สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ (F.Scott Fitzgerald ค.ศ. 1896-1940) บุตรชายคนเดียวของครอบครัวชนชั้นกลางที่ร่ำรวยแห่งมินเนโซตา ชื่อเขาตั้งชื่อตามญาติห่างๆ ซึ่งเป็นผู้เขียนเพลงชาติสหรัฐฯ เขาเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 15 ปี เคยเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันแต่ไม่จบ จึงสมัครเข้าเป็นทหารเมื่อปี ค.ศ. 1917 แต่ตรงข้ามกับเฮมิงเวย์ ฟิตซ์เจอรัลด์ไม่เคยเดินทางไปยังสมรภูมิสงครามในยุโรปและไม่เคยเห็นการสู้รบใดๆ
หลังจากความสำเร็จของ This Side of Paradise (ค.ศ. 1920) และการแต่งงานกับเซลดา สาวผู้เปี่ยมเสน่ห์และเป็นนักเขียนเช่นเดียวกัน ชีวิตของคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวก็แทบไม่เคยร้างราจากงานเลี้ยง ชีวิตหรูหราฟู่ฟ่าของคนทั้งคู่จึงโด่งดังยิ่งกว่างานเขียน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เซลดาป่วยเป็นโรคจิตเภทและเสียชีวิตในเหตุการณ์ไฟไหม้โรงพยาบาลโรคจิตเมื่อปี ค.ศ. 1948 สกอตต์ยังคงปั่นเรื่องสั้นไปลงนิตยสารขายดีเพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนโต เขาป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และเสียชีวิตด้วยหัวใจวายในสภาพแทบไม่มีใครเหลียวแลเมื่ออายุเพียง 44 ปี
เรื่อง The Love of the last tycoon ที่เขาเขียนค้างไว้แค่ครึ่งเดียวน่าจะเป็นเรื่องเอกของเขาทีเดียว อย่างไรก็ตาม นวนิยายเรื่อง The Great Gatsby (ค.ศ. 1925) ซึ่งสมัยออกมาขายได้ไม่ดีนัก ต่อมาถูกยกให้เป็นหนังสือแห่งยุคแจซ และเป็นนวนิยายคลาสสิกของอเมริกันในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ
![]() |
"There are all kinds of love in this world, but never the same love twice" โลกนี้มีความรักทุกประเภท แต่ไม่เคยมีความรักที่ซ้ำแบบกัน |
![]() |
สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ |
สารบัญ |
[แก้] ผลงาน
[แก้] นิยาย
- This Side of Paradise (ค.ศ. 1920)
- The Beautiful and Damned (ค.ศ. 1922)
- The Great Gatsby (ค.ศ. 1925)
- Tender is the Night (ค.ศ. 1934)
- The Love of the Last Tycoon (ค.ศ. 1940)
[แก้] ชุดเรื่องสั้น
- Flappers and Philosophers (ค.ศ. 1920)
- Tales of the Jazz Age (ค.ศ. 1922)
- All the Sad Young Men (ค.ศ. 1926)
- Taps at Reveille (ค.ศ. 1935)
- The Short Stories of F. Scott Fitzgerald(ค.ศ. 1989)
[แก้] ผลงานอื่นๆ
[แก้] ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย
- เรื่องประหลาดของเบนจามิน บัตทอน (The curious case of Benjamin Button)
- โจรสลัด (The offshore pirate )
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ผลงานที่ Project Gutenberg (ภาษาอังกฤษ)
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด มาจากเว็บไซต์ วรรณกรรมดอตคอม ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์