สนธิสัญญาเบาริง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาเบาริง เป็นสนธิสัญญา ที่ประเทศไทย ทำกับประเทศอังกฤษ ริเริ่มใช้เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตระหนักถึงภัยจากลิทธิจักวรรดินิยม เนื่องจากในขณะนั้น ประเทศต่างๆ ได้เข้ามาคุกคามประเทศไทย จึงทำสัญญา้ เพื่อรักษาเอกราชของชาติไทยเรา และอีกอย่างหนึ่งคือ เปลี่ยนแปลงนโยบาย มาคบค้ากับชาติตะวันตก
สนธิสัญญานี้ ได้ทำกับอังฤษ เมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 โดย เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย และใช้บังคับอยู่เป็นเวลา ถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2461
[แก้] สาระสำคัญ
- ประเทศอังกฤษจะตั้งสถานกงสุลไว้ในประเทศไทย
- ชาวอังกฤษ สามารถเช่าที่ในประเทศไทยได้
- ชาวอังกฤษ สามารถสร้างโบถท์และเผยแพร่ ศาสนาคริสต์ได้
- เปิดเสรีการค้า ระหว่าง ประเทศไทยและประเทศอังกฤษ
- ประเทศไทยสามารถเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละสาม
- สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา และ เกลือ
- หากมีการจดสนธิสัญญากับประเทศอื่น ที่มีผลประโยชน์มากกว่าประเทศอังกฤษ จะต้องทำให้กับอังกฤษด้วย
- สนธิสัญญานี้ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี หากจะแก้ไข จะต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 1 ปี โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องยินยอมซึ่งกันและกัน
- หากคนอังกฤษทำผิดในประเทศไทย จะต้องขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ ไม่ต้องขึ้นศาลไทย
[แก้] การเจรจาสนธิสัญญาเบาริง
เซอร์ จอห์น เบาริง อยู่ในกรุงสยาม 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์เจรจากับ “ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม” 5 ท่านที่ได้คือ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงศ์ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิขาดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร
- เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกระลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก
- เจ้าพระยารวิวงศ์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ทิพากรวงศ์” หรือ ขำ บุนนาค) พระคลัง และสำเร็จราชการกรมท่า บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก
สนธิสัญญาเบาว์ริงได้กลายเป็นแม่แบบของการที่ประเทศอื่นๆ ที่สำคัญๆ เข้ามาทำสัญญาแบบเดียวกัน มีทั้งหมด 14 ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ค โปรตุเกศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอรเวย์ เบลเยี่ยม อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี สเปน ญี่ปุ่น และ รัสเซีย