หินหนืด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินหนืด หรือ แม็กมา (magma) เป็นสารเหลวที่อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก มีความหนืดหรือข้น เคลื่อนตัวได้ในวงจำกัด มีส่วนผสมของแข็ง ของเหลว หรือก๊าสรวมอยู่ด้วย มีอุณหภูมิที่สูงมาก เมื่อแทรกดันหรือพุ่งขึ้นจากผิวโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินแข็ง เรียกว่า หินอัคนี
หินหนืดมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 650 - 1,200 องศาเซลเซียส ถูกอัดอยู่ภายใต้แรงดันสูง บางครั้งถูกดันขึ้นมาผ่านปล่องภูเขาไฟเป็นหินหลอมเหลว (lava) ผลลัพธ์จากการระเบิดของภูเขาไฟ มักจะได้ของเหลว ผลึก และก๊าส ที่ไม่เคยผุดขึ้นจากเปลือกโลกมาก่อน หินหนืดจะสะสมตัวอยู่ในช่องภายใต้เปลือกโลก โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันเล็กน้อยในพื้นที่ต่าง ๆ
สารบัญ |
[แก้] การเกิดหินหนืด
การเกิดหินหนืดนั้น บางส่วนของโลกจะต้องมีความร้อนพอที่จะละลายหินได้ ในสภาวะปกติจะไม่มีความร้อนที่สูงพอจะละลายหินได้ เว้นแต่บริเวณแกนโลกด้านนอก ดังนั้นหินหนืดจึงเกิดในสภาพพิเศษเท่านั้น และต้องมีแรงดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้อุณหภูมิในการหลอมละลายเปลี่ยนไปด้วย
[แก้] ชนิดของหินหนืด
- หินหนืดบะซอลต์ (Balastic magma) หรือ หินหนืดแกบโบร (Gabbroic magma)
- หินหนืดไดออไรต์ (Dioritic magma) หรือ หินหนืดแอนเดสไซต์ (Andesitic magma)
- หินหนืดไรโอไลต์ (Rhyolitic magma) หรือ หินหนืดแกรนิต (Granitic magma)