ศิลปินแห่งชาติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม
[แก้] คุณสมบัติ และ หลักเกณฑ์การคัดเลือก
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
- เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น
- เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
- เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
- เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
- เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
- เป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็น 4 สาขาคือ
- สาขาทัศนศิลป์
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- สาขาศิลปะการแสดง
- สาขาวรรณศิลป์
[แก้] รายชื่อศิลปินแห่งชาติ
[แก้] พ.ศ. 2528 - 2529
- พ.ศ. 2528
- สาขาทัศนศิลป์
- นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายมนตรี ตราโมท (ดนตรีไทย)
- ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (นาฏศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
- หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2529
- สาขาทัศนศิลป์
- นายคำหมา แสงงาม (ปั้นแกะสลัก)
- นายประสงค์ ปัทมานุช (จิตรกรรม)
- นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ (ประติมากรรม)
- นางแสงคา บันสิทธิ์ (การทอผ้า)
- นายเห้ง โสภาพงศ์ (เครื่องถม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ (สถาปัตยกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายทองมาก จันทะลือ (หมอลำ)
- นายกั้น ทองหล่อ (หนังตะลุง)
- คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ดนตรีไทย)
- นายเฉลิม บัวทั่ง (ดนตรีไทย)
- นายเปลื้อง ฉายรัศมี (ดนตรีพื้นบ้าน-โปงลาง )
- นางชูศรี สกุลแก้ว (หุ่นกระบอก)
- นางท้วม ประสิทธิกุล (คีตศิลป์)
- นางทองหล่อ ทำเลทอง (เพลงพื้นบ้าน)
- ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (เพลงไทยสากล)
- นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) (นาฏศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
- นางกัณหา เคียงศิริ (ก. สุรางคนางค์) (นวนิยาย)
- นายอบ ไชยวสุ (ฮิวเมอริสต์) (หัสคดี)
- สาขาทัศนศิลป์
[แก้] พ.ศ. 2530 - 2539
- พ.ศ. 2530
- สาขาทัศนศิลป์
- นายชิต เหรียญประชา (ประติมากรรม)
- นายโหมด ว่องสวัสดิ์ (จิตรกรรม)
- นางพยอม สีนะวัฒน์ (ศิลปะงานผ้า)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี (สถาปัตยกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายยก ชูบัว (มโนราห์)
- คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง (ดนตรีไทย)
- นายวิจิตร คุณาวุฒิ (ภาพยนตร์)
- นางเจริญใจ สุนทรวาทิน (คีตศิลป์)
- นางเฉลย ศุขะวณิช (นาฏศิลป์)
- นายไชยลังกา เครือเสน (ดนตรีพื้นบ้าน)
- สาขาวรรณศิลป์
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2531
- สาขาทัศนศิลป์
- นายเฉลิม นาคีรักษ์ (จิตรกรรม)
- นายพูน เกษจำรัส (ศิลปะภาพถ่าย)
- นายพิมาน มูลประมุข (ประติมากรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายหวังดี นิมา (หวังเต๊ะ) (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด)
- นายประสิทธิ์ ถาวร (ดนตรีไทย)
- นายบุญยงค์ เกตุคง (ดนตรีไทย)
- นายเสรี หวังในธรรม (ศิลปะการละคร)
- นางสาวจำเรียง พุธประดับ (นาฏศิลป์-ละคร)
- นายกรี วรศะริน (นาฏศิลป์-โขน)
- นายสมาน กาญจนะผลิน (เพลงไทยสากล)
- นายสง่า อารัมภีร (เพลงไทยสากล)
- สาขาวรรณศิลป์
- นางสุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2532
- สาขาทัศนศิลป์
- นายสนิท ดิษฐพันธุ์ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- ดร.ประเวศ ลิมปรังษี (สถาปัตยกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายฉิ้น อรมุต (หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์) (หนังตะลุง)
- นางเชอร์รี่ เศวตนันทน์ (สวลี ผกาพันธุ์) (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
- นายประสิทธิ์ พยอมยงค์ (เพลงไทยสากล)
- นายประเวศ กุมุท (ดนตรีไทย)
- นายหยัด ช้างทอง (นาฎศิลป์-โขน)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายอังคาร กัลยาณพงศ์ (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2533
- สาขาทัศนศิลป์
- นายทวี นันทขว้าง (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายสุเทพ วงศ์กำแหง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
- นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ (นาฏศิลป์-ละครรำ)
- นางบัวผัน จันทร์ศรี (เพลงพื้นบ้าน)
- นายสมชาย อาสนจินดา (ละครเวที ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2534
- สาขาทัศนศิลป์
- นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นาวาตรีพยงค์ มุกดา (เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง ประพันธ์)
- นางเพ็ญศรี พุ่มชูศรี (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
- นายเคน ดาเหลา (หมอลำ)
- นายบุญยัง เกตุคง (ลิเก)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ (วรรณศิลป์)
- นายสุวัฒน์ วรดิลก (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2535
- สาขาทัศนศิลป์
- นายประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายจูเลี่ยม กิ่งทอง (หนังตะลุง)
- นางผ่องศรี วรนุช (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
- นายคำ กาไวย์ (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
- นางส่องชาติ ชื่นศิริ (นาฏศิลป์-ละครรำ)
- เรืออากาศตรีแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ดนตรีสากล)
- นางส่องชาติ ชื่นศิริ (ละครรำ)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2536
- สาขาทัศนศิลป์
- นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ (การออกแบบประยุกต์ศิลป์)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายขาเดร์ แวเด็ง (ดนตรีพื้นบ้าน-ร็องแง็ง)
- นายชาลี อินทรวิจิตร (ภาพยนตร์ ดนตรี-ประพันธ์คำร้อง)
- นางฉวีวรรณ ดำเนิน (หมอลำ)
- นางสุดจิตต์ อนันตกุล (คีตศิลป์)
- นายจำเนียร ศรีไทยพันธุ์(ดนตรีไทย)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (กวีนิพนธ์)
- นางประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (กวีนิพนธ์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2537
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (สถาปัตยกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นางประยูร ยมเยี่ยม (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด)
- พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ดนตรีสากล)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- พ.ศ. 2538
- สาขาทัศนศิลป์
- นายจิตต์ จงมั่นคง (ภาพถ่ายศิลปะ)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายสมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์)
- นายเปรื่อง ชื่นประโยชน์ (ป.ชื่นประโยชน์) (ประพันธ์เพลง)
- นายคำผาย นุปิง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ)
- นายสร้อย ดำแจ่ม (การแสดงพื้นบ้าน-เพลงบอก)
- นายแจ้ง คล้ายสีทอง (คีตศิลป์)
- นายสวง ทรัพย์สำรวย (ล้อต๊อก) (นักแสดง-ตลก)
- นายอำนวย กลัสนิมิ (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายรงค์ วงษ์สวรรค์ (วรรณศิลป์)
- นายทวีป วรดิลก (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2539
- สาขาวรรณศิลป์
- นายชำเรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นางเกลียว เสร็จกิจ (ขวัญจิต ศรีประจันต์) (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว)
- นางจันทร์สม สายธารา (เพลงพื้นบ้าน-ขับซอ)
- นางรวงทอง ทองลั่นธม (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
- พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
- นายสมควร กระจ่างศาสตร์ (ละครเวที-นักแสดง)
- นายบุญเลิศ นาจพินิจ (ลิเก)
- นายสาคร ยังเขียวสด (หุ่นละครเล็ก)
- นายใหญ่ วิเศษพลกรัง (เพลงพื้นบ้าน-เพลงโคราช)
- สาขาวรรณศิลป์
- หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (ศรีฟ้า ลดาวรรณ) (วรรณศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
[แก้] พ.ศ. 2540 - 2549
- พ.ศ. 2540
- สาขาทัศนศิลป์
- นายกมล ทัศนาญชลี (จิตรกรรมและสื่อผสม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายอิ่ม จิตภักดี (หนังอิ่มเท่ง) (หนังตะลุง)
- นายพินิจ ฉายสุวรรณ (ดนตรีไทย)
- คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช (ดนตรีสากล)
- นายไวพจน์ สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์)
- นายสมพงษ์ พงษ์มิตร (ภาพยนตร์และละคร)
- นายสุรพล โทณะวณิก (เพลงไทยสากล ประพันธ์)
- นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย (หมอลำ)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พนมเทียน) (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2541
- สาขาทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ (ภาพพิมพ์)
- นายชลูด นิ่มเสมอ (ประติมากรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น (สถาปัตยกรรม)
- ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นางศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ (นาฏศิลป์)
- นายชัยชนะ บุญนะโชติ (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
- นายชรินทร์ นันทนาคร (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
- นางเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ (ดนตรีไทย)
- นาวาตรี ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ดนตรีสากล)
- นางจุรี โอศิริ (ภาพยนตร์และละคร นักพากย์)
- นายประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (นักแต่งเพลง)
- เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา)
- สาขาวรรณศิลป์
- พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2542
- สาขาทัศนศิลป์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดำรง วงศ์อุปราช (จิตรกรรม)
- นายอินสนธิ์ วงศ์สาม (ประติมากรรม)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิตย์ ภู่อารีย์ (ภาพพิมพ์)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
- นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์)
- นางมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์)
- นายแท้ ประกาศวุฒิสาร (ภาพยนตร์)
- นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี (นาฏศิลป์)
- นายเชื้อ ดนตรีรส (ดนตรีไทย)
- นางสมพันธ์ โชตนา (นาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา)
- นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี (นาฏศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
- นางสุภา สิริสิงห์ (โบตั๋น) (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2543
- สาขาทัศนศิลป์
- นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก (สถาปัตยกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง (คีตศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายอัศศิริ ธรรมโชติ (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2544
- สาขาทัศนศิลป์
- นายถวัลย์ ดัชนี (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- นายประดิษฐ์ ยุวพุกกะ (สถาปัตยกรรมแบบประเพณี)
- สาขาศิลปะการแสดง
- หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายคำพูน บุญทวี (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2545
- สาขาทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ประกิต บัวบุศย์ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- นายนิธิ สถาปิตานนท์ (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายจิรัส อาจณรงค์ (ดนตรีไทย)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายสุจิตต์ วงษ์เทศ (กวีนิพนธ์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2546
- สาขาทัศนศิลป์
- นายพิชัย นิรันต์ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- นางสาววนิดา พึ่งสุนทร (สถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายพร้อม บุญฤทธิ์ (หนังพร้อมน้อย) ( หนังตะลุง)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายกรุณา กุศลาสัย (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2547
- สาขาทัศนศิลป์
- นายไพบูลย์ มุสิกโปดก (ภาพถ่ายศิลปะ)
- นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- นายจุลทัศน์ กิติบุตร (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายไพรัช สังวริบุตร (ภาพยนตร์และละคร)
- นางจินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (จินตนา สุขสถิตย์) (ดนตรีสากล-ขับร้อง)
- นายราฆพ โพธิเวส (นาฏศิลป์-โขน)
- สาขาวรรณศิลป์
- คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (ว.วินิจฉัยกุล) (วรรณศิลป์)
- นายชาติ กอบจิตติ (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2548
- สาขาทัศนศิลป์
- นายทวี รัชนีกร
- นายประเทือง เอมเจริญ (จิตรกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- นายวิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์) (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง)
- นายฉลาด ส่งเสริม (ป.ฉลาดน้อย) (หมอลำ)
- นายมานพ ยาระณะ (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
- นายสำราญ เกิดผล (ดนตรีไทย)
- นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (นาฏศิลป์)
- สาขาวรรณศิลป์
- นายสถาพร ศรีสัจจัง (วรรณศิลป์)
- นายประยอม ซองทอง (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์
- พ.ศ. 2549
- สาขาทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม)
- นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม)
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ (ภูมิสถาปัตยกรรม)
- รองศาสตราจารย์ สมถวิล อุรัสยะนันทน์ (ออกแบบอุตสาหกรรม)
- สาขาศิลปะการแสดง
- ร.ต.ต.กาหลง พึ่งทองคำ (ดนตรีไทย)
- นายเกียรติพงศ์ กาญจนภี (ดนตรีสากล - ผู้ประพันธ์เพลง)
- นายสุชาติ ทรัพย์สิน (การแสดงพื้นบ้าน)
- สาขาวรรณศิลป์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ (วรรณศิลป์)
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ ระวี ภาวิไล (วรรณศิลป์)
- สาขาทัศนศิลป์