ไม้ม้วน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ใ |
|||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | -ั | า | -ํ | -ิ | ' | " | |
-ุ | -ู | เ | โ | ใ | ไ | -็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
-่ | -้ | -๊ | -๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
-์ | -๎ | -ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | ๏ | ฯ | ๚ | ๛ |
ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น
[แก้] ประวัติ
ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าไม้ม้วนเป็นอักษรเฉพาะในภาษาไทยสยาม และไม่ปรากฏในภาษาเขียนในตระกูลภาษาไทอื่นๆ แม้กระทั่งในอักษรตระกูลอินเดีย ภาษาอื่นๆ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้
ใฝ่ใจแลให้ทาน | ทังนอกในแลใหม่ใส |
ใครใคร่แลยองใย | อันใดใช้แลใหลหลง |
ใส่กลสใพ้ใบ้ | ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง |
ใกล้ใบแลใช้จง | ญี่สิบม้วนคือวาจา |
ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้
หนึ่งไซร้หมู่ไม้ม้วน | ปราชประมวลแต่บูราณ |
จักลอกจำลองสาร | ตามอาจารย์บังคับไข |
ใฝ่ใจให้ทานนี้ | นอกในมีแลใหม่ใส |
ใครใคร่แลยองใย | อันใดใช้อย่าใหลหลง |
ใส่กลสะใภ้ใบ้ | ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง |
ใกล้ใบแลใช่จง | ใช้ให้คงคำบังคับ |
หลังจากนั้น ยังมีบทกลอน (กาพย์ยานี) ที่สอนการใช้ไม้ม้วน ที่รู้จักกันดีจนปัจจุบัน ดังนี้
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ | ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ |
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ | มิหลงใหลใครขอดู |
จะใคร่ลงเรือใบ | ดูน้ำใสและปลาปู |
สิ่งใดอยู่ในตู้ | มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง |
บ้าใบ้ถือใยบัว | หูตามัวมาใกล้เคียง |
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง | ยี่สิบม้วนจำจงดี |
เป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้ไม้ม้วนนั้น จำกัดอยู่ที่คำศัพท์ 20 คำ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย และคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ไม้มลายทั้งสิ้น (เว้นแต่ลูกคำที่แตกจากแม่คำ ซึ่งใช้ไม้ม้วนอยู่แล้ว) แม้คำศัพท์เฉพาะ ที่เป็นชื่อต่างๆ ก็ไม่นิยมที่จะใช้ไม้ม้วนนอกเหนือจาก 20 คำดังกล่าว
[แก้] คำที่ใช้ไม้ม้วน
- ใกล้
- ใคร
- ใคร่
- ใจ
- ใช่
- ใช้
- ใด
- ใต้
- ใน
- ใบ
- ใบ้
- ใฝ่
- สะใภ้
- ใย (ยองใย, ใยบัว)
- ใส
- ใส่
- ให้
- ใหญ่
- ใหม่
- ใหล (หลงใหล, หลับใหล)
![]() |
ไม้ม้วน เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ไม้ม้วน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |