ไซออนนิสม์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซออนนิสม์ (อังกฤษ: Zionism) เป็นชื่อเรียกขบวนการกลับสู่มาตุภูมิประวัติศาสตร์ในดินแดนปาเลสไตน์ดั้งเดิม (The Eretz Israel) หลังจากการถูกชาวอีจิปต์ขับกระจัดกระจายออกไปอยู่ที่อื่นนานนับศควรรษ ชาวยิวมีความเชื่อว่า เมื่อใดที่ชาวยิวย้ายกลับมาครอบครองถิ่นเดิม ความเจริญรุ่งเรืองจะเกิดขึ้นดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในสมัยกษัตริย์เดวิด ความเชื่อนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เผยแพร่ความคิดที่เรียกกันว่า “ไซออนนิสม์” ขบวนการลัทธิไซออนยุคใหม่นี้เริ่มต้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2400-2443) โดยธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodore Herzl) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแผนการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นรัฐอิสระเหนืออาณาเขตที่ครองครองโดยชาวปาเลสไตน์ ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์และเป้าหมายนี้ได้รับการสนับสนุนโดยปฏิญญาบอลโฟร์ (Balfour Declaration) ของประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2460 โดยเงื่อนไขว่าต้องไม่ทำให้ประชาชนที่ไม่ใช่ชาวยิวในอาณาบริเวณนั้นเสียสิทธิ์
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2491 การจัดตั้งรัฐอิสระของชาวยิวได้รับการสันสนุนเป็นทางการโดยองค์การสหประชาชาติ จนถึงบัดนี้ขบวนการรวบรวมชาวยิวที่ถูกขับไล่กระจัดกระจายพลัดถิ่นแต่โบราณให้กลับถิ่นเดิมก็ยังคงดำเนินการไปอย่างเดิม มีชาวยิวที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอพยพกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์อย่างไม่ขาดสายอยู่เช่นเดิม ลัทธิไซออนได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวปาเลสไตน์และประเทศอาหรับ