ์ · มารวิชัย · รับสัตตูก้อนสัตตูผง · รำพึง · เรือนแก้ว · ลอยถาด · ลีลา · สนเข็ม · สมาธิ · สรงน้ำฝน · เสด็จลงจากดาวดึงส์ · เสวยมธุปายาส · แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ · แสดงโอฬาริกนิมิต · แสดงยมกปาฏิหาริย์ · ห้ามญาติ · ห้ามพยาธิ · ห้ามพระแก่นจันทร์ · ห้ามมาร · ห้ามสมุทร · อุ้มบาตร · อธิษฐานเพศบรรพชิต |
![]() |
ปางพระพุทธรูป เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ปางพระพุทธรูป ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |