พิศมัย วิไลศักดิ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิศมัย วิไลศักดิ์ | |
พิศมัย วิไลศักดิ์ สมัยเข้าวงการใหม่ๆ |
|
เกิด | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2482 กรุงเทพมหานครก |
คู่สมรส | สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ |
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | |
---|---|
พ.ศ. 2506 ดวงตาสวรรค์ พ.ศ. 2509 รางวัล ดาราทอง |
|
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | |
พ.ศ. 2521 ไร้เสน่หา | |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb |
พิศมัย วิไลศักดิ์ ชื่อเล่น มี้ (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2482) ศิลปินนักแสดงอาวุโสเจ้าของฉายา ดาราเงินล้าน มีผลงานแสดงภาพยนตร์ประมาณ 300 เรื่อง สมรสกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
พิศมัย เกิดที่ย่านบางลำพู เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็ก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการเลี้ยงดูโดยครูจำเรียง พุทธประดับ ศิลปินแห่งชาติ นำไปเลี้ยงดูในวังหลวงระหว่างปี 2494-2498 พิศมัยจบการศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา และโรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
[แก้] งานแสดง
พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นนางเอกเรื่อง การะเกด เมื่อ พ.ศ. 2501 คู่กับลือชัย นฤนาท และชนะ ศรีอุบล เป็นที่รู้จักจากฉากรำฉุยฉายในเรื่อง และได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกประมาณ 300 เรื่อง ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง สองฝั่งฟ้า (2503), ดรรชนีนาง (2504), จำเลยรัก (2506), ดวงตาสวรรค์ (2506), โนราห์ (2509) ในจำนวนหลายเรื่องพิศมัยได้ใช้ความสามารถพิเศษในการรำไทย รับบทรำในเรื่องด้วย เช่น โนราห์ (2509), เมขลา (2510), สีดา (2511), หนึ่งนุช (2514), ค่าของคน (2514), สักขีแม่ปิง (2516), ระห่ำลำหัก (2518)
ระยะหลัง พิศมัย วิไลศักดิ์ หันมารับงานแสดงละคร และเป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นหลัง
[แก้] รางวัล
- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2506 - ดวงตาสวรรค์
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2524 - ค่าน้ำนม (เข้าชิง)
- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2521 - ไร้เสน่หา
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2526 - เงิน เงิน เงิน
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2542 - กำแพง
[แก้] ผลงาน
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] อ้างอิง
- หนึ่งเดียว, ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย, www.popcornmag.com, 2549, ISBN 974-94228-8-0
- ท่านขุน บุญราศรี, มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล, โกเมนเอก, 2548, ISBN 974-93603-9-7