จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยนออฟอาร์ค (ภาษาฝรั่งเศส : Jeanne d'Arc, ชาน ดาร์ก) (ชาตะ 6 มกราคม พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) มรณะ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431)
ได้รับฉายาว่า สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส โยนออฟอาร์คเป็นคนเคร่งศาสนา ทุกวันเสาร์ เธอชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มง (Bermont) ใกล้กับเมืองเกรอ (Greux) ในช่วงสงครามร้อยปี (Hundred Years' War)
หลังจากได้ยินเสียงจากพระเจ้าสั่งให้เธอเป็นผู้ปลดปล่อยฝรั่งเศส เธอก็ได้นำทัพฝรั่งเศสออกรบกับกองทัพอังกฤษที่รุกเข้ามา และในที่สุดก็ถูกจับ และถูกเผาในกองเพลิงหลังที่ถูกตัดสินว่าเป็นแม่มด
[แก้] บริบท
สันนิษฐานว่าโยนออฟอาร์คเกิดที่เมืองดงเรมี ในแถบที่ราบของแคว้นลอแรน ทางภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เธอถือกำเนิดในครอบครัวชาวนา ตระกูล "ดาร์ก" (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ในช่วงสงครามร้อยปีของการรบกันระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในสมัยนั้น พวกอังกฤษที่เป็นพันธมิตรกับพวกบูร์กีญงยึดครองดินแดนฝรั่งเศสไว้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งเศสปราศจากกษัตริย์ปกครองนับตั้งแต่การสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 6 หรือที่เรียกว่า ชาลส์ผู้บ้าคลั่ง ในปี พ.ศ. (พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422
ถึงแม้ว่าพระองค์จะมีผู้สืบราชบัลลังก์ อันได้แก่มกุฎราชกุมารชาลส์ ราชบังลังก์ฝรั่งเศสได้ถูกอ้างสิทธิ์ว่าเป็นของกษัตริย์อังกฤษ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์อยู่ อันเป็นผลพวงจากสนธิสัญญาตรัว (Treaty of T royes) ที่ลงนามโดยอิซาโบแห่งบาวาเรีย (Isabeau of Bavaria) ราชินีแห่งฝรั่งเศสและผู้สำเร็จราชการ กับพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1420 อันเนื่องมาจากการพ่ายสงครามอย่างย่อยยับของอาร์มาญัก อัศวินฝรั่งเศส ในยุทธการที่อาแชงกูร์ (Battle of Agincourt) เมื่อห้าปีที่แล้ว ตามที่ว่าไว้ในสนธิสัญญา พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ได้อภิเษกกับแคเทอรีน ธิดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 6 และเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 6 สวรรคต มงกุฎจะตกเป็นของรัชทายาท ผู้ซึ่งรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน สนธิสัญญานี้เป็นการขัดขวางมิให้มกุฎราชกุมารฝรั่งเศสขึ้นครองราชย์ และถูกคัดค้านโดยบุคคลชั้นสูงของฝรั่งเศส
[แก้] สู่ตำแหน่งแม่ทัพ
[แก้] การพิจารณาคดี
ภาพการไต่สวนโยนออฟอาร์ค โดยพระคาร์ดินัลแห่งวินเชสเตอร์
[แก้] วันรำลึกถึงโยนออฟอาร์ค
หอคอยโยนออฟอาร์ค ณ ป้อมปราการของฟิลิปป์ ออกุสต์ ที่เมืองรวน
[แก้] บทวิเคราะห์
[แก้] ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของโยนออฟอาร์ค
โยนออฟอาร์ค เมื่อครั้งเป็นสาวชาวบ้าน ภาพวาดสีน้ำมันโดยจูลส์-บาสเตียน เลอปาจ
[แก้] ทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นชายของโยนออฟอาร์ค
[แก้] ทฤษฎีเกี่ยวกับพรหมจรรย์ของโยนออฟอาร์ค
[แก้] เหตุการณ์สืบเนื่อง
[แก้] กรณีคล้ายคลึงกับโยนออฟอาร์ค
[แก้] โยนออฟอาร์คตัวปลอม
[แก้] ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโยนออฟอาร์ค
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] สถานที่ที่โยนออฟอาร์คเคยเดินทางไป
[แก้] ผู้ร่วมรบกับโยนออฟอาร์ค
- ชีล เดอ เร (Gilles de Rais)
- เอเตียน เดอ วีญอล (Étienne de Vignolles) หรือ ลาอีร์ (La Hire)
- อาร์โน กีโยม แซเญอร์แห่งบาร์บาซอง (Arnaud Guillaume, seigneur de Barbazan)
- ชอง ดาลองซง (Jean d'Alençon)
- ชอง ดอร์เลออง เคานต์แห่งดูนัว (Jean d'Orléans, Count de Dunois) (1402-1468) หรือ เลอบาตาร์ดอร์เลออง (le Bâtard d'Orléans)
- ชอง โปตง เดอ แซงตราย (Jean Poton de Xaintrailles)
- ชอง โดลง (Jean d'Aulon)
- อองบรวส เดอ โลเร (Ambroise de Loré)
- กีที่ 14 แห่งลาวาล (Guy XIV de Laval)
- โรแบร์ เลอ มาซง (Robert Le Maçon)
- ปีแยร์ ดาร์ก (Pierre d'Arc)
- ชอง ดาร์ก (Jean d'Arc)
- ลุย เดอ กูต (Louis de Coutes) หรือ แมงเก (Minguet)
- เรมง เดอ กูต (Raymond de Coutes)
- ชอง ปาสเกอแรล (Jean Pasquerel)
[แก้] ผู้พิพากษาโยนออฟอาร์ค
- ปีแยร์ โกชง (Pierre Cauchon)
- ชอง อาเลเป (Jean Alespée)
- ชอง เดตีเว (Jean d'Estivet)
- ชอง เดอ ลา ฟงแตน (Jean de La Fontaine)
- ชอง เลอแมตร์ (Jean Lemaître)
[แก้] ภาพยนตร์ชีวประวัติ
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง โยนออฟอาร์ค ในปี ค.ศ. 1999
- โยนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1900) โดยจอร์เจอ เมลิเยส
- โยนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1916)
- โยนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1948) โดย วิกเตอร์ เฟลมมิง และ อิงกริด เบิร์กแมน
- 'โยนออฟอาร์คถูกเผา (ค.ศ. 1954) โดย โรแบร์โต รอสเซลลินี และ อิงกริด เบิร์กแมน
- ผู้ส่งสาร : เรื่องราวของโยนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1999) โดย ลุค เบสซง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
โยนออฟอาร์ค เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โยนออฟอาร์ค ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |