เมกะไบต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พหุคูณของไบต์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
อุปสรรคฐานสิบ | อุปสรรคฐานสอง | |||||
ชื่อ | สัญลักษณ์ | ค่าพหุคูณ | ชื่อ | สัญลักษณ์ | ค่าพหุคูณ | |
กิโลไบต์ | KB | 103 | ≈ | กิบิไบต์ | KiB | 210 |
เมกะไบต์ | MB | 106 | ≈ | เมบิไบต์ | MiB | 220 |
จิกะไบต์ | GB | 109 | ≈ | จิบิไบต์ | GiB | 230 |
เทระไบต์ | TB | 1012 | ≈ | เทบิไบต์ | TiB | 240 |
เพตะไบต์ | PB | 1015 | ≈ | เพบิไบต์ | PiB | 250 |
เอกซะไบต์ | EB | 1018 | ≈ | เอกซ์บิไบต์ | EiB | 260 |
เซตตะไบต์ | ZB | 1021 | ||||
ยอตตะไบต์ | YB | 1024 |
เมกะไบต์ (megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้:-
- 1,000,000 ไบต์ (10002, 106): นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของฮาร์ดแวร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป
- 1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000): นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ "1.44 MB" (1,474,560 ไบต์) ขนาด "3.5 นิ้ว" (อันที่จริงคือ 90 mm)
- 1,048,576 ไบต์ (10242, 220): นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์ (ดู อุปสรรคฐานสอง)
[แก้] เมกะไบต์ในการใช้งานจริง
นับถึง พ.ศ. 2548 ความจุของแรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะวัดเป็นเมกะไบต์
หลักช่วยประมาณ : ความจุหนึ่งเมกะไบต์เก็บตำราได้ราวหนึ่งเล่ม, หรือรูปภาพขนาดเล็กหนึ่งร้อยรูป, หรือดนตรีซึ่งเข้ารหัสแล้วความยาวประมาณหนึ่งนาที ภาพถ่ายดิจิทัลที่ได้จากกล้องดิจิทัลทั่ว ๆ ไป อาจมีขนาดอยู่ระหว่าง 1–4 เมกะไบต์ ขึ้นกับความละเอียดของภาพและอัตราการบีบอัดข้อมูลที่ใช้
[แก้] ความสับสนที่เกิดแก่ผู้บริโภค
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ถูกอ้างตำแหน่งแบบฐานสอง อันเนื่องมาจากการออกแบบ ดังนั้นขนาดของหน่วยความจำจะเป็นพหุคูณของ 2 เสมอ จึงเป็นการสะดวกที่จะวัดขนาดความจุเป็นหน่วยไบนารี ส่วนการวัดขนาดความจุอื่นๆ เช่นหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปฮาร์ดแวร์, อัตราการส่งข้อมูล, ความเร็วสัญญาณนาฬิกา, จำนวนโอเปอเรชั่นต่อวินาที, และอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานเลข จะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยเลขฐานสิบ ผู้บริโภคที่ไม่ทราบเรื่องความหมายที่แตกต่างกันของคำย่อเหล่านี้ จะรู้สึกว่าขนาดความจุที่เห็นจริงนั้น น้อยกว่าขนาดที่ผู้ผลิตบอกไว้ และบอกว่าโรงงานผลิตไดรวฟ์และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล จงใจเลือกใช้เลขฐานสิบเพื่อทำให้ตัวเลขดูมากกว่าความเป็นจริง แม้ว่าการวัดความจุแบบนี้จะเป็นปกติวิสัยในสถานการณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
ยกตัวอย่าง ถ้าผู้จำหน่ายบอกว่าฮาร์ดไดรวฟ์มีความจุข้อมูลได้ 140 GB, ดิสก์จะสามารถจุได้ 140×109 ไบต์ โดยทั่วไป ระบบปฏิบัติการจะจองเนื้อที่ และรายงานขนาดของดิสก์และแฟ้มในหน่วยไบนารี่, และแสดงออกมาโดยใช้ตัวย่อ (เช่น GB, MB, KB) ตัวเดียวกับที่ใช้โดยระบบเลขฐานสิบ, ดังนั้นไดรวฟ์จะถูกรายงานว่ามีขนาด "130 GB" (จริงๆ คือ 130.36 GiB) (ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเก็บแฟ้มให้มีขนาดรวมทั้งสิ้น 130.36 GiB ได้ อันเนื่องมาจาก overhead ของระบบแฟ้ม)
หากอุปสรรคฐานสอง ตามมาตรฐาน IEC ถูกใช้อย่างแพร่หลายแล้ว จะทำให้ความสับสนนี้หมดไป