มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ชื่อ | มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
ชื่อ (อังกฤษ) | Assumption University of Thailand (Au, ABAC) |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1972 |
ประเภทสถาบัน | เอกชน |
อธิการบดี | ภารดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ |
คำขวัญ | Labor Omnia Vincit (วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึงความสำเร็จทั้งปวง) |
ต้นไม้ประจำสถาบัน | ต้นอโศกเซนต์คาเบรียล |
สีประจำสถาบัน | น้ำเงิน ขาว แดง |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | 682 ถ. รามคำแหง 24 หัวหมาก กรุงเทพฯ 10240 |
เว็บไซต์ | www.au.edu |
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) มหาวิทยาลัยเอกชน ในเครือคณะภารดาเซนต์คาเบรียล มี2 วิทยาเขตตั้งอยู่ที่หัวหมาก กรุงเทพมหานคร และ วิทยาเขตบางนา จังหวัดสมุทรปราการ
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก "โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 และได้รับวิทยฐานะเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ" ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ )" หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า "AU" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อมหาวิทยาลัย : "อัสสัมชัญ" เป็นชื่อที่มีประวัติความเป็นมา และความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส "Le Colle'ge de L' Assomption" และใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ"(โรงเรียนอัสสัมชัญปัจจุบัน)แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียก และเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดาฮีแลร์ (หนึ่งในเจษฎาจารย์ทั้งห้าที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ต่อจากคุณพ่อกอลเบอต์)จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่ง "อัสสัมชัญ" มีความหมายในภาษาไทยดังนี้ "อัสสัม" เป็นคำบาลีมคธว่า "อัสสโม" แปลงเป็นไทยว่า "อาศรม" หมายถึง "กุฏิทีถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิมเป็น "ช" แปลว่า เกิด และ "ญ" แปลว่า ญาณ ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ คือ ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทังสองคือ "อัสสัม"และ"ชัญ" เป็น "อัสสัมชัญ" แปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นอโศก (Ashoka Tree) คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเพราะ
- เป็นต้นไม้ที่เขียวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสดชื่นร่มเย็น ความคงเส้นคงวาต่อความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจ ในการให้การศึกษาที่ดีเลิศ โดยไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคใด ๆ
- เป็นต้นไม้ที่รูปทรงสวยงาม เหมือนสถูปเจดีย์
- เป็นมงคลนาม หมายถึง ไม่มีความทุกข์ความโศก และยังเป็นชื่อของกษัตย์อินเดียผู้ยิ่งใหญ่คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างอาณาจักรที่เกรียงไกรให้กับอินเดีย และทนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุดในยุคนั้น
- เป็นต้นไม้ที่นำจากอินเดียสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิภราดาคณะเซนต์คาเบรียล โดยนำมาปลูกพร้อมกันครั้งแรกที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และกรมป่าไม้
แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapientiae (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยมีความหมายว่า องค์แม่พระเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบอุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ
[แก้] คณะ
- คณะบริหารธุรกิจ (ABAC School of Management)
- คณะศิลปศาสตร์ (ABAC School of Arts)
- คณะนิเทศศาสตร์ (ABAC School of Communication Arts)
- คณะนิติศาสตร์ (ABAC School of Law)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ABAC School of Engineering)
- คณะวิทยาศาสตร์์และเทคโนโลยี (ABAC School of Science and Technology)
- คณะพยาบาลศาสตร์ (ABAC School of Nursing Science)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ABAC School of Architechture)
- คณะธุรกิจความเสี่ยง (ABAC School of Risk Management)
- คณะเทคโนโลยีชีวภาพ (ABAC School of Biotechnology)
- บัณฑิตวิทยาลัยคณะศึกษาศาสตร์ (ABAC Graduate School of Education)
- บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ABAC Graduate School of Information Technology)
- บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะบริหาร (ABAC Graduate School of Business)
- บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะปรัชญา (ABAC Graduate School of Philosophy and Religion)
- บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะจิตวิทยา (ABAC Graduate School of Counseling Psychology)
- วิทยาลัยศึกษาทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ท(ระดับปริญญาโท) (ABAC College of Internet Distance Education )
[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ
[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
[แก้] นักศึกษาปัจจุบัน
- เยาวภา บุรพลชัย นักกีฬาเทควันโด คว้าเหรียญทองแดง จาก โอลิมปิก 2004
[แก้] ศิษย์เก่า
- แคทรียา อิงลิช นักแสดง
- คัทลียา แมคอินทอช นักแสดง
- ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ ผู้ประกาศข่าว
- ภัทรพล ศิลปาจารย์ นักแสดง
- สุนิสา เจทท์ นักแสดง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- เว็บไซต์คณะบริหารธุรกิจ
- เว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เว็บไซต์คณะนิเทศศาสตร์
เครือ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล | |
โรงเรียนอัสสัมชัญ | โรงเรียนเซนต์คาเบรียล | โรงเรียนมงฟอร์ต | โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ | โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา | โรงเรียนเซนต์หลุยส์ | โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี | โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง | โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี | โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม | โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา | มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ | โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ |
|
หน่วยงานในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
หน่วยงาน | |
---|---|
คณะ |
บริหารธุรกิจ · ศิลปศาสตร์ · นิเทศศาสตร์ · นิติศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · วิทยาศาสตร์์และเทคโนโลยี · พยาบาลศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · ธุรกิจความเสี่ยง · เทคโนโลยีชีวภาพ |
วิทยาลัย |
วิทยาลัยศึกษาทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ท |
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|