อำเภอสุไหงโก-ลก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถิติ | |
---|---|
จังหวัด: | จังหวัดนราธิวาส |
พื้นที่: | 138.3 ตร.กม. |
ประชากร: | 69,757 (พ.ศ. 2005) |
ความหนาแน่น: | 504.4 คน/ตร.กม. |
รหัสไปรษณีย์: | 96120 |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 9610 |
แผนที่ | |
![]() |
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
สุไหงโก-ลกเดิมเป็นป่าดงดิบรกร้างว่างเปล่าในตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ความเป็นป่าทึบทำให้ชาวบ้านเรียกว่าป่าจันตุหลี หมายความว่าทึบจนเรียกไม่ได้ยิน เหมือนหูหนวก เมื่อเริ่มมีผู้เข้ามาหักร้างถางพง จากชื่อป่าจันตุหลีเปลี่ยนเป็นสุไหงโก-ลก (Sungai Kolok) เป็นภาษามาลายู มาจากคำว่า (Sungai) แม่น้ำ ลำคลอง และคำว่า โก-ลก (kolok) แปลว่า คดเคี้ยว ถ้าเป็นคำนามหมายถึง มีดพร้า ที่คนพื้นเมืองนิยมใช้ เมื่อนำคำว่าสุไหงรวมกับโก-ลก หมายถึง แม่น้ำที่คดเคี้ยว คงเรียกชื่อเมืองตามแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้เป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศไทยกับรัฐกลันตันประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้มีการกรุยทางเพื่อก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไปกลันตัน (Kelantan) โดยกำหนดตั้งสถานีในเขตป่าจันตุหลี ชาวบ้านปูโยะที่เห็นการณ์ไกลได้เริ่มเข้ามาจับจองที่ดิน บ้างขออนุญาตทำสวนยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูกสร้างบ้านเรือน ชุมชนที่ชาวปูโยะติดต่อค้าขายมีเฉพาะรันตูปันยังของกลันตันซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัย ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลักแหล่งแล้ว แม้ว่าจะเปิดการเดินรถไฟในปี 2464 แต่ราษฎรไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากป่าถูกจับจองไว้โดยมิได้ก่อประโยชน์ ดังนั้น ในปี 2468 นายวงศ์ ไชยสุวรรณ อาศัยที่ดินของนายฉ่ำ ที่หลังสถานีรถไฟ พร้อมนายฮวด นายซั้ว นายกวาซ่อง นายเจ๊ะหมัด นายหลีหลง นายหวัง รวม 7 คน เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งมีทั้งคนไทย คนมุสลิมและคนจีน ร่วมกันพัฒนาเมือง (สุนทรธรรมพาที : 2501) นับเป็นต้นแบบแห่งสังคมพหุลักษณ์ที่มีเสน่ห์ยิ่ง ปี พ.ศ. 2472 กำนันตำบลปูโยะถึงแก่กรรม นายวงศ์ ไชยสุวรรณ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นกำนันได้พัฒนาจนเริ่มกลายเป็นเมือง ได้อาศัยเงินจากเพื่อน 5 คน ได้ 500 บาท ตัดถนนถึง 31 สาย ลักษณะถนนตัดพาดผ่านกันเป็นตาหมากรุก จึงมีสี่แยกจำนวนมาก แต่เชื่อว่านั่นคือแนวคิดการป้องกันการลุกลามของไฟ เมื่อเกิดอัคคีภัยความเจริญของเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพมากมาย ตำบลปูโยะมีประชากรถึง 12,300 คน ราชการจึงแยกเป็น 2 ตำบล คือตำบลปูโยะ และตำบลสุไหงโก-ลกต่อมาเมื่อจอมพลป. พิบูลย์สงครามได้ล่องใต้มาตรวจราชการที่ ตำบลสุไหงโก-ลก นายวงศ์ ไชยสุวรรณ ร้องขอให้ตั้งเป็นเทศบาล ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะตำบลสุไหงโก-ลก เป็นเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 มีนายวงศ์ ไชยสุวรรณ เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก เหตุการณ์นี้พระครูสุนทรธรรมภาณีได้เขียนคำกลอนบันทึกไว้ว่า ใน พ.ศ. สองสี่แปดสิบสาม นายกนามจอมพล ป. พิบูลย์ศรี ออกเที่ยวตรวจราชการงานที่มี มาถึงแดนโก-ลก โชคดีแรง กำนันวงศ์ร้องขอต่อ พณ,ท่าน ขอเปิดการเทศบาลขึ้นในแขวง จอมพล ป. เห็นตามความชี้แจง คุณวงศ์แต่งเปิดเขตเทศบาล ฯลฯ ในเจ็ดปีที่คุณวงศ์เป็นนายก สร้างโก-ลกให้สง่าหรูหราแสน ทำประโยชน์มากมายเมืองชายแดน ตามแบบแปลนที่จะเล่ากล่าวต่อไป หนึ่งขอตั้งไปรษณีย์โทรเลข งานชิ้นเอกสร้างสรรค์ทันสมัย เรื่องที่สองร้องขอตั้งต่อไป โรงเรียนใหม่ถึงขั้นชั้นมัธยม ทางกระทรวงศึกษาอนุญาต ความมุ่งมาตรมั่นหมายก็ได้ผล ฯลฯ ประการสี่มีข้อขอเสนอ ตั้งเป็นอำเภอปรารถนา เพราะโก-ลกคนมากหากเป็นป่า กิจธุระต้องไปสุไหงปาดี รัฐบาลเห็นพ้องอนุญาต แจ้งประกาศบอกกระบวนมาถ้วนถี่ ให้ตั้งก่อนเป็นกิ่งจึงจะดี แต่บัดนี้เป็นอำเภอเสมอกัน หลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 8 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ (โอนมาจากอำเภอตากใบ) กระทั่งวันที่ 1 มกราคม 2496 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอสุไหงโก-ลก มีนายนอบ นพสงศ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกเป็นเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา
อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสที่มีตัวขนาดตัวเมืองใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก เป็นศูนย์กลางทางศรษฐกิจในทุกๆด้านของภาคใต้ตอนล่าง ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2489 เดิมทีมีชื่อว่าป่าจันตุหลี เป็นภาษามลายู แปลว่า ป่าที่ทึบมากจนเรียกกันไม่ได้ยิน ต่อมา พ.ศ. 2490 มีการกรุยทางเพื่อสรางทางรถไฟและกำหนดให้ตั้งสถานีในเขตป่าจันตุหลี ซึ่งต่อมาก็คือ สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นสถานีรถไฟสถานีสุดท้ายของประเทศไทยที่มีระยะทางไกลที่สุด คำว่าสุไหงโก-ลกเป็นภาษามลายู แปลว่า แม่น้ำมีดอีโต้ ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำที่เป็นพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย ปัจจุบันอำเภอสุไหงโก-ลกมีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง มีด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันออก เป็นศูนย์กลางของการค้าขายส่งสินค้า ทั้ง พืชผัก ผลไม้ ตลอดจน ไม้ สินค้าอิริกทรอนิก เครื่องใช้ไฟฟ้า ขนม นมเนย จากประเทศเพื่อนบ้าน
[แก้] การปกครอง
การปกครองของอำเภอสุไหงโก-ลกมี 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก)
ใส่ตัวเลข | ชื่อ | หมู่บ้าน | ประชากร | |
---|---|---|---|---|
1. | สุไหงโก-ลก | 1 | 41,756 | ( พ.ศ. 2550) |
2. | ปาเสมัส | 7 | 16,765 | |
3. | มูโนะ | 5 | 8,553 | |
4. | ปูโยะ | 6 | 5,683 |
[แก้] ประชากร
เชื้อชาติมีชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวมลายู
ศาสนาประชาชนชาวไทย และไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ในเขตเมืองจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ชาวไทยมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม
อาชีพส่วนใหญ่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจะประกอบอาชีพธุรกิจค้าขาย ส่งออกสินค้า ไม้แปรรูป ผลิตผลทางเกษตรกรรม แลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิริกทรอนิก อื่น ๆ ฯลฯ งานบริการการท่องเที่ยว ข้าราชการ ส่วนรอบนอกประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมากจะนิยมปลูก ลองกองยางพารา
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
- ด่านการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก ( ไทย-มาเลเซีย ) โดยมีศูนย์กลางการค้าขายอยู่ในตัวเมืองสุไหงโก-ลกที่ศูนย์พาณิชกรรมเก็นติ่งหลังโรงแรมเก็นติ่งเยื้องสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
- ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชายไทยเชื้อสายจีน จะมีพิธีสมโภชองค์เจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวมาก
- ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุธรรมชาติผืนสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกอีกไปประมาณ 6 กิโลเมตรมีศูนย์พัฒนาและวิจัยป่าพรุสิรินธร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดด้วยพระองค์เอง
- สวนสิรินธร, สวนภูมินทร์, สวนรื่นอรุณ, สวนสาธารณุเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ทั้งหมดเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในหลายพื้เนที่ของอำเภอสุไหงโก-ลก มีความสวยงามและน่าท่องเที่ยวพักผ่อนมาก
- พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณ กลางสวนภูมินทร์ เป็นที่เคารพและสักการะของชาวเมืองและจังหวัดใกล้เคียง
- แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองยามค่ำคืน ตั้งแต่บริเวณ ถนนเจริญเขต, ประชาวิวัฒน์, วรคามินทร์ ตลอดจนสุดสายถนนเป็นที่ตั้งของห้างสพรรณสินค้า ร้านค้า แหล่งชอปปิ้ง ร้านกาแฟ คาเฟ ผับแอนเรตเตอร์รอง บาร์ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวยามค่ำคืนที่ไม่ยอมหลับไหล
[แก้] โรงแรมและสถานที่พัก
โรงแรมและสถานที่พักอำเภอสุไหงโก-ลกมีหลายหลายให้เลือกโดยมีห้องพักทั้งหมดประมาณ มากกว่า 5,000 กว่าห้อง ( พ.ศ. 2548 )
[แก้] ข้อมูลพื้นฐาน
- เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- ศูนย์ราชการ
- ศูนย์กีฬาและสนามกีฬามหาราช
- ด่านศุลกากร
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุไหงโก-ลก
- ด่านตรวจพืช
- ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
- สถานปฎิบัติการชั้นคลีนิก โรงพยาบาลเทพสิรินธร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
อำเภอของจังหวัดนราธิวาส | ![]() |
||
---|---|---|---|
อำเภอ: |
อำเภอเมืองนราธิวาส - อำเภอตากใบ - อำเภอบาเจาะ - อำเภอยี่งอ - อำเภอระแงะ - อำเภอรือเสาะ - อำเภอศรีสาคร - อำเภอแว้ง - อำเภอสุคิริน - อำเภอสุไหงโก-ลก - อำเภอสุไหงปาดี - อำเภอจะแนะ - อำเภอเจาะไอร้อง |