โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย ในมุมมองที่เป็นกลาง กรุณาศึกษาวิธีเขียนอย่างไรให้เป็นกลาง และคุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดปุ่ม แก้ไข กรุณาอภิปรายประเด็นนี้ในหน้าพูดคุย หากทั้งบทความมีลักษณะโฆษณาอย่างชัดเจน ให้แจ้งลบทันที |
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (อังกฤษ: St. Gabriel's College) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วน ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งเป็นคณะนักบวชนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่เลขที่ 565 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
คำว่า 'เซนต์คาเบรียล' ในชื่อโรงเรียนนั้น หมายถึงนักบุญเกเบรียล (Saint Gabriel) ในคริสต์ศาสนา
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
ในปี ค.ศ. 1918 ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง โรงเรียนอัสสัมชัญได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เจษฎาจารย์มาร์ติน เดอ ตูรส์ และคณะที่ปรึกษา มีแนวความคิดที่จะเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ในกรุงเทพ เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงเรียนอัสสัมชัญ ประกอบกับท่านได้รับข้อเสนอ จากท่านบาทหลวงบรัวซา เจ้าอาวาสวัดนักบุญฟรังซิสซาเวียร์ เสนอให้ที่ดินบริเวณถนนสามเสน เป็นสถานที่ก่อสร้าง
เจษฎาจารย์มาร์ตินจึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 โดยท่านเป็นนายช่างสถาปนิกออกแบบให้คำปรึกษาเอง และมีนายเบเกอแลง (Mr. Be'quelin) เป็นวิศวกร ในขณะที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนอยู่นั้น ได้ใช้บ้านของนายเบอลี่ เป็นโรงเรียนชั่วคราว ในปีแรกมีนักเรียนทั้งสิ้น 141 คน
โรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 มีตึกหลังใหญ่เรียกว่า "ตึกแดง" โดยส่วนที่เป็นไม้ใช้ไม้สักทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทบอมเบย์เบอรม่า เป็นผู้ติดต่อส่งวัสดุต่าง ๆ ในการก่อสร้าง คิดตามบัญชีที่บันทึกไว้ทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ หนึ่งแสนเศษ เมื่อโรงเรียนเปิดรับสมัคร มีนักเรียนมาสมัครปีแรกจำนวน 150 คน.
[แก้] ตราของโรงเรียน
ตราของโรงเรียนมีรูปร่างลักษณะใจกลางของเครื่องหมายเป็นรูปโล่ แบ่งออกเป็นสี่ซีก ตรานี้เป็นของคณะภารดาเซนต์คาเบรียล และสถาบันการศึกษาในเครือทั้งหมดได้ใช้ตราประจำสถาบันร่วมกัน ตรานี้จึงเป็นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์และความสามัคคีของมวลสมาชิกทั้งหลายให้อยู่ภายใต้สำนึกแห่งการประพฤติปฏิบัติดีร่วมกัน
A.M. มาจากคำเต็มภาษาละตินว่า "Ave Marie" โดย Marie นั้นเป็นชื่อของมารดาของกษัตริย์เยซูคริสตเจ้า หมายถึง "วันทา มารี" โดยอีกนัยหนึ่ง A.M. ย่อมาจาก Alma Mater (ภาษาละติน) หมายถึงโรงเรียนแม่
ช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาว เป็นเครื่องแสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่องที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
ดังนั้นส่วนที่มีตัวอักษร A.M. กับดอกซ่อนกลิ่นสีขาว จึงมีความหมายว่าโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอา พระมารดาของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นที่รักเคารพ และ บูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรัก และ ความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจเสมอ ไม่ว่าอยู่ห่างกัน ณ ที่แห่งใด
รูปเรือใบ ซึ่งเปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลม และแสงแดด ไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้"
มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา
เครื่องหมาย DS (ตัวย่อจากภาษาฝรั่งเศส Dieu Seul) มีความหมายว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นศิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ มารี กรียอง เดอ มงฟอร์ต (Saint Louis Marie Grignion De Montfort) ผู้สถาปนาคณะเซนต์คาเบรียล โดยอีกนัยหนึ่ง
D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ
เครื่องหมายไม้กางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสตเจ้าได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์
S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น
พวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป
คำว่า Labor Omnia Vincit (Labour conquers all things) ที่อยู่ใต้ชื่อ Brothers of St.Gabriel เป็นคติพจน์ (Motto) ประจำใจของชาวเซนต์คาเบรียลที่จะต้อง ชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความวิริยะ อุตสาหะ
[แก้] ปรัชญาโรงเรียน
โรงเรียนฯ มีปรัชญาในการให้การศึกษาแก่นักเรียน ดังนี้
จุดมุ่งหมายของชีวิต คือ การรู้จักสัจธรรมความจริง และการเข้าถึงธรรมอันสูงส่ง อันเป็นบ่อเกิดของชีวิต มนุษย์ทุกคนต้องทำงาน ความอุตสาหะวิริยะเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ (Labor Omnia Vincit) และสามารถนิยามความหมายของข้อความสำคัญ ได้ดังนี้
การรู้จักสัจธรรมความจริง หมายความว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของชีวิตทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ การเข้าถึงความจริงแท้ของชีวิตที่ว่า ชีวิตของคนเรามีช่วงระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน มีวันที่ต้องดับสูญ จึงต้องใช้ชีวิตของตนเองเพื่อนำพาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและผู้อื่นอย่างเต็มที่ การเข้าถึงธรรมอันสูงส่ง อันเป็นบ่อเกิดของชีวิต " หมายความถึง การจัดการศึกษาของโรงเรียนฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา ที่แต่ละคนยึดถืออย่างดียิ่งจนตลอดชชีวิตของตน ทั้งนี้ นอกจากจะเข้าใจถึงแก่นแท้ของศาสนาของตนเองแล้ว ยังรวมถึงการแสดงออกในด้านคุณธรรมและจริยธรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อันเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมไทย อาทิเช่น ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความเมตตากรุณา การประหยัด เป็นต้น
LABOR OMNIA VINCIT เป็นคำภาษาลาติน หมายความว่า ความอุตสาหะชนะทุกสิ่ง. นั่นคือ การจัดการศึกษาของโรงเรียนฯ นอกจากเน้นคุณธรรมและจริยธรรมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โรงเรียน ฯ ได้เน้นพิเศษในด้านการปลูกฝังให้เห็นคุณค่า และการเรียนรู้ความสุขที่ได้จากความมานะอดทน และความพากเพียรพยายามในตัวนักเรียน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในกิจการงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้คุณลักษณะนี้ติดตัวนักเรียนไปจนตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยในอนาคต ที่ต้องการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันจำเป็นต้องมีคุณสมบัติของความวิริยะอุตสาหะดังกล่าว
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 80 ปี ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลได้เปิดทำการสอนมา ย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมแล้วว่า นักเรียนฯ ได้ก้าวออกสู่สังคมภายนอกอย่างมั่นใจ มีความรู้ดี มีระเบียบวินัย สามารถใช้ความรู้ได้ด้วยสติ ปัญญา และคุณธรรม การให้การศึกษาอบรมด้วยเนื้อหาสาระและค่านิยมที่โรงเรียนยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดนั้น มีความสำคัญเป็นอันมากต่อการพัฒนาการของบุคคลที่จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาาพ เหมาะสมกับยุคสมัย ถือเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่ง ทีจะจรรโลงเอกลักษณ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในอันที่จะสร้างผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีพื้นฐานที่ดี เพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้อง เหมาะสมกับความต้องการของสังคม อันเป็นการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรทุกระดับของโรงเรียนฯ
ทั้งนี้ โรงเรียนฯ ได้กำหนดคำขวัญ * ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาดังกล่าว ไว้ดังนี้" คุณธรรมนำความรู้คู่ชีวิต ผลสัมฤทธิ์เกิดจากความขยัน "
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการอังก์ถัด (UNCTAD), อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ดร. ระพี สาคริก (SG 1528)
- พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (SG 2373) ประธานสหพันธ์มวยไทยนานาชาติ, อดีตนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2518, ผู้ก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคราษฎร, อดีตวุฒิสมาชิก, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ฯลฯ
- ขวัญแก้ว วัชโรทัย (SG 2418)
- แก้วขวัญ วัชโรทัย (SG 2419)
- ภราดา ประทีป ม.โกมลมาศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- สมัคร สุนทรเวช (SG 3657) อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย
- ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี (SG 3928)
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (SG 4925) อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, องคมนตรี, นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
- พลเอก อัครเดช ศศิประภา (SG 5284) อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (SG 5285)
- ปิยะ ภิรมย์ภักดี (SG 5374) ประธานกรรมการบริหาร บริษัทขอนแก่น บริวเวอรี่ (กลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่)
- กล้านรงค์ จันทิก (SG 5514) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
- กร ทัพพะรังสี (SG 5881) ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
- โสภณ สุภาพงษ์ (SG 6249) อดีตวุฒิสมาชิก, รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ
- ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล (SG 6268) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ , รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- ดร. นริศ ชัยสูตร (SG 9330) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สุวัจน์ ลิปตพัลลภ (SG 12833) อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
[แก้] เจษฏาธิการและผู้บริหารโรงเรียน
รายชื่อเจษฏาธิการและผู้บริหารโรงเรียน
- ภราดา มาร์ติน เดอ ตูรส์ - ค.ศ. 1920-1926
- ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 1) - ค.ศ. 1926-1932
- ภราดา ฮิวเบิร์ต (สมัยที่ 1) - ค.ศ. 1932-1938
- ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 2) - ค.ศ. 1938-1941
- ภราดา ธีโอฟาน เวอนาร์ด - ค.ศ. 1941-1944
- ภราดา เอลอยเซียส - ค.ศ. 1944-1947
- ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ - ค.ศ. 1947-1953
- ภราดา จูอาน มารี - ค.ศ. 1953-1955
- ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ (สมัยที่ 2) - ค.ศ. 1961-1966
- ภราดา อัลฟอนซัส เดอ ลิเคอร์ - ค.ศ. 1966-1968
- ภราดา ดร.ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ - ค.ศ. 1968-1974
- ภราดา อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 1) - ค.ศ. 1974-1977
- ภราดา มีศักดิ์ ว่องประชานุกูล - ค.ศ. 1977-1983
- ภราดา อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 2) - ค.ศ. 1983-1985
- ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ - ค.ศ. 1985-1991
- ภราดา อรุณ เมธเศรษฐ์ - ค.ศ. 1991-1997
- ภราดา ดร. วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ - ค.ศ. 1997-2003
- ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ - ค.ศ. 2003-ปัจจุบัน
[แก้] อ้างอิง
- ธรรมนูญโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปี พ.ศ. 2542 - 2544
- นิตยสารผู้จัดการ กันยายน พ.ศ. 2545
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- มูลนิธิเซนต์คาเบรียล
- สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล
- เว็บบอร์ดเด็กเซนต์ฯ
- ศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล รุ่น 2527 (อโศกผลัดใบ)
เครือ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล | |
โรงเรียนอัสสัมชัญ | โรงเรียนเซนต์คาเบรียล | โรงเรียนมงฟอร์ต | โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ | โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา | โรงเรียนเซนต์หลุยส์ | โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี | โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง | โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี | โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม | โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา | มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ | โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ |